บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด – Kantar Worldpanel หรือ KWP ผู้นำด้านการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเชิงลึก ที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคที่มีอัตราการบริโภคสูง หรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods)
ด้วยการนำเสนอการวิจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคที่มีการซื้อจริง โดยดำเนินการในรูปแบบ คอนซูเมอร์ พาแนล (Consumer Panel) ที่เน้นที่ตัวผู้บริโภคเป็นการใช้ฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างขนาดใหญ่ ในลักษณะเป็น “ครัวเรือน” ให้ความสำคัญทั้งผู้บริโภคที่เป็นคนเมือง และ เขตต่างจังหวัด ในจำนวนที่กว้างขวางที่สุด และในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถใช้เป็นตัวแทนแสดงผลพฤติกรรมการซื้อของประชากรทั่วประเทศ กว่า 22.2 ล้านครัวเรือน โดยวิธีการนั้นจะเป็นการเก็บข้อมูลจาก “ตะกร้าสินค้า” ที่ผู้บริโภคทำการจับจ่ายจริง และนำมาวิเคราะห์ประมวลผล ด้วยดัชนี CRP หรือ Consumer Reach Point ซึ่งเป็นอัตราการตัดสินใจเลือกซื้อจริงของสินค้านั้น ๆ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของกันตาร์ เวิร์ลดพาแนล พร้อมให้บริการข้อมูลวิจัยอันทรงคุณค่านี้ ในรูปแบบสมาชิกผ่านเครื่องมือ “WPO” (Worldpanel Online) แบบ 24 x 7 ที่ล้ำหน้า ทั้งหมดนี้ เป็นเครื่องมือที่ กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล ได้พัฒนาขึ้นเองเพียงรายเดียวในตลาด
มร. คาเร็ต อิลิส Commercial Director เปิดเผยถึง ข้อมูลวิจัย “พฤติกรรมการจับจ่ายของเหล่านักช็อป สินค้า FMCG พร้อมปัจจัย และผลกระทบต่อการเติบโต และแนวทางการทำตลาดในอนาคต ”
กันตาร์ ชี้ 6 ปัจจัยหลัก ที่ทำให้ตลาดสินค้ากลุ่ม FMCG ถดถอย และ พฤติกรรมเหล่านักช็อป ส่งผลต่อการปรับตัวครั้งใหญ่ของเจ้าของสินค้า และ วงการค้าปลีก
มร. คาเร็ต อิลิส เปิดเผยว่า “6 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาด FMCG สำหรับระเทศไทยและอาเซี่ยน เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง คือ Decelerating Growth– การเติบโตในอัตราที่ช้าลง, Fewer shopping Trip – ความถี่ในการออกไปจับจ่ายน้อยลง, Traditional Trade – A Refuge การค้าแบบดั้งเดิม, The Convenient Factor สะดวกซื้อ – ปัจจัยหลัก , E-Commerce อี – คอมเมิร์ช และ The Multi-Channel Shopper ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากหลายช่องทาง
มร. คาเร็ต เปิดเผยถึงสภาวะทางการตลาดของกลุ่มสินค้า FMCG ในช่วงเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาทั้งในตลาดเอเซีย และ ตลาดประเทศไทย ว่า “อัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั้งของอาเซี่ยน และ ตลาดประเทศไทย ตกลงถึง 50% ตั้งแต่ปี 2013 – 2015 โดยตกลงในสถิติ 10%, 5.1% และเหลือ 4.6% ในปี 2013, 2014 และ 2015 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราการเติบโตนี้ ไม่ได้ตกเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นการตกต่ำทั้งตลาดเอเซีย โดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นเขตในตัวเมืองหรือเขตนอกเมืองในพื้นที่ต่างจังหวัด อีกด้วย นับได้ว่าเป็นสถานการณ์ตลาด FMCG ที่ตกต่ำถ้วนหน้า
