HomeBrand Move !!ปรากฏการณ์ “Pet Humanization” ทำไมมนุษย์ยอมเป็น “ทาสหมา – ทาสแมว” ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตมหาศาล

ปรากฏการณ์ “Pet Humanization” ทำไมมนุษย์ยอมเป็น “ทาสหมา – ทาสแมว” ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตมหาศาล

แชร์ :

ด้วยโครงสร้างสังคม – ครอบครัว และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้คนหันมาเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น โดยเฉพาะสุนัข และแมว ซึ่งทุกวันนี้การปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงไม่ใช่เป็นแค่ “สัตว์เลี้ยง” หากแต่เป็น “สมาชิกในครอบครัว”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Pet Humanization คือ เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ได้มองว่าตัวเองคือเจ้าของ แต่เป็น “พ่อ/แม่” ของสัตว์เลี้ยงมากกว่า หรือที่เรียกว่า Pet Parents ดูแลเอาใจใส่เหมือนลูก พร้อมทุ่มเท ทั้งเงิน และการเลี้ยงดู จนแทบไม่ต่างจากมนุษย์ ตั้งแต่อาหารการกิน ดูแลสุขภาพ หาของเล่น เสื้อผ้า จัดมุมพักผ่อน/ที่นอนในบ้าน หรือบางบ้าน ก็มีห้องให้น้องหมา – น้องแมวโดยเฉพาะ รวมทั้งพาไปไหนมาไหนด้วยทุกที่

Morgan Stanley นิยามพฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก หรือเป็นสมาชิกในครอบครัวไว้ว่า “Petriarchy” หรือที่เราเรียกว่า “ทาสหมา” “ทาสแมว” เจ้าของทั้งรักทั้งหลงในความน่ารัก น่าเอ็นดู และดูแลเอาใจใส่ นำไปสู่การใช้จ่ายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น

Pet Humanization

 

6 ปัจจัยผลักดันแนวโน้ม “Pet Humanization” ขยายตัว

แนวโน้มPet Humanizationไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแสในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มาแล้วก็ไป แต่นับวันจะยิ่งปรากฏชัดเจนขึ้น และกลายเป็น “Mainstream” โดยมี 6 ปัจจัยหลักหนุนคือ

1. คนโสดมากขึ้น

ปัจจุบันในหลายประเทศทั่วโลก ประชากรแต่งงานช้าลง และเป็นโสดมากขึ้น อย่างในประเทศไทย EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ฉายภาพว่าปัจจุบันคนไทยเป็นโสดกันมากขึ้น จากจำนวนการแต่งงานที่ลดลง และการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลการจดทะเบียนสมรสและจดทะเบียนหย่าของกรมการปกครองพบว่า จำนวนการจดทะเบียนสมรสของคนไทยลดลงจาก 3.13 แสนคนในปี 2550 มาอยู่ที่ 2.98 แสนคนในปี 2560 (ลดลง 5.1%)

สวนทางกับจำนวนการจดทะเบียนหย่าที่เพิ่มขึ้นจาก 1.02 แสนคน มาเป็น 1.22 แสนคน (เพิ่มขึ้น 19.7%) ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งการแต่งงานที่ลดลง และการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าประเทศไทยมีจำนวนคนโสดมากขึ้น

2. คู่รักไม่มีบุตรเพิ่มขึ้น

ทุกวันนี้คู่รักคนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มชะลอการมีบุตรออกไปก่อน หรือตัดสินใจไม่มีบุตรเลย ด้วยหลากหลายเหตุผล เช่น กังวลกับสภาพสังคม และเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเลี้ยงลูกยุคนี้มีต้นทุนสูง ต้องการโฟกัสความก้าวหน้าในงานก่อน อยากหาประสบการณ์ชีวิต ปัจจัยด้านสุขภาพ ฯลฯ ทำให้หลายคู่ตัดสินใจที่จะเลี้ยงน้องหมา น้องแมว และดูแลพวกเขาเหล่านั้นเป็นเหมือนลูกของตัวเอง

Pet Humanization_Cat Lover

3. สัตว์เลี้ยงคลายเหงาผู้สูงอายุ รับแนวโน้มสังคมสูงวัย

ปี 2021 ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจาก “สังคมสูงอายุ” (Aging Society) ประชากรอายุ 60 ปีขึ้น มีสัดส่วน 10% ของประชากรทั้งประเทศ เข้าสู่ “สังคมสูงวัยสมบูรณ์” (Aged Society) แล้ว นั่นคือ 20% ของประชากรทั้งประเทศ อายุ 60 ปีขึ้นไป

