ผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยวีซ่าซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเทคโนโลยีด้านการชำระเงินระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless payments) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 7 คนจาก 10 คนหรือร้อยละ 66 ที่ได้ทำแบบสอบถามพบว่าพวกเขาชื่นชอบในการชำระเงินแบบ “wave and go” หรือการชำระเงินแบบ ”แตะบัตร” และไม่ต้องเซ็นสลิป ทั้งยังนิยมที่จะไปจับจ่ายในร้านค้าที่เปิดให้บริการในรูปแบบนี้
การศึกษาทัศนคติด้านการชำระเงินของลูกค้าในปี พ.ศ. 25571ของวีซ่า ได้ทำการสำรวจทัศนคติในการจับจ่ายใช้สอยของผู้ถือบัตรวีซ่าในสี่ประเทศชี้ชัดว่าการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในประเทศไทยได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับกลุ่มคนวัยทำงานในช่วงอายุตั้งแต่ 25 – 34 ปีที่ร้อยละ 77 โดยกลุ่มนี้เลือกที่จะช็อปในร้านค้าที่มีเทคโนโลยี “แตะบัตร” จ่ายเงิน ผ่านบริการวีซ่า เพย์เวฟ แทนร้านค้าที่ไม่มี นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากถึงร้อยละ 78 ในประเทศฟิลิปปินส์ ร้อยละ 68 ในประเทศมาเลเซียและร้อยละ 60 ในประเทศสิงคโปร์ยังเลือกที่จะไปจับจ่ายในร้านค้าที่มีบริการการชำระเงินแบบไร้สัมผัสให้เป็นทางเลือกแก่ลูกค้า
วันนี้ในงาน 5thAsian Payment Card Forum ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ สมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ร้านค้าจำนวนมากกำลังเปิดใช้บริการการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยแล้ว การชำระเงินแบบไร้สัมผัสและการไม่ต้องพกเงินสดติดตัว (cashless) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันในขณะที่ผู้บริโภคและร้านค้าได้ตระหนักแล้วว่าการชำระเงินแบบไร้สัมผัสได้มอบความสะดวกสบายและความรวดเร็วสำหรับชีวิตที่ต้องรีบเร่งของพวกเขา
เทคโนโลยีแบบไร้สัมผัสทำให้ผู้ถือบัตรวีซ่า เพย์เวฟ สามารถชำระเงินโดยวิธี “แตะ” บัตรเหนือเครื่องรับชำระเงินโดยไม่ต้องเสียบหรือรูดบัตรและเซ็นบนสลิป การทำธุรกรรมผ่านบัตรวีซ่า เพย์เวฟ สามารถทำได้ในจำนวนเงินสูงสุด 1,500 บาทต่อครั้งด้วยมาตรการความปลอดภัยหลายขั้นตอนที่จะทำให้ผู้ถือบัตรวีซ่า เพย์เวฟ มั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยที่สะดวกสบายและรวดเร็วด้วยประสบการณ์ของการชำระเงินที่ปลอดภัย
ผลสำรวจยังพบว่าความนิยมของการชำระเงินแบบไร้สัมผัสอยู่ในระดับสูงในประเทศสิงคโปร์ด้วยจำนวนร้อยละ 55 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ใช้เทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส ในขณะที่ประเทศไทยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนร้อยละ 23 ได้ให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้ใช้เทคโนโลยีนี้สำหรับการจับจ่ายใช้สอยเช่นกัน
เหตุผลหลักสองประการสำหรับการเลือกใช้การชำระเงินในรูปแบบไร้สัมผัสนี้คือ การทำธุรกรรมด้วยความรวดเร็วขึ้น (47%) การไม่ต้องพกเงินสด (29%) และนอกจากนั้นร้อยละ 44 ของผู้ใช้ในกลุ่มอายุ 60 ปีหรือมากกว่านั้นยังนิยมที่จะใช้การชำระเงินแบบไร้สัมผัสแทนการพกเงินสด
ในขณะที่อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทคเช่น สมาร์ทวอทช์ ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยล่าสุดค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ แอปเปิล เปิดตัว แอปเปิล วอทช์ (Apple Watch) ที่มาพร้อมกับระบบแอปเปิล เพย์ (Apple Pay) ผู้ตอบแบบสอบถามยังได้รับการสอบถามเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทคในฐานะเป็นเครื่องมือสำหรับการชำระเงินแบบไร้สายอีกด้วย ในประเทศไทยร้อยละ 63 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจที่จะใช้อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทคสำหรับการชำระเงิน มากกว่าในประเทศมาเลเซียที่ร้อยละ 56 ของผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความสนใจเช่นเดียวกัน
ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในประเทศไทย
ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา วีซ่า เพย์เวฟ ได้เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยจำนวนการทำธุรกรรมการเงินผ่านบัตรวีซ่า เพย์เวฟที่โตถึงร้อยละ 155 เมื่อเปรียยบเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เม็ดเงินจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรวีซ่า เพย์เวฟยังเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 77 ในช่วงเวลาเดียวกัน ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของช่องทางการชำระเงินแบบไร้สัมผัสสำหรับผู้ค้าสำคัญต่างๆ รวมถึงบรรดาร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, และแม็กซ์แวลู นอกจากนี้ยังมี ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป โรงหนังเครือเอสเอฟ ซีเนม่าและร้านอาหารต่างๆ เช่น เฮลโล คิตตี้ เฮ้าส์ และร้านแมคโดนัลด์ที่เริ่มใช้เทคโนโลยี วีซ่า เพย์เวฟ อย่างแพร่หลาย
“มากกว่าสามในห้าของผู้บริโภคชาวไทยที่พึงพอใจและยินดีที่จะจับจ่ายใช้สอยผ่านการชำระเงินแบบไร้สัมผัสซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและเป็นทางเลือกสำหรับการชำระเงินแทนเงินสด” สมบูรณ์ กล่าวเสริม “นอกจากนี้ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าความสะดวกสบายและความรวดเร็วของวีซ่า เพย์เวฟ นั้นสามารถที่จะมอบประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยที่สุดแสนประทับใจแก่ผู้ถือบัตรวีซ่าและผู้ค้าเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้วการที่ผู้บริโภคนิยมทำธุรกรรมการเงินแบบไร้สัมผัสยังบ่งบอกถึงอนาคตการเงินที่การใช้จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์จะมาทดแทนการใช้เงินสดในสังคมไทย”
1ผลการสำรวจของวีซ่าเกี่ยวกับทัศนคติด้านการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2557 จัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2557 โดย BlackBox Research ในนามของวีซ่า โดยลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ทำแบบสอบถามคือชายและหญิงที่ใช้บัตรเครดิตและมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปรวมถึงต้องมีบัตรที่ใช้งานทั่วไปอย่างน้อยหนึ่งใบ (บัตรเครดิต) ผู้ทำแบบสอบถามมีจำนวน 500 รายใน 4 ประเทศและมีการทำแบบสำรวจแบบออนไลน์ด้วยการกำหนดโควต้าของเพศและอายุ การวิจัยมีผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมด 2,000 รายในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย