HomeBrand Move !!วีซ่า เผยผลสำรวจคนไทยพก “เงินสด” น้อยลง พกบัตรเครดิต 2 ใบ

วีซ่า เผยผลสำรวจคนไทยพก “เงินสด” น้อยลง พกบัตรเครดิต 2 ใบ

แชร์ :

visa logo new

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

วีซ่า (VISA) ผู้ให้บริการด้านเครือข่ายการชำระเงิน  เผยผลการสำรวจเกี่ยวกับทัศนคติด้านการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2557  แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยเต็มใจที่จะเปลี่ยนการชำระเงินเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น โดย 1 ใน 3 ของผู้ทำแบบสอบถามยินดีที่จะพกเงินสดน้อยลง

โดยรวมของผลสำรวจแสดงให้เห็นว่ามีคนไทยที่มีบัตรเครดิตอย่างน้อย 1 ใบ บัตรเครดิตมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์  ทั้งนี้โดยเฉลี่ย คนไทย 1 คน พกบัตรอย่างน้อย 2 ใบ การวิจัยดังกล่าวได้ทำการสำรวจผู้บริโภคทั้งสิ้น 2,000 คน ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ถือบัตรวีซ่ามากถึง 43 ล้านใบ จำนวนบัตรที่มากขึ้นเป็นตัวชี้วัดว่าคนไทยมีความสบายในการจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นบัตรเครดิต หรือ อีคอมเมิร์ซ มากขึ้น

 

สมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ทัศนคติเรื่องการลดการพกเงินสดของคนไทยเปลี่ยนไปและคนส่วนมากหันมาให้ความสำคัญในเรื่องความสะดวกและความปลอดภัยของรูปแบบระบบชำระเงินอิเล็คทรอนิกส์มากขึ้น การผลการวิจัยวันนี้แสดงให้เห็นว่าคนพกเงินสดน้อยลงหรือประมาณแค่ 1,500 บาทต่อวัน และมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยพึงพอใจในการหันมาเลือกชำระเงินผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์หรือการชำระเงินผ่านบัตร

 

ด้วยจำนวนคนที่พกบัตรมีมากกว่าเมื่อห้าปีที่แล้ว และมีความมั่นใจที่จะใช้บัตรซื้อสินค้าออนไลน์ จึงแสดงให้เห็นได้ว่าผู้บริโภคชาวไทยพร้อมที่จะพึ่งพาเงินสดน้อยลง นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นอีกว่าภาพรวมของระบบการชำระเงินมีการพัฒนาที่ดีขึ้น บวกกับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภคโดยเฉพาะการใช้ชีวิตออนไลน์ ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยและมั่นใจที่จะชำระเงินผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

 

จากผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่า เหตุผลหลักที่ผู้บริโภคชาวไทยพอใจที่จะชำระเงินผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์เพราะรู้สึกสะดวกสบาย (58เปอร์เซ็นต์), ไม่ต้องการพกเงินสด (25เปอร์เซ็นต์), ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (20เปอร์เซ็นต์) โดยมากกว่าครึ่งของผู้ทำแบบสอบถาม (64เปอร์เซ็นต์) รู้สึกปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์เนื่องจากการ

 

ผลการสำรวจของวีซ่าเกี่ยวกับทัศนคติด้านการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2557จัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2557 โดย BlackBox Researchในนามของวีซ่า โดยลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ทำแบบสอบถามคือชายและหญิงที่ใช้บัตรเครดิตและมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปรวมถึงต้องมีบัตรที่ใช้งานทั่วไปอย่างน้อยหนึ่งใบ (บัตรเครดิต) ผู้ทำแบบสอบถามมีจำนวน 500 รายใน 4 ประเทศและมีการทำแบบสำรวจแบบออนไลน์ด้วยการกำหนดโควต้าของเพศและอายุ การวิจัยมีผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมด 2,000 รายในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย

 

เติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย และมากกว่า  64เปอร์เซ็นต์ ของผู้ทำแบบสอบถามทำการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อหนึ่งเดือน ผู้บริโภคชาวไทยแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและตั้งตารอวิธีการชำระเงินรูปแบบใหม่ ด้วยจำนวนมากกว่าครึ่งของผู้ทำแบบสอบถาม (55 เปอร์เซ็นต์) สนใจที่จะใช้การชำระเงินแบบไร้สัมผัส เทคโนโลยีรูปแบบใหม่อย่าง วีซ่า เพย์เวฟ ที่มีความปลอดภัยสูง ซึ่งขณะนี้กำลังเพิ่มจุดรับบัตรไปยังทั่วประเทศ

 

โดยรวม ผู้บริโภคชาวไทยมั่นใจกับฐานะทางการเงินของตนเองมากขึ้น มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ทำแบบสอบถาม (81 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าฐานะทางการเงินของตนจะดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ความมั่นใจนี้ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับแค่ครึ่งหนึ่งของผู้ทำแบบสอบถาม (51 เปอร์เซ็นต์) ที่บอกว่าฐานะทางการเงินของตนตอนนี้ดีขึ้นกว่าเมื่อ ปีที่แล้ว

 

 

เกี่ยวกับวีซ่า

วีซ่าคือบริษัทผู้ให้บริการด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก แก่ลูกค้าบุคคล ธุรกิจ และสถาบันการเงิน ตลอดจนองค์กรรัฐ ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีด้านเงินตราดิจิตอลที่รวดเร็ว ปลอดภัย และวางใจได้ โดยมี VisaNet                  หนึ่งในระบบเครือข่ายการทำงานด้านเงินตราดิจิตอลที่ทันสมัยมากที่สุดระบบหนึ่งของโลกเป็นรากฐาน ซึ่งสามารถประมวลและควบคุมการทำธุรกรรมได้กว่า 47,000 รายการในหนึ่งวินาที พร้อมด้วยระบบป้องกันการปลอมแปลงสำหรับลูกค้าบุคคล และการรับประกันการชำระเงินสำหรับร้านค้า วีซ่าไม่ใช่ธนาคารและมิได้มีบริการการออกบัตร เพิ่มวงเงินเครดิต หรือกำหนดอัตราค่าบริการแก่ผู้ถือบัตร หากแต่ให้บริการนวัตกรรมซึ่งส่งเสริมให้สถาบันการเงินสามารถมอบทางเลือกที่มีความหลากหลายให้แก่ลูกค้าได้ เช่น บริการชำระเงินจากยอดเงินในบัตรเดบิต หรือการใช้จ่ายด้วยวงเงินล่วงหน้าผ่านผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตต่างๆข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่า ค้นหาได้ที่: www.corporate.visa.com


แชร์ :

You may also like