หนึ่งในวิธีช่วยให้ผู้สูงอายุคลายเหงา ได้บำบัด และกลับมามีชีวิตชีวาอีก คือ การเลี้ยงสัตว์ แต่ต้องเลือกให้ประเภทสัตว์เลี้ยง และสายพันธุ์ที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายกับผู้สูงอายุ เลี้ยงง่าย ดูแลง่าย

4. Supply เฟื่องฟู

จาก 3 ปัจจัยข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึง Demand ในตลาดสัตว์เลี้ยงมหาศาล เช่นเดียวกับฝั่ง Supply ปัจจุบันมีสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมากมาย และหลายประเภท ตั้งแต่อาหารสัตว์ ที่ตลาดพัฒนาลงลึกระดับ Fragmentation ทั้งอาหารสุนัขแต่ละสายพันธุ์ และมี Health Benefit บำรุงด้านต่างๆ อุปกรณ์การดูแล และของเล่นสัตว์เลี้ยง คลินิก – โรงพยาบาลสัตว์ โรงแรมสัตว์เลี้ยง และในยุคดิจิทัล มีสตาร์ทอัพหลายรายมองเห็นโอกาสธุรกิจ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสัตว์เลี้ยงแบบ On-Demand ในหลายบริการ

อย่างรายงานจาก Wunderman Thompson ได้ฉายภาพการเติบโตของธุรกิจแพลตฟอร์มดูแลสัตว์เลี้ยง On-demand ว่า ข้อมูลจาก VitusVet บริษัทผู้ให้บริการด้านสัตวแพทย์ ระบุว่าในปี 2020 คนอเมริกันเลี้ยงสัตว์ 47 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2019

ขณะที่ Morgan Stanley เผยรายงาน Welcome to the Petriarchy ได้คาดการณ์อุตสาหกรรมดูแลสัตว์เลี้ยง (Pet Care Industry) จะมีมูลค่าแตะ 275,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2030 และจากการสำรวจยังพบว่า 65% ของผู้บริโภคอายุ 18 – 34 ปี มีความคิดต้องการเลี้ยงสัตว์เพิ่ม หรือซื้อสัตว์เลี้ยงภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้ใช้จ่ายกับสัตว์เลี้ยงมากกว่าผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่

การเติบโตทั้งประชากรสัตว์เลี้ยง และอุตสาหกรรมสินค้า-บริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง มาพร้อมกับการขยายตัวโมเดลธุรกิจดูแลสัตว์แบบ On-demand เช่น

“Dutch” แพลตฟอร์มให้บริการ Pet Telemedicine ก่อตั้งโดย Joe Spector ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม Telehealth “Hims & Hers” ด้วยเงินลงทุน Seed Funding 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก Forerunner Ventures และ Andrew Dudum ซีอีโอคนปัจจุบันของ Hims & Hers

Dutch Pet Care

Photo Credit : Facebook Dutch

“DoorDash” แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์​ จับมือกับ “PetSmart” เชนค้าปลีกด้านสัตว์เลี้ยง (Pet Retailer) ที่มีสาขามากกว่า 1,500 สาขาทั่วสหรัฐฯ ร่วมกันพัฒนาบริการจัดส่งสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงแบบ On-Demand ทั้งอุปกรณ์ดูแลสัตว์เลี้ยง อาหารสัตว์ ของเล่น

Groomit แอปพลิเคชันให้บริการตัดแต่งขนสัตว์ On-demand โดยลูกค้าสามารถเลือกวัน – เวลาที่ตนเองสะดวก เลือกแพคเกจ เลือกผลิตภัณฑ์ที่จะใช้กับสัตว์เลี้ยง เช่น ผลิตภัณฑ์ออแกนิค

Wunderman Thompson ชี้ว่า 89% ของคนอเมริกันมีสถานะโสด และ 91% ของคนอเมริกัน เชื่อในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเหมือนกับลูก

Groomit

Photo Credit : Facebook Groomit

5. COVID-19 คนใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น

COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้วิถีชีวิตคนเปลี่ยน ต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้น และเดินทางออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้บ้านกลายเป็นสถานที่ทุกอย่าง ไม่ว่าจะทำงาน เรียน คาเฟ่ขนาดเล็กๆ ออกกำลังกาย ฯลฯ

เมื่อคนมีเวลาอยู่กับบ้าน แทบจะตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เพื่อคลายความเบื่อ และความเครียด จึงหากิจกรรมต่างๆ ทำ ทั้งทำอาหาร ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก จัดบ้าน ตกแต่ง ซ่อมแซม ปรับปรุงบ้าน รวมถึงเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน เป็นลูก ช่วยคลายเหงา และความเครียด

Pet Humanization_Dog Lover

6. อีคอมเมิร์ซ ทำให้คนเข้าถึงสินค้าสัตว์เลี้ยงได้มากขึ้น

อีกปัจจัยที่เร่งให้ตลาดสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงโตอย่างรวดเร็ว คือ การมีช่องทางจำหน่ายหลากหลาย ทั้งร้านค้าออฟไลน์ และช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซ ทำให้ผู้คนเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น

ยิ่งช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทั้งฝั่งแบรนด์สินค้า หรือร้านค้า รุกอีคอมเมิร์ซ ขณะเดียวกันพฤติกรรมการช้อปของผู้บริโภค Pet Lovers ก็เปลี่ยนมาสั่งซื้อสินค้าให้กับสัตว์เลี้ยงของตัวเองผ่านทางอีคอมเมิร์ซเช่นกัน

อย่าง JD Centralทำแคมเปญช่วงล็อกดาวน์ “Save Safe ล็อกดาวน์ปลอดภัย เซฟๆ ให้ 2 ต่อ” ปรากฏว่าพบ Consumer Insight น่าสนใจคือ สินค้าหลักๆ ที่ผู้บริโภคนิยมสั่งมากที่สุดในช่วงล็อกดาวน์ COVID-19

– สินค้าเกี่ยวกับความบันเทิง เช่น ทีวี หูฟัง ลำโพง

ยอดอาหารแมวเติบโตอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนได้ว่ามีลูกค้าที่เป็น Cat Lover หรือทาสแมว เข้ามาสั่งสินค้าเกี่ยวกับแมวบนแพลตฟอร์ม JD Central

Pet Humanization_Dog Lover

 

สำรวจตลาดอาหารสัตว์ โตสวน COVID-19 – เซ็กเมนต์พรีเมียมมาแรง ภาพสะท้อน Pet Lover ทุ่มเพื่อสัตว์เลี้ยงแสนรัก

ปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์ และบริการดูแลสัตว์เลี้ยงแยกย่อยเป็น Fragmentation มากมาย แต่หนึ่งในตลาดใหญ่ที่เติบโตต่อเนื่อง แม้จะเจอสถานการณ์วิกฤต COVID-19 คือ “ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง”

ResearchAndMarkets.com รายงานมูลค่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วโลกในปี 2020 อยู่ที่ 75,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน อยู่ที่ 74,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าในปี 2021 มีอัตราการเติบโต 6% และในปี 2023 จะเพิ่มขึ้นเป็น 88,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะที่USDA(United States Department of Agriculture : Foreign Agricultural Service) รายงานว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจาก เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ขณะที่อันดับ 5 คือเนเธอร์แลนด์

โดยผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ในไทยคือ กลุ่มซีพี เบทาโกร กลุ่มเอเชี่ยน และ ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตอาหารระดับโลกอย่าง Mars Inc. และ Nestle Purina ตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิต รองรับทั้งตลาดในประเทศ และส่งออก

Pet Humanization_Pet Food

ขณะที่ตลาดในไทย USDA ได้รายงานประชากรสัตว์เลี้ยงในไทย อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย ประมาณการณ์ว่าในปี 2020 จำนวนสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยอยู่ที่ 14.5 ล้านตัว แบ่งเป็น สุนัข 8.9 ล้านตัว (62%) แมว 3.3 ล้านตัว (23%) และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ 15%

