ธนาคารธนชาต ลุยสนาม SMEs จัดงานสัมมนาเพื่อปลุกพลังของเหล่า SME ในประเทศไทยภายใต้หัวข้อเรื่อง “ธนชาต SME NEXT ต่อยอดธุรกิจ คิดต่าง” โดยได้รับเกียรติจาก พันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการ บริษัท ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว จำกัด ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำธุรกิจตามสไตล์ของเขา โดยได้ หนุ่มเมืองจันท์-สรกล อดุลยานนท์ เป็นผู้ดำเนินการสัมนา จนทำให้ภายในงานมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย โดยมีประเด็นที่ง่าย เบสิคสุดๆ แต่สำคัญของแนวคิดการทำธุรกิจ 3 เรื่อง ดังนี้
1. ตั้งชื่อแบรนด์ง่ายๆ ใช้สีชัดๆ
เป็นเรื่องเล่าที่เจ้าของชายสี่ฯ อธิบายบ่อยครั้ง แต่ฟังทีไรก็เก็ทไอเดียทันที เมื่อตอนตั้งชื่ออันเป็นเอกลักษณ์ เขาเลือกจาก 2-3 ชื่อ ดังนี้ 1.ราชินีบะหมี่เกี๊ยว 2. ป๊ะป๋าบะหมี่เกี๊ยว และ “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” วิธีคิดของเขาก็คือ เลือกชื่อที่สะกดด้วยตัวอักษรน้อยๆ และออกเสียงไม่เกิน 2-3 พยางค์ มีเสียงสัมผัส เพราะคนจะได้จำง่ายๆ และเมื่อเขียนป้ายก็ได้ป้ายที่ตัวหนังสือใหญ่พอ ใช้ป้ายสีเหลือง-แดงสะท้อนแสงเพื่อให้เด่นชัด
จนได้ชื่อ ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยวที่รู้จักกันดีเพราะสะท้อนความเป็นจีน แล้วตอนนั้นหนังจีนที่มีองค์ชายสี่เป็นตัวละครนำกำลังดัง จึงเป็นที่มาของชื่อนี้
2. ถ้าไม่มีทุนเริ่มต้นธุรกิจ ทำอย่างไร
นอกจากคำตอบว่าให้กู้จากธนชาตแล้ว อีกคำตอบที่ พันธ์รบ บอกเคล็ดลับก็คือ ให้คิดเหมือนจีบผู้หญิงคนหนึ่ง นั่นคือ ให้คิดถึงสิ่งที่อยากจะทำทุกวันแล้วหมั่นเพียรไปจีบไปดูอยู่เรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว เขากำลังหมายถึงถ้าอยากทำธุรกิจอะไรให้มี Passion แล้วลงมือศึกษาอย่างท่องแท้ เขาเองก็อ่านหนังสือลงทุนเรื่องอสังหาริมทรัพย์ของคุณพิชัย จาวลา แล้วทริคหนึ่งก็บอกวเอาไว้้ว่าถ้าอยากได้ที่ดินหรืออสังหาฯ บริเวณนั้นทุกวัน แล้วจะเกิดความรู้ ได้เปรียบเทียบที่ดินบริเวณใกล้เคียง แล้วจะรู้ว่าควรลงทุนในที่ดินตรงนั้นหรือไม่ ที่ใกล้เคียงกันมีความน่าสนใจหรือไม่
3. สร้างเครดิตให้ตัวเอง อย่างไร
พันธ์รบ กล่าวว่า “การทำให้คนอื่นรัก คือ การทำให้ตัวเองรวย” ดังนั้น เขาไม่เคยจ่ายเงินซัพพลายเออร์หรือแม้แต่จ่ายธนคารช้า นี่เป็นการสร้างเครดิตด้วยความตั้งใจที่จะรักษาชื่อเสียงของตัวเองเอาไว้
นอกจากนี้ยังมีการสร้างเครดิตที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ เมื่อเขาเปิดธุรกิจที่เวียงจันทน์ เป็นครั้งแรก แล้วคิดว่าจะเปิดธุรกิจได้ง่าย ก็ไปตั้งร้านแบบไทย แต่ปรากฏว่าถูกจับติดคุกขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทันที เพราะความไม่รู้ว่าต้องมีการขออนุญาติก่อน แต่นั้นก็ทำให้ “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว” เป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว และทำยอดขายได้ดีมาก ทั้งๆ ที่ราคาขายเริ่มต้นที่ 70-100 บาท/ ชาม
เรื่องที่เล่ามาอาจฟังดูเป็นเรื่องตลก แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ การบุกตลาด AEC ของเขาดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะเขาอยู่ในธุรกิจอาหารมานาน แรงงานจากต่างประเทศเคยทดลองชิมสินค้าของเขามาแล้ว ดังนั้นนี่คือการสร้างเครดิตผ่านสินค้า ที่เชื่อถือได้ และนำไปสู่การต่อยอดขยายตลาดในตอนนี้