ผู้บริโภคเมินสินค้าพรีเมี่ยม และแพ็คใหญ่ ส่วนสินค้าแพ็คเล็ก สินค้าโปรโมชั่น ยอดพุ่ง พฤติกรรมบริโภคสินค้าหลากหลายช่องทาง (Multi Channel Shoppers) สร้างความลำบากใจในการทำตลาดให้กับเจ้าของแบรนด์
จากผลการศึกษา และ ผลสำรวจของ กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล – Kantar Worldpanel อัตราการเติบโตที่ตกต่ำในรอบ 3 ปี นี้ มาจากปัจจัยหลัก คือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไม่มั่นคง จึงเกิดความลังเลในการใช้จ่ายเงิน นอกเหนือจากผลกระทบของ พฤติกรรมการบริโภค และ พฤติกรรมของเหล่านักช็อป ที่มีทางเลือกมากขึ้นกับช่องทางการซื้อที่หลากรูปแบบ มากยิ่งขึ้น เช่น การเน้นในการจับจ่ายเฉพาะสินค้าที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าเกรดพรีเมี่ยมลดลง เลือกซื้อสินค้าที่เป็นแพ็คเล็กมากกว่าสินค้าที่เป็นแพ็คเกจใหญ่ ๆ นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนการซื้อ หรือ ใช้จ่ายด้วยความระมัดระวังมากยิ่ง ๆ ขึ้น ที่สำคัญที่สุด คือ ความถี่ หรือ จำนวนทริป ในการออกไปจับจ่ายลดลง หรือเรียกได้ว่า นาน ๆ จึงจะออกไปใช้จ่ายสักครั้ง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าที่มีโปรโมชั่นที่น่าสนใจ โดยโปรโมชั่น ที่ผู้บริโภคชอบ คือ สินค้าที่ให้อินเซ็นทีฟ ต่าง ๆ การลดราคา แถมของฟรี ให้พรีเมี่ยม จับฉลากชิงโชค แถมหลายชั้น เลือกซื้อได้หลายอย่างตามชอบ จึงทำให้กลุ่มสินค้า FMCG ที่มีโปรโมชั่น ได้รับการตอบรับและมียอดขายดีอย่างต่อเนื่อง
ร้านค้าโชว์ห่วยยิ่มร่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลเป็น “ขาขึ้น” ของช่องทางร้านสะดวกซื้อ โชว์ห่วย และซุปเปอร์ฯรายย่อย แต่เป็น “ขาลง” ของช่องทางค้าปลีกขนาดใหญ่
ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค และ เหล่านักช็อปดังกล่าวที่เปลี่ยน ไป ที่เน้นความสะดวกเป็นหลัก ตลอดจน ปัจจัยด้านงบประมาณที่จำกัด และ ราคาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ส่งผลโดยตรงต่อช่องทางจัดจำหน่าย กลายเป็น “ขาขึ้น” ของช่องทางขนาดเล็กในทุกด้าน โดยช่องทางที่ได้รับการตอบรับสูงสุดในสภาวะเช่นนี้ คือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านโชห่วย และ ซุปเปอร์รายย่อย (CVS, PVS and Non-Chain Super) โดยมีสถิติจำนวนทริปที่เข้ามาจับจ่ายสูงขึ้นเป็นเท่าตัว เลยที เดียว คือ เติบโต จาก 7% เป็น 15% จากปี 2007 – 2015 ประกอบด้วย เซเว่น อีเลฟเว่น, เทสโก้ เอ็กเพรส, แฟมิลี่ มาร์ท 108 ช็อป และ มินิ บีกซี ขณะที่ ช่องทางขนาดใหญ่ แบบ ไฮเปอร์ มาร์เก็ต และ ซุปเปอร์ มาร็เก็ตที่เป็น เชน กลายเป็น “ขาลง” ทุกด้าน ทั้งด้าน สูญเสียส่วนแบ่งจำนวนลูกค้าเข้าออกร้านค้า (Traffic) ปริมาณการซื้อต่อครั้ง และ จำนวนกลุ่มสินค้าที่ซื้อ อีกด้วย ยิ่งกว่านี้ ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น ทั้งช่องทางออนไลน์ และ อื่น ๆ
