หลายแบรนด์ที่ต้องการก้าวสู่ตลาดอินเตอร์ด้วยแคมเปญการตลาดต่างๆ หากผลีผลามไม่ศึกษาประเทศที่จะเข้าไปให้ดีก่อนก็อาจพลาดได้ง่ายๆ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะแบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกเองก็พบปัญหานี้มาแล้ว ซึ่งคุณสามารถศึกษาข้อผิดพลาดและนำมาปรับใช้กับแผนการตลาดของแบรนด์คุณได้เป็นอย่างดี และนี่คือ 6 เรื่องที่คุณต้องเลี่ยง
1. ปรับตัวเข้ากับตลาดของประเทศนั้นๆ ไม่ได้
แบรนด์ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จรู้ดีว่าการทำแบรนด์ให้เข้ากับตลาดท้องถิ่นนั้นสำคัญเพียงใด เช่น KFC และ McDonald’s ที่เห็นความสำคัญเรื่องนี้ และพยายามออกเมนูใหม่แบบไทยๆ มาดึงดูดคนไทยที่กินข้าวเป็นอาหารหลักอยู่เสมอ อาทิ ข้าวยำไก่แซบ ข้าวกระเพราไก่ทอดไข่ดาว และแฮมเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมู เป็นต้น
2. แปลชื่อแบรนด์ของคุณ
คงเป็นเรื่องที่ตลกแน่ๆ ถ้าชื่อแบรนด์ของคุณถูกแปลเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ แล้วฟังดูแปร่งๆ หรือไปตรงกับคำที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่น Vista ที่แปลเป็นภาษาลัตเวียได้ว่า รุ่นแม่ไก่ หรือรุ่นผู้หญิงเชย (ถ้าแปลเป็นไทย ก็คือ Windows รุ่น วิว) ซึ่งการแปลแบบนี้อาจทำให้แบรนด์ของคุณเสียได้
3. แปล Keyword ผิด
หากแปล keyword ไม่ถูกต้อง ลูกค้าก็จะค้นหาสินค้าและผลิตภัณฑ์ของคุณ ไม่เจอ น้ำผลไม้ชื่อดัง Tropicana ก็พบปัญหานี้ ที่แปลคำว่า “Orange Juice (น้ำส้ม) ” เป็นภาษาสเปนว่า “jugo de china” ซึ่งภาษาคิวบาหมายถึง “น้ำผลไม้จากประเทศจีน” ดังนั้น คุณควรตรวบสอบ keyword online casino canada กับเจ้าของภาษาก่อนทุกครั้ง
4. ใช้แคมเปญผ่านช่องทางที่ไม่เหมาะสม
แม้ Facebook กับ Twitter เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างแบรนด์กับลูกค้าทั่วโลก แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเขารู้สึกอินได้เต็มที่ ด้วยความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ถ้าคุณสามารถปรับแคมเปญให้มีเนื้อหาเหมาะกับประเทศนั้นๆ โดยดูสิ่งที่เป็นที่สนใจและช่องทางการสื่อสารหลัก คุณก็จะเข้าใกล้และได้ใจพวกเขามากขึ้น เช่น หากคุณทำแบรนด์ดีตลาดจีน คุณก็ต้องใช้ Weibo แทน Facebook, Youku แทน Youtube และ WeChat แทน LINE กับ Whatsapp เป็นต้น
5. ศึกษาวัฒนธรรมไม่ดีพอ
การทำแคมเปญให้โดนใจเริ่มด้วยการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ก่อนว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เช่น การใช้สีสดและภาพประกอบที่ตื่นตาตื่นใจที่ใช้ได้ผลในเอเชีย แต่กลับใช้ไม่ได้ผลในฝั่งตะวันตก หรือคนเยอรมันชอบซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ชาวรัสเซีย จีน และญี่ปุ่นกลับชอบไปซื้อที่ร้านขายเอง หรือจะเป็นเรื่องการชำระเงินที่บางประเทศนิยมใช้บัตรเดบิต เช็ค หรือ PayPal มากกว่าใช้บัตรเครดิต
6. ไม่เป็นมิตรกับอุปกรณ์โมบายล์
ในยุคนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจต่างๆ ต้องพึ่งพาอุปกรณ์โมบายล์ หากเว็บไซต์ของคุณไม่เป็นมิตรกับอุปกรณ์เหล่านั้น ก็เท่ากับไล่ให้ลูกค้าไปหาคู่แข่งของคุณ ดังนั้น เว็บไชต์ของคุณจึงต้องตอบสนองกับความต้องการโมบายล์อย่างเต็มที่ เช่น สามารถปรับตามขนาดหน้าจอได้อัตโนมัติ มีปุ่มขนาดใหญ่ ไม่ใช้แบนวิธมาก มีระบบการค้นหาด้วยเสียง (Voice Search) และที่สำคัญต้องใช้ได้กับทุกอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการ
เรียบเรียง: @natzuke
ที่มา: ClickZ