ปัจจบันดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการตลาด แบรนด์ต่างๆจึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อที่จะรับมือกับการตลาดรูปแบบใหม่นี้ แต่ยังคงมีบางแบรนด์ที่ลังเลที่จะให้ความสำคัญกับดิจิตอลอย่างเต็มที่ ตัวดิจิตอลเองมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้ยิ่งยากต่อการไล่ตาม จึงทำให้แบรนด์เพิิกเฉยมันไป Digiday พูดคุยกับแบรนด์ต่างๆในประเด็นที่ว่า “อะไรถูกอะไรผิดในการทำดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง” จึงได้ข้อสรุปมาเป็น 5 แนวคิดฉุดแบรนด์ล่้ม(จม) ในยุคดิจิตอล
ดังนี้
1. ผลประโยชน์เป็นหลัก
แนวคิดที่มักจะทำให้การตลาดแบบดิจิตอลล้มเหลว คือ มุ่งเน้นไปที่ผลกำไรธุรกิจมากเกินไป จนให้ละเลยความสำคัญกับลูกค้าซึ่งถือเป็นหัวใจของธุรกิจ (Customer Centric) พวกเขาเห็นเพียงผลประโยชน์เพียงระยะสั้น แทนการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเพื่อผลประโยชน์ระยะยาว แท้จริงแล้วการให้ความสำคัญกับลูกค้าก็เปรียบเสมือนการให้ความสำคัญกับธุรกิจ
ตัวอย่างของ L.L. Bean ไม่ค่อยซักถามลูกค้าในกรณีคืนของสินค้า จริงอยู่ที่ลูกค้าบางรายอาจจะไม่ซื่อสัตย์ นำสินค้าที่ใส่แล้วหลายรอบกลับมาคืน และทำอีกๆหลายรอบ แต่หากมองกลับกันในระยะยาว สิ่งสร้างความพอใจให้กับลูกค้าและทำให้พวกเขากลับมาใช้บริการอีกเรื่อยๆ
2. ทำแบบเดิมๆ
ถ้าคุณยังคงใช้งบการตลาดส่วนใหญ่ไปกับการทำแผ่นพับ ใบปลิวหรือป้ายโฆษณาอยู่ล่ะก็ คุณอาจจะอยู่ในยุคหินก็เป็นได้ แบรนด์ที่จะล้มเหลวในยุคดิจิตอลนี้ก็คือ แบรนด์ที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง หากไม่มีปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาด ก็จะถูกทิ้งให้รั้งท้าย ดังนั้นความยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น ความล้มเหลวของ Kodak ที่รั้นจะพัฒนาแต่เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ Analog โดยไม่สนใจการตลาดแบบดิจิตอลรอบข้าง
3. อยู่เซฟโซน
การอยู่ในโซนปลอดภัยมักจะไม่ตื่นเต้นและไม่เป็นที่จดจำสักเท่าไหร่ แบรนด์ที่ไม่ลองเสี่ยงที่จะใช้ช่องทางหรือ Platform ใหม่ๆมักจะไปไม่ได้ไกลเท่าไรนัก ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากความกลัวที่จะล้มเหลว ถูกเยาะเย้ย และความกดดัน อันที่จริงแบรนด์อาจจะพบความล้มเหลวในช่วงต้นและเรียนรู้จากความผิดพลาด และความกดดันก็ผลักดันสิ่งดีๆเข้ามาเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น Red Bull ที่ได้เสี่ยงสร้างการจดจำภาพของการดิ่งท้ามฤตยูของ Felix Baumgartner ในชั้นสตาร์โตสเฟียร์ ซึ่งภาพลักษณ์ของบริษัทอาจจะออกมาตรงกันข้ามหาก Felix ได้รับบาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุ
4. ไม่ใส่ใจข้อมูล
หากไม่ให้ความสำคัญต่อข้อมูลข่าวสารต่างๆ (Ignoring the data) จะทำให้คุณยิ่งห่างไกลจากการประสบความสำเร็จในสมรภูมิดิจิตอล นักการตลาดที่ฉลาดจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ เพื่อทราบความเคลื่อนไหวของสภาพตลาด ผลิตภัณฑ์ รวมถึงบริการต่างๆด้วย แบรนด์ที่ไม่สนใจข้อมูลดังกล่าวก็จะไม่สามารถนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าได้ และแน่นอนลูกค้าก็มักจะเลือกแบรนด์ที่พยายามจะตอบสนองความต้องการของพวกเขา
ตัวอย่างเช่น United Airlines ไม่ใส่ใจกับความต้องการของลูกค้า ไม่ยอมรับความคิดเห็นหรือร้องเรียนที่โพสต์ไว้ใน Social Media จนทำให้ลูกค้ารายหนึ่งทำวีดีโอวิจารณ์สายการบินซึ่งมีผู้เข้ามาชมถึง 12 ล้านครั้ง
5. ต่างคนต่างทำ
อีกหนึ่งสาเหตุของการไม่ประสบความสำเร็จ คือ ดิจิตอลจำเป็นต้องถูกผสานเข้าไปกับ DNA ของแบรนด์ ซึ่งหมายถึง ดิจิตอลต้องเข้าไปอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่แบรนด์ทำ ถ้าหากต่างคนต่างทำงาน โดยไม่มีการนำมาผสมผสานกัน ยังไงก็ต้องล้มเหลว
ตัวอย่างของการรณรงค์สนับสนุนวันเอดส์โลก 2010 ไม่ประสบผลสำเร็จและได้รับเงินบริจาคไม่มากนัก เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ขาดการผสมผสานระหว่างเครื่องมือดิจิตอลอื่นๆ กับ สิ่งพิมพ์ / สื่อนอกบ้าน / สื่อทีวี
ที่มา : Digiday