โดย มร. คาเร็ต ชี้ให้เห็นถึงช่องทางจัดจำหน่าย ที่เป็นทางเลือกของผู้ซื้อ มีมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในตัวเมือง ช่องทางที่เหล่านักช็อปนิยม คือ ร้านฟาร์มาซี, ร้านขายสินค้าเด็ก, ร้านสุขภาพและความงาม, ร้านขายสินค้าสัตว์เลี้ยง, ไฮเปอร์ มาร์เก็ต, ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านโชห่วย, ตลาดนัด ช่องทางออนไลน์ และ การขายตรง โดยสถิติเฉลี่ยของเหล่านักช็อปไทยที่เป็นคนเมืองจะทำการเลือกช่องทางเพื่อซื้อสินค้าประมาณ 5.4 ช่องทาง ต่อ ปี ส่วนพฤติกรรมนักช็อปในไทย รวมถึง ชาวอาเซี่ยนนั้น จะเป็นไปในทางเดียวกัน คือ จะมีการซื้อสินค้าผ่านจากหลาย ๆ ช่องทาง ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่อาจจะเลือกซื้อผ่านช่องทางหลัก ๆ เท่านั้น จึงเป็นโจทย์ที่ยาก สร้างความหนักใจให้กับเหล่าเจ้าของสินค้า นักการตลาด และ ผู้ประกอบ ที่จะสามารถทำการโน้มน้าวให้เหล่านักช็อป ตัดสินใจเจาะจงเลือกซื้อสินค้าเฉพาะแบรนด์ตนเอง ดังนั้น การสร้างแบรนด์ จึงต้องใช้การสื่อสารที่ตรงจุด โดยเฉพาะในแง่ของ ความคุ้มค่าเงิน การนำเสนอแพ็คสินค้าในขนาดที่เหมาะสมตรงตามความต้องการ ราคาสมเหตุผล และ การนำเสนอ สินค้ารวมแพ็ค ที่โดนใจผู้บริโภค มร. คาเร็ต ชี้แนะ
มร. คาเร็ต เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “บริษัท กันตร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด – Kantar Worldpanel (Thailand) เป็นบริษัทหนึ่งในเครือ WPP ซึ่ง WPP นี้ เป็น เอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลก สำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ มีบริษัทในเครือมากกว่า 100 บริษัท กระจายอยู่ทุกทวีป ที่ล้วนเป็นบริษัทผู้นำระดับโลกที่มีความเชียวชาญเฉพาะด้านต่าง ๆ ทั้งสิ้น อาทิ เอเจนซี่ผู้นำระดับโลกด้านโฆษณา, ด้านสื่อสารการตลาด, ด้านการวางแผนและบริหารสื่อ, ด้านการวิจัยตลาดและผู้บริโภค, ด้านประชาสัมพันธ์ ตลอดจน ด้านอื่น ๆ ที่อยู่ในหลากหลายธุรกิจ
กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล – Kantar Worldpanel ได้สั่งสมผลงานและประสบการณ์มานานากว่า 60 ปี กระจายการให้บริการในประเทศที่มีศักยภาพกว่า 55 ประเทศทั่วโลก ทั้งในรูปแบบสำนักงานสาขาของบริษัท และ ลักษณะพันธมิตรธุรกิจ ด้วยข้อมูลวิจัยอันทรงพลัง เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทำให้กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล – Kantar Worldpanel ได้รับความไว้วางใจในการใช้บริการข้อมูลวิจัยดังกล่าว จากองค์กรชั้นนำมากกว่า 600 บริษัททั่วโลก เพื่อนักการตลาดในประเทศที่สนใจข้อมูลบทวิเคราะห์ รวมถึงข่าวสารต่างๆ หรือ อยากปรึกษาข้อมูลด้านการบริการ คลิ๊ก www.kantarworldpanle.com มร. คาเร็ต กล่าวปิดท้าย