HomeFeaturedสุดยอด 3 โฆษณาสร้าง “แรงบันดาลใจ” ที่คุณห้ามพลาด ณ ชั่วโมงนี้

สุดยอด 3 โฆษณาสร้าง “แรงบันดาลใจ” ที่คุณห้ามพลาด ณ ชั่วโมงนี้

แชร์ :

AIS TVC San ruk

หลังจากเริ่มต้นโครงการ  “สานรัก” มาเป็นเวลากว่า 15 ปี มีเด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการแล้วราว  600  คน ในแต่ละปี “สานรัก” จะมีแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับครอบครัวที่หยิบยกขึ้นมานำเสนอเพื่อเน้นย้ำกับสังคมที่แต่ละช่วงเวลาก็มีปัญหาที่ควรพูดถึงแตกต่างกันออกไป มาถึงปีนี้เอไอเอสได้ออกแนวคิดใหม่“แรงบันดาลใจจากครอบครัว สร้างการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ” โดยถ่ายทอดผ่านแนวคิดนี้ผ่านภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสังคมชุดใหม่ “แรงบันดาลใจ” ที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของเด็กในโครงการสานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง 3 คนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากครอบครัว ทำให้เกิดการเรียนรู้ในแง่มุมต่างๆ มาขับเคลื่อนชีวิตจนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

 

“แรงบันดาลใจ” จากแม่ สร้างคนสร้างชาติ

 

วิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เล่าที่มาของแนวคิดใหม่นี้ว่า

“หน่วยที่สำคัญที่สุดคือสถาบันครอบครัว เพราะเราเชื่อมั่นว่าครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่สังคมที่ดี หากครอบครัวแข็งแรง ย่อมส่งผลให้ประเทศชาติแข็งแรงไปด้วย แนวคิดในแต่ละปีจะเริ่มต้นที่ความเชื่อนี้ อย่างบางปีเราก็กำหนดแนวคิดว่า  ‘ให้เวลาแก่กันในครอบครัว ครอบครัวจะอบอุ่นแข็งแรง’ บางปีเราก็เน้นไปที่การ ‘กอด’ อย่างในปีนี้เรามีแนวคิดว่า ‘แรงบันดาลใจจากครอบครัว สร้างการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ’ เราก็เลยหยิบเรื่องราวชีวิตจริงของเยาวชนในโครงการสานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง 3 คนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากครอบครัวของตัวเองแล้วส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตของพวกเขามานำเสนอ”

 

AIS San rak

ผ่านภาพยนตร์โฆษณา 3 เรื่องราวจาก 3 คนภายใต้แนวคิด “แรงบันดาลใจ” เริ่มเผยแพร่ในสื่อต่างๆ และทาง www.sarnrak.net/inspiration   แล้วโดยทั้ง 3 เรื่องราวที่เอไอเอสเลือกมานำเสนอ มีดังนี้

 

จู้-เนตรนภา แซ่หลี ที่ได้แรงบันดาลใจจากคุณแม่ที่เป็นคนชอบทดลอง ชอบแก้ปัญหา จากการที่เธอครอบครัวยากจน ก็เลยมองหาของในตลาด แล้วพอดีร้านขายถั่วงอกในตลาดขายดีมาก สองคนแม่ลูกก็เลยสังเกตว่าเพราะมีอยู่ร้านเดียวในตลาด ทั้งสองคนก็ทดลองปลูกถั่วงอกมาขายบ้าง มีทั้งผิดทั้งถูก แต่ก็ช่วยบ่มเพาะนิสัยช่างสังเกต ช่างทดลอง กล้าคิด กล้าทำให้กับจู้ จนกระทั่งทุนสานรักของเอไอเอสเข้ามาส่งเสริม เด็กน้อยคนหนึ่งจึงได้รับทุนจนเรียนจบปริญญาตรี หลังจากนั้นเธอก็หาทุนอื่นๆ จนกระทั่งได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แล้วทำงานวิจัยอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นจาก แรงบันดาลใจจากคุณแม่ของเธอ ที่มาพร้อมกับประโยคง่ายๆ ว่า “ก็ลองดู” ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้จากการทดลอง

