หากคุณอาศัยอยุ่ในอเมริกา เร็วๆนี้คุณจะสามารถชำระค่าตั๋วตอนเสิร์ตหรือแม้กระทั่งจ่ายค่าอาหารเย็นให้เพื่อนของคุณผ่านเฟสบุ๊คเมสเซนเจอร์ได้ เฟสบุ๊คเพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าระบบนี้ไม่ใช่ระบบการจ่ายเงิน ซึ่งผู้ใช้บริการจะยังไม่เสียค่าธรรมเนียมในเวลานี้หรืออาจจะฟรีตลอดไปเลยก็เป็นได้ โดยความตั้งใจที่แท้จริงของเฟสบุ๊คคือการสร้างรายได้จากการที่มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นและเวลาที่ผู้ใช้จะอยู่กับเฟสบุ๊คมากขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงโอกาสในการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น
เฟสบุ๊คอยากเป็นเจ้าของระบบการจ่ายเงินงั้นหรือ? นั่นคงจะเป็นเรื่องในอนาคต ประเด็นก็คือเฟสบุ๊คกำลังปรับเปลี่ยนและคงสถานะของตัวเองในโลกของโซเชียลมีเดียไว้
โลกโซเชียลเป็นหนึ่งในฐานที่ไม่มั่นคงที่สุดในประเภทธุรกิจต่าง ๆ บนโลกนี้ เฟสบุ๊คมีคู่แข่งเกิดขึ้นใหม่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น Diaspora ในปี 2010 กูเกิ้ลพลัส (Google+) ในปี 2011 ทวิตเตอร์ (Twitter) ในปี 2012 สแนปแชท (Snapchat) ในปี 2013 เอลโล่(Ello)ในปี 2014 บ้างล้มเหลวบ้างประสบความสำเร็จ บ้างก็ถูกเฟสบุ๊คซื้อไปในที่สุด หรือแม้กระทั่งฐานโซเชียลที่ไม่ได้ถูกขนานนามว่าเป็น “เพชฌฆาตเฟสบุ๊ค” ก็สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ในเดือนพฤศจิกายนปี 2014 เครือข่ายสังคมอย่าง Tsu ที่มีผู้ใช้มากกว่า 5 ล้านคนในระยะเวลาเพียง 5 สัปดาห์ผ่านการแนะนำแบบพูดแบบปากต่อปาก
จึงเข้าใจได้ว่าทำไมเฟสบุ๊คถึงหันมาปรับและเพิ่มฟีเจอร์ของตัวเอง และไม่เพียงแต่เฟสบุ๊คเท่านั้น ทวิตเตอร์(Twitter) เองก็เช่นกันที่เพิ่งผนวก เมียร์แคท(Meerkat) ซึ่งเป็นคู่แข่งกับเพริสโคป (Periscope) ส่วนสแนปแชท (Snapchat) เองก็เพิ่งประกาศระบบการจ่ายเงินของตัวเองไปเมื่อเร็วๆนี้
วิวัฒนาการอย่างรวดเร็วนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย กลับเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นสำหรับสถานการณ์ทางโซเชียลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อ5ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคิดว่าการดูวีดีโอ 6 วินาทีจะเป็นเรื่องเจ๋งหรือรูปโพลารอยด์ออนไลน์จะเป็นที่นิยมถึงขนาดมีผู้ใช้ 300 ล้านคนสำหรับฐานโซเชียลอย่างอินสตาแกรม (ซึ่งมีเฟสบุ๊คเป็นเจ้าของ)
เมื่อย้อนกลับมาดูที่เฟสบุ๊ค การเพิ่มลูกเล่นต่างๆที่ได้เปิดตัวมาก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกครั้งไป ตัวอย่างเช่น Facebook Callingและ Facebook Paper กล่าวได้ว่าระบบจ่ายเงินนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ยังเร็วไปที่จะสรุปในตอนนี้ เพราะผู้บริโภคบางคนไม่อยากให้ข้อมูลส่วนตัวมากนักกับสังคมออนไลน์ ถึงแม้ว่าบริการนั้นจะมาพร้อมกับคำว่า “ฟรีและง่าย” หากไม่คำนึงถึงข้อนี้เฟสบุ๊คก็อาจประสบปัญหา “ล้มเร็ว” ทั้งนี้เฟสบุ๊คก็ต้องยอมรับด้วยว่าการที่จะอยู่ล้ำหน้าได้นั้นต้องยอมรับได้ทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จ
เฟสบุ๊คไม่เพียงจะมีฐานผู้ใช้อยู่กว่า 1.4 พันล้านคน แต่ยังคงสร้างพอร์ตฟอลิโอของแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ อีกด้วย เช่น วอทแอป (Whatapp) อินสตาแกรม (Instagram) และเมสเซนเจ้อ (Messenger) ความท้าทายคือการโฆษณาให้สมดุลกับปริมาณของผู้ใช้ การเพิ่มลูกเล่นที่เป็นประโยชน์อย่างระบบจ่ายเงินจะทำให้ผู้ใช้ใช้เวลากับเฟสบุ๊คนานกว่าทีเคย ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสที่ให้แบรนด์เข้ามาโฆษณาและยังสามารถทำให้เกิดการค้าขายขึ้นได้เร็วและเป็นจริงอีกด้วย
ที่มา : Digital PoV by Ben Watson (Mindshare)