ทั้งนี้ ทิศทางของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในไทย เซ็กเมนต์ที่เติบโตดีคือ เซ็กเมนต์พรีเมียม ดังตัวอย่างข้อมูลของ Euromonitor International ฉายภาพตลาดอาหารสุนัขในประเทศไทย ปี 2020 ยอดขายเชิงมูลค่า (Value) โต 9% จากปีก่อน ขณะที่ยอดขายเชิงปริมาณ (Volume) เพิ่มขึ้น 6% พบว่าตลาดพรีเมียม โตมากกว่าตลาดอีโคโนมี่ และตลาดระดับกลาง

ภาพรวมมูลค่าตลาดอาหารสุนัขปี 2020 อยู่ที่ 29,444 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 กลุ่มสินค้าคือ

ขนมสุนัข: 7,793.9 ล้านบาท (โต 15.4% เทียบกับปี 2019)

อาหารสุนัขแบบแห้ง: 17,616 ล้านบาท แบ่งเป็น

– ตลาดอีโคโนมี่: 4,182.4 ล้านบาท (โต 4.6%)

– ตลาดระดับกลาง: 9,718.0 ล้านบาท (โต 6.9%)

– ตลาดพรีเมียม: 3,716.2 ล้านบาท (โต 7.9%)

อาหารสุนัขแบบเปียก: 4,033.5 ล้านบาท แบ่งเป็น

– ตลาดอีโคโนมี่: 191.4 ล้านบาท (โต 2.5%)

– ตลาดระดับกลาง: 3,321.3 ล้านบาท (โต 7.4%)

– ตลาดพรีเมียม: 520.8 ล้านบาท (โต 9.9%)

ขณะที่ยอดขายเชิงปริมาณปี 2020 อยู่ที่ 244,426.2 ตัน ประกอบด้วย 3 เซ็กเมนต์คือ  

ขนมสุนัข: 14,791.3 ตัน (โต 10.8% เทียบกับปี 2019)

อาหารสุนัขแบบแห้ง: 199,561.7 ตัน แบ่งเป็น

– ตลาดอีโคโนมี่: 71,698.4 ตัน (โต 3.1%)

– ตลาดระดับกลาง: 107,002.5 ตัน (โต 6.6%)

– ตลาดพรีเมียม: 20,860.8 ตัน (โต 8.7%)

อาหารสุนัขแบบเปียก: 30,073.3 ตัน แบ่งเป็น

– ตลาดอีโคโนมี่: 2,850.1 ตัน (โต 2.8%)

– ตลาดระดับกลาง: 25,465.4 ตัน (โต 6.9%)

– ตลาดพรีเมียม: 1,757.9 ตัน (โต 10.8%)

Pet Humanization_Pet Food

ถึงแม้ในจำนวนประชากรสัตว์เลี้ยงในไทย มากถึง 62% เป็นสุนัข แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าคนไทย หันมาเลี้ยงแมวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่

USDA ชี้ว่าคนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยงแมวมากขึ้น เนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ห้องในคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ ประกอบกับด้วยบุคลิกและนิสัยแมว เป็นสัตว์เลี้ยงง่าย รักความสะอาด และดูแลตัวเองได้

ดังนั้นผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกสรรอาหารแมวที่ดีที่สุด ขณะที่ฝั่งผู้ผลิต พัฒนาอาหารแมวนวัตกรรมใหม่ เช่น อาหารที่ให้คุณค่าโภชนาการ และรส กลิ่น และเนื้อสัมผัส

จากความนิยมเลี้ยงแมวมากขึ้น และผู้ผลิตอาหารแมว แข่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ ทำให้ในช่วงปี 2019 – 2021 ตลาดอาหารแมวเติบโตเกือบ 30% โดยสัดส่วนหลักยังมาจากอาหารแมวแบบแห้ง 60% และแบบเปียก 40%

Pet Humanization_Cat Lover

จะเห็นได้ว่าการเติบโตของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง เซ็กเมนต์พรีเมียม สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการสินค้าคุณภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเหตุผลหลักมาจาก “Pet Humanization

หรือที่ Morgan Stanley นิยามการปฏิบัติต่อเลี้ยงสัตว์ไว้ว่า “Petriarchyเจ้าของไม่ได้มองว่าสัตว์เลี้ยงคือสัตว์เลี้ยง แต่มองว่าเป็นลูก เป็นสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นจึงต้องเลือกสรรอาหารการกินที่มีคุณภาพ ตรงกับสายพันธุ์ และมี Health Benefit เฉพาะเจาะจง

 

Source

Source

Source


แชร์ :

You may also like