thai.ramaya.na ประสบการณ์ใหม่ล่าสุดจาก Chrome ที่จะนำทุกคนให้ต้องมนต์สะกดจากวรรณกรรมรามเกียรติ์มาสู่สายตาผู้ชมในรูปแบบร่วมสมัยด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ
รามเกียรติ์หรือรามายณะ มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว โดยต้นฉบับ เขียนเป็นร้อยกรองภาษาสันสกฤตมีความยาวกว่า 50,000 บรรทัด รามเกียรติ์ถูกนำมาเผยแพร่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเมื่ออยู่ในประเทศใดก็มีการผสมผสานบริบทของแต่ละ ท้องถิ่นเข้าไปด้วย ซึ่งมีการนำเสนอในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่หุ่นกระบอกจนในปัจจุบัน ที่มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์วันนี้วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการนำเสนอในรูปแบบใหม่ ซึ่งเราปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับโลกปัจจุบัน เต็มไปด้วยวิทยาการไฮเทคต่างๆ โดยคุณสามารถรับประสบการณ์จากรามเกียรติ์ในรูปแบบใหม่นี้ บนเว็บเบราเซอร์ผ่านมาตรฐาน HTML5 และภาษา Javascript ที่นำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหว และโต้ตอบได้ที่เราหวังว่าจะเป็นการนำวรรณกรรมเรื่องนี้มานำเสนอในรูปแบบที่ทันสมัยที่สุดในเวลานี้ที่เราเรียกว่า thai.ramaya.naในขณะที่รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตที่ประกอบด้วยโคลงมากกว่า 24,000 บท จากหนังสือทั้งหมด 7 เล่ม ในเวอร์ชั่นอินเทอร์แอ็คทีฟนี้จะนำเสนอในตอน พระรามรบกับทศกัณฐ์ เพื่อแย่งชิงนางสีดากลับคืนมาเพื่อให้การรับชมวรรณคดีเรื่องนี้มีอรรถรสของความทันสมัย เราใช้การเล่าเรื่องผ่านบริการของ Google อาทิ แผนที่ โปรแกรมสนทนา และเครื่่องมือพิเศษของ Chrome เช่น โหมดหน้าต่างไม่ระบุตัวตน (Incognito mode) และแถบใส่คำค้นหา (Omnibox) ตัวอย่างเช่นเมื่อพระบิดาของนางสีดา ประกาศหาคนที่เหมาะจะมาเป็นสามีของนางสีดา ก็ประกาศสู่คนทั้งแผ่นดินผ่านโปรแกรม Google Chat และเมื่อทศกัณฐ์ต้องการหลอกล่อให้นางสีดาเข้าใจผิดว่าทศกัณฐ์เป็นนักบวช ทศกัณฐ์ได้ แปลงกายโดยใช้โหมดไม่ระบุตัวตนของ Chrome ซึ่งทำให้ทศกัณฐ์ปรากฎตัวเป็นอีกร่าง หนึ่งได้อย่างแนบเนียน
เราได้รับเเรงบันดาลใจ จากเครื่องมือพิเศษบน Google Chrome ที่ช่วยสร้างสรรค์เพลงประกอบ เหนือจินตนาการ เช่น The Wilderness Downtown และ Three Dreams of Black เรานำเค้าโครงเรื่องพื้นฐานของวรรณกรรมรามเกียรติ์ โดยนึกถึงท่าทางการแสดงออกของตัวละคร ต่างๆ ณ เวลาปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ลักษณะการสื่อสารกับเพื่อนๆ (ผ่านการแชต) หรือ การค้นหา สถานทีใหม่ๆ (ผ่าน Google แผนที่) เป็นต้น คุณจะเห็นว่า เรื่องราวรามเกียรติ์จะนำเสนอผ่าน หลากหลายรูปแบบ ทั้งซิงค์กับหน้าต่างเบราว์เซอร์ ที่ใช้ฟีเจอร์ อย่าง Canvas ในมาตรฐาน HTML5 เพื่อทั้งสร้างท่าทางและเชิญชวนให้คุณมีส่วนร่วมไปในตัว
ขอขอบพระคุณอธิบดีกรมศิลปากร นายสหวัฒน์ แน่นหนา และ ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต นายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ สำหรับคำแนะที่มีประโยชน์ และข้อมูลเชิงลึกในการสร้างเครื่องมือใหม่สุดพิเศษบน Google Chrome รวมถึงคุณตุล ศิลปินจากวงอพาร์ตเมนต์คุณป้า สำหรับซาวด์ดนตรีประกอบไพเราะและการผสานกันอย่างลงตัวกับดนตรีไทยในจังหวะเสียงที่ทันสมัย
เพื่อให้ได้ประสบการณ์รับชมที่สมบูรณ์แบบ โปรดยกเลิกตัวบล็อคป๊อปอัพ และ รับชมในโมดเต็มหน้าจอ
ที่มา : Google