อินเทจ (Intage) ผู้ให้บริการด้านวิจัยการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค เปิดเผยข้อมูลวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใน 3 ทวีปหลักของโลกคือ อเมริกา ยุโรป และ เอเชีย เพื่อเจาะลึก และเข้าถึงใจผู้บริโภคกลุ่มเก่าแต่ความต้องการใหม่…กลุ่ม 50+ หรือที่เรียกกันว่า the Silver Gen or the Aging Population ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่นับวันจะเติบโต ขยายฐานและปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันตก ญี่ปุ่น และ ภูมิภาคเอชีย และข้อมูลเจาะลึก เจาะใจวัย 50+ ใน 9 ประเทศทั่วโลกนี้ (สหรัฐ สวีเดน ญี่ปุ่น อังกฤษ เวียดนาม อินเดีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ไทย)
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมผู้สูงวัยหรือ Aging Society ตามนิยามของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพสูงสุด (The Most Potential Consumer) ที่นักการตลาดต้องจับตามอง เนื่องจากจำนวนประชากรของคนกลุ่มนี้ มีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน
ปี พ.ศ.2578 จำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนถึง 30% ของประชากรประเทศไทย
จากการศึกษารูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งชายและหญิง วัย 50 + โดยบริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ในรูปแบบการวิจัยออนไลน์เชิงปริมาณ* จำนวน 300 ตัวอย่าง ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือวิจัยล่าสุดจากญี่ปุ่นที่เรียกว่า MyReco Solutions ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น Digital Diary
ที่ผู้ร่วมงานวิจัยสามารถถ่ายภาพ บันทึกความรู้สึก แชร์กิจกรรมประจำวัน รวมถึงสิ่งที่สนใจและสถานที่
ที่ไปในแต่ละช่วงเวลาได้ทันที (Real Time)
Insight#1: อายุเป็นแค่เพียงตัวเลข ไม่ว่าวัยใดก็ต้อง ‘ดูดี’
คนวัย 50 + ยังคงให้ความสนใจ ในการดูแลภาพลักษณ์ของตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ สะท้อนออกมาจากการโพสต์ภาพของตนเองในกิจกรรมต่างๆ, การแต่งกายแบบร่วมสมัย, การลงภาพสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ, เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว, อาหารเสริมประเภทคอลลาเจน หรือ กาแฟ
ลดน้ำหนัก เป็นต้น
นอกจากนี้ วัย 50+ ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและจิตใจ (Body and Mind) เป็นอย่างมาก เช่น การออกกำลังกาย, การทานอาหารเพื่อสุขภาพ, การปลูกผักออร์แกนิคไว้ทานเอง, การนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม หรือการส่ง LINE Sticker ให้เพื่อนๆ ในวัยเดียวกันให้รีบเข้านอนเพื่อสุขภาพที่ดี
Insight#2: ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการสื่อสาร แต่ไม่ ’ติด’
ไม่ต่างจากวัยอื่น กลุ่ม 50+ ก็ท่องโลกออนไลน์เพื่อการอัพเดทข้อมูลและการติดต่อสื่อสารเช่นกัน เพียงแต่คนกลุ่มนี้ มีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการออนไลน์ ในแต่ละช่วงเวลา
– ช่วงเช้าตรู่เป็นการทักทายเพื่อนและครอบครัว การส่งภาพดอกไม้ตามสีประจำวัน หรือการส่งภาพพระพุทธรูป ในวันพระ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใส่ใจใน รายละเอียดของมิตรภาพและความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของวัย 50+
– ช่วงกลางวันเป็นการอัพเดทข่าวสารข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการตามข่าวหรือข้อมูลทั่วไป การแชร์ภาพกิจกรรมของตนและการรับรู้ความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ
– ช่วงเย็นเป็นช่วงพูดคุยกับเพื่อนและคนในครอบครัว เป็นช่วงที่วัยนี้จะใช้โซเชียลมีเดียมากเป็นพิเศษ LINE และ Facebook เป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ใน
การสื่อสาร
เนื่องจากการที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ชัดเจน การใช้เวลาต่อวันในโลกออนไลน์ของวัย 50+ จึงไม่ยาวนานเท่ากับคนกลุ่มอายุน้อยกว่า ซึ่งส่วนใหญ่ออนไลน์กันเกือบ 6 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ วัย 50+ เชื่อว่าสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีประโยชน์สำหรับชีวิตประจำวัน ทำให้พวกเขาสามารถติดต่อกับคนในครอบครัวและคนอื่นๆ ได้ และเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีประโยชน์ในยามฉุกเฉิน สามารถช่วยให้ทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอีกทั้งยังสามารถช่วยแก้เบื่อได้ด้วย
ดังนั้น สมาร์ทโฟนที่ถูกใจคนวัยนี้นอกจากต้องใช้งานง่าย มีหน่วยความจำที่มาก, หน้าจอใหญ่คมชัด, วัสดุมีน้ำหนักเบา, แบตไม่หมดเร็ว และแสงถนอมสายตาแล้ว ยังต้องสามารถรองรับ Application หลักได้ คือ LINE, Facebook และสามารถถ่ายภาพนิ่งได้สวย อีกด้วย
Insight #3: รักการออม แต่พร้อมใช้จ่าย
จากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีมายาวนาน ในวันนี้กลุ่ม 50+ ต้องการใช้ชีวิตที่ผ่อนคลายมากขึ้น ถึงแม้การออมเป็นเรื่องสำคัญ แต่พวกเขาก็ยอมจ่าย ถ้าหากสินค้าและบริการนั้นสามารถตอบโจทย์ตนได้ จากภาพที่ผู้ร่วมงานวิจัยแชร์ใน MyReco Solutions แสดงให้เห็นว่าการเดินทางท่องเที่ยว, ดูหนัง, หาร้านอาหารอร่อยๆ เพื่อสังสรรค์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง, การตั้งแก๊งค์ออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ผู้บริโภควัยนี้แสวงหา ซึ่งหมายถึง โอกาสทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยว ที่จะทำการตลาดอย่างจริงจังกับคนกลุ่ม 50 + นี้ แพ็กเกจการท่องเที่ยวที่จัดสรรให้อย่างเสร็จสรรพ อาทิ การเดินทางพร้อมที่พักและอาหาร, บริการรถเช่าเพื่อพาไปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือการจัดแพ็กเกจท่องเที่ยวตามฤดูกาลหรือเทศกาลต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้บริโภค 50+ ต้องการ และยังมีกำลังในการซื้ออีกด้วย
Insight#4: สื่อเก่ายังใช้ สื่อใหม่ก็นิยม
จากข้อมูลทั้งจากการสำรวจเชิงปริมาณ และผ่านทางออนไลน์จาก MyReco ยืนยันว่า กลุ่มคนวัยนี้ พร้อมรับข้อมูลข่าวสารจากทุกแหล่ง ทั้งสื่อแบบเดิมเช่น ทีวี, หนังสือพิมพ์, วิทยุ แต่ขณะเดียวกันก็มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อใหม่ (New Media) ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจที่พบจาก MyReco คือ ช่วงเวลาของการเห็นโฆษณาซึ่ง จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ใน 1 วัน ตั้งแต่ 9 โมงเช้าไปจนถึง 3ทุ่ม จะเป็นเวลาที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ดูและเห็นโฆษณาสินค้าผ่าน Social Media และเว็บไซต์ ผ่านเครื่องมือต่างๆ (Devices) เช่น สมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, แท็บเล็ต ไปพร้อมๆ กับการเห็นโฆษณาสินค้าทางทีวี
หากสินค้าหรือแบรนด์ใดๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อ (connect) กับคนกลุ่มนี้ ควรสื่อสารอยู่ในช่วงเวลา 9 โมงเช้าเป็นต้นไป แต่ไม่ควรเกิน 3ทุ่ม ซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนและลดการบริโภคสื่อใดๆ
Insight# 5: คนวัยเก๋า ไม่ยึดติดแบรนด์เก่า
คนกลุ่ม 50 + เป็นกลุ่มที่มีเหตุมีผลในการจับจ่าย จะเลือกสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเอง โดยไม่ได้ยึดติดอยู่กับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง
การเลือกสินค้าและบริการใดๆจะดูรายละเอียด คุณสมบัติ และความคุ้มค่าเงิน โฆษณาที่แสดงถึงผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์ชัดเจนจะได้รับความสนใจมากกว่าโฆษณาที่เน้นแต่ตัวพรีเซนเตอร์
การศึกษาครั้งนี้ ชี้ประเด็นให้เห็นว่าการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อมัดใจกลุ่ม 50+ นั้นไม่ยาก เพียงแต่ต้องเข้าใจ insight ของผู้บริโภคกลุ่มสำคัญนี้ ซึ่งนับวันจะมีขนาดใหญ่ขึ้น (volume) และเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่สูงด้วย (value)
สรุปวิธีมัดใจผู้บริโภควัย 50 +
1. S Socially Connected พวกเค้าไม่ปิดสังคม แถมยังใช้หลายสื่อทั้ง offline และ Online เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมิตรภาพและความสัมพันธ์จะดึงความสนใจกลุ่มนี้ได้ดี
2. I Independent , not egocentric เปิดรับสิ่งใหม่ แต่ต้องมีอินเทรนด์มาก รู่ว่าตัวเองต้องการออะไร ดังนั้นต้องสื่อสารมีเหตุผล มีที่มาที่ไป
3. L Leisure, not lazily laid back ไม่ต้องความเร่งรีบ เข้าใจกระแสแต่ไม่ตามกระแส ธุรกิจท่องเที่ยวหรือกิจกรรม ทีช่วยเปลี่ยนบรรยากาศจากหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมายาวนาน จะได้รับการตอบรับที่ดี
4. V Value-oriented แม้ว่าเปิดรับสิ่งใหม่ แต่ยังเคารพกติกา มารยาท และ ขนมธรรมเนียมประเพณีเดิม การสื่อสารที่ทำให้เห็นคุณค่าของวิถีปฏิบัติที่ดีงาม จะเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ได้
5. E Experience but not old “แก่” เป็นคำห้ามใช้ในสินค้าหรือโฆษณาเด็ดขาด หรือเอาอายุมาตั้งชื่อสินค้า
6. R Relaxed not Retired สินค้าที่ให้ความผ่อนคลายทั้งกายและใจจะตอบสนองความต้องการกลุ่มนี้ได้ดี สินค้าสุขภาพและความงาม มีโอกาสเติบโตอีกมาก เช่น วิตามินช่วยบำรุงสมอง กระดูก สายตา ช่วยให้นอนหลับลึก เป็นต้น และควรมีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยัน
[xyz-ihs snippet=”LINE”]