ในเมื่ออินเตอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพไปเสียแล้ว ข้อมูลส่วนตัวต่างๆของคุณจึงเวียนว่ายอยู่ในออนไลน์ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสทองของนักโจรกรรมข้อมูล หรือ บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีต่อคุณ ที่จะเข้ามาล้วงความลับนั้นไป Forbes เปิดเผย 10 วิธีป้องกันการข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลง่ายๆ ดังนี้
1.ตั้งรหัสผ่านป้องกันในอุปกรณ์ต่างๆ
บางคนบอกว่าการนั่งพิมพ์รหัสผ่านเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่การไม่รหัสผ่านสำหรับการเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ต่างอะไรกับการเปิดประตูบ้านหรือประตูรถทิ้งเอาไว้แต่ตัวคุณไม่อยู่ ถ้าหากคุณโชคดีก็ไม่มีอะไรเสียหาย แต่ถ้าหากโชคร้ายข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลลับต่างๆจะถูกขุดคุ้ยออกมาจนหมด
2.Google Alert ช่วยเตือน
ใช้บริการ Google Alert ที่จะใช้แจ้งเตือน เมื่อชื่อหรือข้อมมูลส่วนตัวเรา ไปอยู่ในโลกออนไลน์ Google Alert จะทำการเตือนเราผ่านอีเมลล์ ซึ่งทำให้เราสามารถจัดการข้อมูลของเราได้อย่างทันท่วงที
3.ลงชื่อออกทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ:
ลงชื่อออก หรือ Sign out จะช่วยลดการถูกติดตามหรือแกะรอยข้อมูลของคุณในโลกอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังป้องกันจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่อจากคุณมาแอบดูข้อมูลส่วนตัวอีกด้วย (ในกรณีใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ) มิฉะนั้นแล้วผลร้ายจะตามมา
4.อย่าให้อีเมลล์ เบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสไปรษณีย์ไปง่าย
คนแปลกหน้าเจอในผับ/บาร์มาขออีเมล์ เบอร์โทร หรือ รหัสไปรษณีย์ อย่าไปให้เด็ดขาด แม้กระทั่งเป็นพนักงานห้างสรรพสินค้าที่จะนำเสนอข่าวสารหรือโปรโมชั่นใหม่ๆก็ตาม แต่ถ้าไม่ต้องการก็พวกเขาไปตรงๆ
เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
5.ตั้งรหัสเข้าคอมพิวเตอร์
สำหรับคอมพิวเตอร์ทางทีดีควรจะตั้งรหัสผ่านเข้าฮาร์ดดิสก์แห่งเก็บข้อมูลสำคัญๆของคุณ การตั้งรหัสผ่านไม่ยากอย่างที่คิด สำหรับ Mac ใช้ FileVault ส่วนพีซี ต้องใช้ Bitlocker
6.เปิดใช้ระบบพิสูจน์ตัวตนใน Gmail
ใน Gmail จะมีบริการพิสูจน์ตัวตน 2 ขั้นตอน ถ้าหากต้องการเข้าอีเมลล์ด้วยอุปกรณ์ใหม่จะต้องได้รับรหัสยืนยันที่ส่งเข้าไปทางมือถือเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วจะใช้งานไม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่าถ้าหากมีรหัสผ่านเข้าอีเมลล์แต่ไม่ได้มีรหัสยืนยันจากระบบพิสูจน์ตัวตน ข้อมูลในอีเมลล์ก็ยังปลอดภัยอยู่
7.จ่ายสดสำหรับสินค้าบางอย่าง
ในการซื้อสินค้าหรือชำระเงิน ถ้าเป็นไปได้ควรจะใช้เงินสดไม่ควรจะเครดิตการ์ด เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นจะเป็นแหล่งในการติดตามและเก็บข้อมูลการใช้จ่ายของคุณไว้หมดเลย
8.ตั้งค่า Facebook เป็น Friends Only
เราทุกคนต่างมีข้อมูลส่วนตัวที่จะต้องปกปิด แต่ใน Facebook อีกหลายคนยังไม่ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้ จึงทำให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เพื่อนสามารถเข้ามาดูข้อมูล หรือ โพสต่างๆได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นเข้าไปใน Privacy Setting เพื่อตั้งค่าให้เหมาะสม
9.เคลียร์ History และ Cookies
History และ Cookies เป็นตัวบันทึกการกระทำต่างๆบนโลกออนไลน์ของคุณ ดังนั้นแนะนำว่า คุณควจะตั้งค่าให้ระบบเคลียร์อัตโนมัติทุกสัปดาห์หรือเดือน โดยไปที่ Options เลือก Privacy Setting แล้วกด Never Remember Your History สิ่งนี้จะทำให้ลดจำนวนการถูกติดตามในโลกออนไลน์ลงได้
10.ใช้ IP Masker อำพรางตัว
ในการเข้าเว็บไซต์แต่ละครั้ง จะมีข้อมูลไอพีของคุณอยู่ในเว็บไซต์เสมอ แต่ถ้าหากต้องกาเข้าอย่างไร้ร่องรอย แนะนำให้ใช้ IP Masking บริการอำพราง IP อย่างเช่น download Tor หรือใช้ HideMyAss.com
ที่มา : Forbes