ปัทมวรรณ สถาพร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท มายด์แชร์ กล่าวว่า “เราทราบกันทั่วไปว่าประชากรไทยปัจจุบันมี 64 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและเรากำลังเข้าสู่ช่วงของการมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 40 อยู่ถึง 39%ของประเทศ และเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่อยู่ที่ 29%ของประชากรทั้งหมด หมายถึงการที่เราจะต้องเตรียมตัวเข้าสู่ยุคที่ประเทศกำลังจะมีประชากรสูงวัยเพิ่มมากขึ้น และทั้งนี้เราก็ทราบดีว่ากลุ่มคนทำงานใช้แรงงานมีจำนวนเท่ากับ 2 ใน 3 ของประเทศ ร่วมถึงขนาดจำนวนสมาชิกในแต่ละครัวเรือนก็เล็กลง แต่งงานช้า มีลูกน้อย และอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้นก็เป็นแนวโน้มที่เราจะเห็นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มายด์แชร์ไม่ได้หยุดศึกษาในเชิงประชากรศาสตร์เท่านั้นแต่เรามองซับซ้อนขึ้นโดยศึกษาในเชิงพฤติกรรมทางสังคม ปัจเจกบุคคล ความเชื่อ ทัศนคติของผู้บริโภคเหล่านั้นและได้จัดกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 8 กลุ่มหลักด้วยกันจากเครื่องมือวิจัย 3D นี้ โดยเราจะสามารถมองเทรนด์ให้ลึกกว่าแค่สถานภาพทั่วไป”
3D 2012 แสดงสัดส่วนกลุ่มทัศนคติและพฤติกกรรม 8 กลุ่มดังนี้
- กลุ่มที่ต้องการมีสถานะทางสังคมและภาพลักษณ์ที่ดี (Image Conscious Status Seeker) เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตเยอะที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดวันนี้ กลุ่มนี้มีมุมมองและทัศษนะคติที่ดีกับชีวิต ยอมเป็นหนี้สินเพื่อใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ 22 %
- กลุ่มผู้เสียเปรียบและไม่กระตือรือร้น (Disadvantaged & Indifferent) มีพิ้นฐานของการคิดเรื่องชีวิตที่เรื่อยๆ สบายๆ เป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่ต่างชาติให้ความสนใจ เป็นกลุ่มที่ใหญ่ของสังคมไทยตลอดระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา และนับเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุดเป็นอันดับสองคือ 19% ของจำนวนประชากร
- กลุ่มที่มีแบบแผนชีวิตเหมือนรุ่นก่อนๆ (Traditionalists ) มีจำนวน 9% ค่อนข้างมีแบบแผนการใช้ชีวิต มีความมั่นใจในตัวเอง ยังเชื่อเรื่องความถูกต้อง และศาสนามีความสำคัญกับชีวิต เป็นกลุ่มที่มีความเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี และมีจำนวนประชากรที่ค่อนข้างคงที่ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีคนอายุเยอะมากที่สุด
- กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความคาดหวัง(Young Aspirers) มีจำนวน 11% เป็นกลุ่มคนอายุน้อยที่ชอบสังคม เอาใจใส่ผู้คนรอบข้าง และสนใจภาพลักษณ์ มีความมั่นใจสูงแต่ไม่ถึงกับทะเยอทะยาน มีมุมมองชีวิต และการใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพื่อนมีความสำคัญกับชีวิต สิ่งที่มีบทบาทในชีวิตมากขึ้นคือเทคโนโลยี
- กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองหาความมั่นคง (Young Pragmatics) มีจำนวน 10% เป็นกลุ่มที่เล็กในสังคมไทย มีความใกล้เคียงกับที่ถูกตั้งชื่อใช้เรียกกันว่า ‘GEN Y’
- กลุ่มโดดเดี่ยวและมองโลกจริงจัง (No-nonsense loners) มีจำนวน 8 % กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ชอบอยู่บ้าน ชอบอยู่เงียบๆ และค่อนข้างจริงจังกับชีวิตและคิดเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุและผล และมีค่านิยมทางสังคมที่เชื่อตัวเองเป็นหลัก เป็นกลุ่มที่มีตัวเลขลดน้อยลงเยอะที่สุดและเป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดของสังคมไทย
- กลุ่มการศึกษาสูงและมีความคิดก้าวหน้า (Educated Progressives) มีจำนวน 9% กลุ่มคนเมืองและมีการศึกษาสูง ทำงานประจำ มีการยอมรับแนวคิดใหม่ๆเสมอ ไม่ชอบเรื่องหยุมหยิมในชีวิต มุมมองและการดำเนินชีวิตของคนเมืองที่ไม่ค่อยแตกต่างมากนักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมายังเป็นกลุ่มที่เล็กของสังคมไทย
- กลุ่มที่มีความเชื่อมั่นแต่มีวิถีชิวิตแบบอนุรักษ์นิยม (Ambitious Traditionalists) มีจำนวน 12% เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตน วัตถุนิยม ชอบสังคมและมีความสุขกับชีวิต ส่วนใหญ่จะอยู่นอกหัวเมือง แต่งงานและมีลูก มีรายได้ต่อครัวเรือนน้อย มีความใกล้เคียงกับกลุ่ม Traditionalists ในด้านมุมมองและประเพณี สิ่งที่ต่างคือความเชื่อมั่น และมุมมองชีวิตที่ทันสมัยกว่าและอยากที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองถ้ามีโอกาส กลุ่มที่มีความคงที่เช่นกันในช่วง 10 ปีทีผ่านมา
“ทุกองค์กรให้ความสำคัญกับผู้บริโภคที่มีความภักดีกับ แบรนด์ และให้ความสำคัญยิ่งกว่าในการทำยังไงไม่ให้เขาเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น พัฒนาการของสินค้ามาถึงจุดที่บางครั้ง สิ่งที่จะดึงดูดไม่ใช่เรื่องของฟังชั่นแต่กลับเป็นเรื่องของความรู้สึก แบรนด์ที่แข็งและโดดเด่นจากคู่แข็งคือแบรนด์ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ถึงความแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆได้อย่างชัดเจนและเมื่อรวมทั้ง 3 มิติเข้าด้วยกัน 3D จึงนำเราเข้าสู่ยุคใหม่ของการวางแผนการสื่อสาร” ปัทมวรรณ สถาพร กล่าวสรุป
ภาพ : ULSTER