HomeCreativity10 แคมเปญไอเดียเลิศๆ เตือนภัย “มะเร็งเต้านม”

10 แคมเปญไอเดียเลิศๆ เตือนภัย “มะเร็งเต้านม”

แชร์ :

super

เนื่องในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ทั่วโลกรณรงค์ให้เป็น “Breast Cancer Awareness Month” Brand Buffet ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นให้คนไทยรู้เกี่ยวกับโรคนี้ และนำไปสู่การป้องกัน ตรวจพบ รวมทั้งเข้าใจผู้ป่วยที่ต้องเชิญกับ “มะเร็งเต้านม” ผ่านแคมเปญโฆษณาที่ใช้ไอเดียสร้างสรรค์ 10 ชิ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพื่อนำเอาไปพัฒนาแคมเปญดีๆ ต่อไป นอกจากนี้ยังอยากให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน สำรวจตรวจสอบสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอและใส่ใจดูแลคนรอบข้าง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1. I Touch Myself: Breast Cancer Anthem 

แคมเปญที่คว้ารางวัลจากเวที Spike Asia 2014 ผลงานที่ระดมพลังของศิลปินระดับ Deva ของออสเตรเลียมาร่วมกันร้องเพลงเพื่อระลึกถึง Chrissy Amphlett ศิลปินสาวผู้ล่วงลับจากโรคมะเร็งเต้านม เนื่องในวันที่ 1  เมษายน ซึ่งเป็นวันที่เธอจากไปและเป็นวันที่ถูกำหนดให้เป็นวัน I Touch myself ทำให้คนรู้จัดตรวจดรคมะเร้งด้วยตัวเอง พร้อมมี #itouchmyselfproject

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=FeaO2BrrIf8 [/youtube]

2. The Pink Ribbon Highway

แคมเปญที่เล่นกับพื้นที่เอาท์ดอร์ของถนนแล้วสร้างเป็นโบว์สีชมพูขนาดใหญ่ เพื่อรรณรงค์เรื่องมะเร็งเต้านม โดยอาศัยสภาพแวดล้อมรอบตัวมาเล่น ก็กลายเป็นพื้นที่โฆษณาได้แล้ว

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ixBSyTLXuBk[/youtube]

3. Rak ‘n’ Roll

ค่ายเพลง Rak ‘n’ Roll ในประเทศโปแลนด์ที่ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2012 ค่ายเพลงนี้มีความพิเศษตรงที่ว่ารายได้ทั้งหมดจะนำเข้าไปช่วยเหลือสตรีที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็งเต้านม ทำเพลงที่ฟังด้วยลำโพงเพียงข้างเดียว เพื่อให้คนเข้าใจว่าการที่ผู้หญิงมีเต้านมเพียงข้างเดียว จะรู้สึกอย่างไร อ่านเพิ่มเติมคลิก

[vimeo]http://vimeo.com/63458672[/vimeo]

4. Don’t Wait

มาถึงผลงานประเภทสิ่งพิมพ์กันบ้าง จากแบรนด์ Volksawagenที่เปรียบเทียบการตรวจพบมะเร็งเต้านมกับส่วนต่างๆ ของรถ ที่ผู้ป่วยควรตรวจพบก่อน อย่ารอให้เกิดเรื่องซะก่อน เหมือนกับรถที่ยอ่ารอให้ยางแบน หรือสัญญาณไฟขึ้นเตือน

bc_volk_original

5. If Only You Checked Your Breasts As Often

ถ้าหากว่าการตรวจมะเร็งทำได้บ่อยๆ เหมือนการที่คุณเล่นโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลายก็คงจะดี นี่คือสิ่งที่ DDB Singapore ต้องการจะบอกด้วยการแปลงเอาโลโก้ของเฟซบุ๊ค, ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรมมาดัดแปลง

fb_cancer

6.Kohberg Bread Supports The Danish Cancer Society

แม้แต่แพ็กเก็จจิ้งก็ใส่ครีเอทีฟเข้าไปแล้วทำให้กลายเป็นสื่อที่พูดเรื่องมะเร็งเต้านมได้ กับผลงานจากบริษัทขนมปัง Kohberg ที่เดนมาร์ค ช่วยเป็นสปอนเซอร์ให้กับ The Danish Cancer Society

56d412ee50c43aa3106a6fb4fe117a7f

7. ไม่เห็น “อก” แต่เห็นใจ

มาถึงแคมเปญดีๆ ของไทย กันบ้างกับไวรัลวิดีโอเรื่อง ไม่เห็น “อก” แต่เห็นใจ Sabina Women’s Story เล่าเรื่องผู้ป่วยที่ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตหลังากรักษาโรคแล้ว หวังกระตุ้นให้คนอื่นๆ ในสังคมเข้าใจอาการของโรคนี้ และต้องการโปรโมตโครงการ CSR ของแบบรนด์ซาบีน่า ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวพันกับสุขภาพทรวงอกของสาวๆ โดยตรง จึงไม่พลาดที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ในครั้งนี้ วิดีโอชิ้นนี้ใช้วิธีการการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ดูง่าย เจาะกลุ่มเป้าหมายระดับแมส เป็นผลงานสร้างสรรค์ของ แอดยิ้ม ออนไลน์ เอเยนซี่ ร่วมกับ Buffet Production

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=LVxIrZnH8G0[/youtube]

8. When We Talk About Cancer, There’s No Women Or Superwomen

Print Ad อีกหนึ่งชิ้นที่น่าสนใจอย่างมาก จากเอเยนซี่ DDB, Maputo, Mozambique ใช้ซูเปอร์ฮีโร่หญิงทั้งหลายมาเปรียบเทียบว่า สำหรับมะเร็งแล้ว ไม่มีผู้หญิงคนไหนเป็นซูเปอร์ฮีโร่ ทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงทั้งนั้น ดังนั้นควรตรวจและป้องกันอยู่เสมอ

super

9. Breast Cancer Direct Mail CDs

ไดเร็ค มาร์เก็ตติ้งที่เล่นกับรูปทรงของแผ่นซีดี กลายเป็นสื่อที่ช่วยให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมถูกส่งออกไป และมีความน่าสนใจมากขึ้น ไอเดียนี้เป็นผลงานของ Publicis, Malaysia

breast-cancer-ads-17

10. Get Pink 

มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ ในประเทศไทย มีความพยายามที่ให้ความรู้กับคนไทยเรื่องมะเร็งเต้านมมานาน และในปีนี้ มีเดียเอเยนซี่อันดับ 1  ของประเทศ “มายด์แชร์” ได้ร่วมกับบริษัทในเครือทั้งคินเนติกและเอ็มอินเตอร์แอคชั่น สนับสนุนโครงการ Get Pink ด้วยการวางแผนสื่อออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งสื่อนอกบ้านโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อช่วนรณรงค์ในการป้องกันรักษาและดูแลให้ผู้หญิงไทยห่างไกลจากมะเร็งเต้านม และสร้างศูนย์บำบัดและดูแลผู้ป่วย “บ้านพิงพัก” สถานที่พักพิงอย่างแท้จริงสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย

ปิดท้ายด้วยข้อมูลสำหรับบริจาค ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังต่อสู้กับโรคนี้ สามารถร่วมกันบริจาคและส่งกำลังใจไปให้ผู้ป่วยได้ที่

มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ

ชั้น 9 อาคารว่องวานิชโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

1873 ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

เบอร์โทรศัพท์:02-256-4774

Website: http://www.qscbcfoundation.org


แชร์ :

You may also like