AIS TVC San ruk

    [youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5evijBBLU2Q[/youtube]

นิล-อัจฉรา พูนสวัสดิ์ จากการที่พ่อเสียชีวิตทำให้คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว จึงสอนให้ลูกรู้จักพึ่งพาตัวเองให้ได้และเรียนรู้ด้วยตนเอง  นิลต้องช่วยครอบครัวขายผลไม้ในตลาด และคอยสังเกตว่าร้านอื่นๆ มีโปรโมชั่น หรือทำอย่างไรจึงขายดี ทำให้นิลเป็นคนที่ช่างสังเกต กล้าคิด กล้าทำ เวลาอยู่ที่โรงเรียนจึงรับอาสาทำกิจกรรมสารพัดอย่างที่ครูมอบหมาย นิลได้รับแรงบันดาลใจจากแม่ที่คอยดูและเป็นกำลังใจอยู่ห่างๆ ทำให้นิลเรียนรู้จากการสังเกต จนมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นครู และด้วยโครงการสานรักก็ทำให้นิลเรียนจบปริญญาตรีและสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูถ่ายทอดความรู้ให้เด็กๆ ต่อไปตามความใฝ่ฝัน

AIS TVC San ruk 3

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=UIHPIESyIXM[/youtube]

แล้วก็มาถึง เล็ก-ระวีวรรณ เกลี้ยงทองคำ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากคุณแม่ที่เป็นนางเอกลิเกมาก่อน และปัจจุบันถึงจะไม่ได้ออกแสดงอีกแล้ว แต่คุณแม่ก็ยังรักการร้อง รำและสอนวิชาให้กับเล็ก แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การฝึกลิเกบางครั้งก็ถูกเพื่อนหัวเราะเยาะในอาชีพเต้นกินรำกิน จนเล็กเองก็เคยท้อถอย  อย่างไรก็ตามด้วยการเรียนรู้ในการถ่ายทอดความรักในนาฏศิลป์ไทยของแม่ก็ทำให้เล็กมีแรงผลักดันที่จะสืบสานวิชานี้ต่อ หลังจากรู้ว่าจะได้รับทุนจากโครงการสานรักจนจบปริญญาตรี เล็กไม่ลังเลที่จะสมัครเข้าเรียนนาฏศิลป์ไทยทันที ปัจจุบันเล็กก็ยังคงทำหน้าที่ส่งต่อวิชานาฏศิลป์ไทยโดยการเป็นครูสอนนาฏศิลป์ได้ตามต้องการ


AIS TVC San ruk 2

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=TssU_iQA0Bg[/youtube]

เอไอเอสหวังว่าการนำเสนอแนวคิดใหม่ในครั้งนี้จะช่วยจุดประกายความคิดให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการสร้างการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจในหลากหลายวิธีให้เกิดขึ้นในครอบครัว โดยเฉพาะกระตุ้นให้พ่อแม่เห็นถึงความสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกๆ เพราะพลังของการเรียนรู้จะสร้างอนาคตให้พวกเขาและก่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ต่อไปโดยที่การเรียนรู้นั้นไม่ต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป

 

จุดเริ่มต้นต้องมั่นคง แล้วพร้อมปรับตัว

โครงการสานรัก ของเอไอเอสเริ่มต้นมาอย่างยาวนาน ถือเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืนกิจกรรมหนึ่งในวงการตลาดเมืองไทย  คุณวิไล เคียงประดู่ เล่าว่าการที่จะทำให้โครงการในลักษณะนี้ดำเนินงานได้ต่อเนื่องต้องเริ่มจาก “วันแรก” ที่คิดเลยทีเดียว

“ต้องมาจากแนวคิดก่อน เมื่อเราตั้งตัวโครงการขึ้นมาเราก็ต้องคิดก่อนเลยว่าโครงการแบบนี้จะอยู่ยาวหรืออยู่สั้น แล้วก็รับเป็นนโยบาย หลังจากนั้น สิ่งที่จะทำให้โครงการอยู่แบบยั่งยืนก็ต้อง  1.คอยมอร์นิเตอร์ 2.หาแนวร่วม คำว่าแนวร่วมในที่นี้ต้องเริ่มจากภายในตัวองค์กรก่อน พนักงานต้องรับรู้และมีส่วนร่วม หลังจากนั้นก็มีการเผยแพร่ให้กับสังคมเป็นลำดับต่อไป แล้วโครงการแบบนี้ต้องทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่าหยุด เพราะถ้าหยุดแนวร่วมก็จะจางลงไป แล้วถ้าน้องในโครงการคนไหนที่มีความน่าสนใจเราก็เอาเรื่องราวของเขามาต่อยอดสร้างการรับรู้ เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆ ต่อไป”

หลังจากดำเนินโครงการไประยะหนึ่ง ภายในองค์กรเอไอเอสเองก็มีการต่อยอดภายใน เช่น โครงการพี่เลี้ยงสานรัก เอาจุดเด่นที่เอไอเอสมีพนักงานอยู่ทั่วประเทศ ในขณะที่เด็กๆ ที่มีปัญหาเองก็มีอยู่ทั่วประเทศเช่นกัน ก็จับเอาคู่ของคนที่มีปัญหากับคนที่พร้อมจะช่วยเหลือให้แมตช์กันผ่านกิจกรรม “พี่เลี้ยงสานรัก” โดยให้พนักงานที่มีความสมัครใจเข้าไปดูแลน้องๆ อย่างใกล้ชิด แต่ก่อนจะลงไปดูแลน้อง ทีมงานจะต้องฝึกให้เข้าใจถึง ‘การให้’ อย่างถ่องแท้ ว่าต้องเป็นการให้การศึกษา ให้กำลังใจ และคำปรึกษาอย่างเหมาะสม เพื่อสอนให้เด็กเหล่านี้รู้จักสร้างงานด้วยตัวเอง ไม่ได้ให้จนผู้รับไม่เห็นคุณค่า

ส่วนตัวแก่นของกิจกรรมสานรักก็ยังคงเป็นเช่นเดิม คือ การให้การศึกษาจนจบปริญญาตรี กับเด็กยากไร้ ที่มีความกตัญญู รักเรียน ส่วนสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นเรื่องของการสื่อสาร ที่โครงการสานรักต้องปรับให้เท่าทันยุคสมัย

 

ทำต่อเนื่อง จนมีเรื่องเล่า

โครงการสานรักของเอไอเอสวันนี้เป็นบทพิสูจน์ว่า เมื่อแบรนด์ทำ CSR  ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็จะผลิดอกออกผล จนวันนี้เอไอเอสหยิบเอาเรื่องราวความสำเร็จของเด็กๆ ในโครงการมาสร้างเป็น  Story Telling ที่สะท้อนสังคมอย่างแท้จริง แล้วนำเรื่องเหล่านี้มาเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย จากนั้นก็จะสะท้อนกลับมาที่ตัวแบรนด์เองโดยอัตโนมัติ

“เราจะทำอะไรเพื่อทำให้สังคมดีขึ้น คิดถึงสังคมก่อนที่จะคิดถึงแบรนด์ในตอนที่กำเนิดโครงการ แล้วผู้คนก็จะมองเห็นได้เองว่าองค์กรของเราให้ความช่วยเหลืออย่างตั้งใจ แล้วเด็กๆ ที่มีชีวิตที่ดีขึ้นจากโครงการของเรา เขาก็จะเอาไปพูดเอง” คุณวิไลกล่าว เมื่อถูกถามว่าทำไมเอไอเอสจึงเลือกทำโครงการที่ห่างไกลจากธุรกิจที่ทำ

นอกจากเรื่องจริงของบุคคล 3 คนที่นำมาทำเป็นภาพยนตร์โฆษณาแล้ว โครงการสานรักยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่น่าสนใจ ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ของ AIS สานรักได้ที่ http://www.sarnrak.net/inspiration/

 

[Advertorial]


แชร์ :

You may also like