ปัจจุบันผู้คนหลายพันล้านคนต่างก็มีโทรศัพท์มือถือและกล้องที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยเหตุนี้เองการใช้งานรูปภาพจึงเริ่มเข้ามาแทนที่ตัวอักษรมากขึ้นเรื่อยๆผู้คนสื่อสารกันผ่านรูปภาพ และใช้รูปภาพเพื่อที่จะส่งต่อประสบการณ์เกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัว เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าจะถูกถ่ายทอดผ่านแพลตฟอร์มที่มีการเล่าเรื่องด้วยภาพ
ในทวีปเอเชีย อัตราการเข้าชมเว็บไซต์ผ่านมือถือ เพิ่มขึ้นกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบปีต่อปี ผลสำรวจจาก eMarketer พบว่าในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย ผู้คนได้ใช้เวลากับสมาร์ทโฟนมากกว่าสื่ออื่นๆ ทั้งหมด รวมถึงโทรทัศน์ด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่าทำไมแพลตฟอร์มที่ใช้งานบนมือถือเป็นหลักอย่างอินสตาแกรม ถึงเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้
แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดบนแพลตฟอร์มที่เน้นรูปภาพ มักจะแชร์รูปภาพที่เล่าเรื่องราว สร้างความเชื่อมต่อทางความรู้สึก และนำเสนอประสบการณ์รูปภาพที่น่าสนใจ ในฟีดผู้ใช้งาน นักการตลาดไม่จำเป็นต้องใช้เงินมหาศาล เพื่อลงทุนกับการถ่ายภาพหรือโปรดักชั่น เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและนักกิจกรรมจำนวนหลายพันรายได้สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีความประณีต และดึงดูดความสนใจ โดยใช้เพียงการปรับแต่งภาพและใส่ฟิลเตอร์ธรรมดาบนโทรศัพท์มือถือของพวกเขาเท่านั้น
โซเชียลมีเดียในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงช่องทางการสื่อสารเท่านั้น แต่ผู้บริโภคยังใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อค้นหาสินค้าและบริการใหม่ๆ อาจกล่าวได้ว่าอินสตาแกรมได้รวบรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันไว้มากที่สุด และมีส่วนร่วมสูงสุดอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถยนต์ แฟชั่น อาหาร การออกกำลังกาย กีฬา การท่องเที่ยว ดนตรี และภาพยนตร์
ผู้บริโภคต้องการค้นหาแรงบันดาลใจผ่านรูปภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่ถูกนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะมาจากเพื่อนๆ คู่อริ หรือแบรนด์สินค้าก็ตาม ตราบใดที่คอนเทนต์เหล่านั้นดึงดูดและน่าสนใจ นี่คือช่องทางที่ทรงพลังสำหรับแบรนด์ต่างๆ ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า ลองคิดวิเคราะห์ดู ลูกค้าของคุณต้องการให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่พวกเขาจะได้รับ เพียงแต่คุณต้องเสาะหาวิธีการดึงดูดความสนใจของพวกเขาจากฟีดอย่างเหมาะสม
พอล เว็บสเตอร์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาแบรนด์อินสตาแกรม แห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก แนะนำสิ่งที่คุณควรจะระลึกไว้เสมอ เมื่อจะเปิดตัวแคมเปญโฆษณาบนอินสตาแกรม มีดังต่อไปนี้
1. เล่าเรื่องราวให้น่าสนใจ (Storytelling):ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานบนอินสตาแกรม คือการเล่าเรื่องราวผ่านภาพ รูปภาพและวิดีโอที่ดีสามารถเสริมสร้างผลลัพธ์ และเข้ากันกับประสบการณ์การใช้งานโดยรวมของแพลตฟอร์ม คุณต้องแน่ใจว่าฟีดของแบรนด์นั้น รวบรวมรูปภาพที่อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์เดียวกัน โดยการมองแอคเคาท์ของคุณ ให้เปรียบเสมือนภาพใหญ่หนึ่งภาพ จะเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการโพสต์รูปมากมายที่กระจัดกระจายไม่เข้ากัน จัดการแอคเคาท์ของแบรนด์ให้มีรูปแบบและสไตล์ที่สม่ำเสมอ และตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของแบรนด์
2. นำเสนอความเป็นแบรนด์:ควรจะควบคุมการสื่อสารของแบรนด์ให้มีความสม่ำเสมอผ่านแคมเปญต่างๆ โดยการสร้างองค์ประกอบต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กันผ่านรูปภาพและวิดีโอที่โพสต์ เช่น การใช้โทนสีที่สื่อถึงแบรนด์ การจัดวางองค์ประกอบภาพ หรือสไตล์ของรูปภาพ ที่จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่จดจำมากขึ้น และอย่าลืมที่จะกล่าวถึงแบรนด์อย่างแนบเนียน @airasia และ @chobaniau เป็นตัวอย่างแอคเคาท์ที่นำเสนอความเป็นแบรนด์ได้อย่างดี
3. เป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน:ระลึกถึงเป้าหมายทางการตลาดของคุณไว้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณต้องการจะเพิ่มจำนวนการติดตั้งแอพพลิเคชั่น หรืออัตราการคลิกไปยังเว็บไซต์ของแบรนด์ ต้องการจะเพิ่มยอดขายออนไลน์ หรือเพียงแค่สร้างการรับรู้ของแบรนด์ โฆษณาที่ดึงดูดต้องมาจากคอนเซ็ปต์ที่แข็งแรง และตอบวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างการรับรู้ของแบรนด์ การคลิกไปยังเว็บไซต์ หรือการติดตั้งแอพ ล้วนแล้วแต่ต้องการคอนเซ็ปต์ที่สร้างสรรค์และเป็นไปตามเป้าหมายของแคมเปญ เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน คุณจะสามารถวัดผลการตอบรับของแคมเปญได้ง่ายขึ้น
ประการสุดท้าย คุณต้องค้นหาสิ่งที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณมากที่สุด ทดลองทำสิ่งที่แตกต่าง และสนุกไปกับมัน ผมไม่สามารถบอกได้อย่างเต็มปากว่า คุณควรจะใช้เวลา ความทุ่มเท หรือใช้เงินลงทุนกับสิ่งใดมากที่สุด หากแต่การวิเคราะห์ผลลัพธ์ในแต่ละแคมเปญ จะเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ TNS Research บริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ สนับสนุนวิธีการข้างต้น เนื่องจากจากการทำสำรวจผู้ใช้งาน Instagram ในประเทศไทยจำนวน 500 คน กลุ่มอายุ 18-34 ปี พบว่า สำหรับเรื่องแบรนด์จะเข้ามาโฆษณาบน Instagram ผู้ใช้งานไม่กังวลแต่อย่างใด แต่หากแบรนด์จะเข้ามา โฆษณาหรือคอนเท้นท์ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ โพสหรือโปรดักส์ต้องเป็นสิ่งที่พวกเขาสนใจ และ ต้องใช้รูปความละเอียดสูงเพื่อดึงดูดความสนใจ
สถานการณ์ปัจจุบัน
-ปัจจุบัน Instagram ในประเทศไทยมีผู้ใช้งาน(Instagramer)กว่า 7.1 ล้านคน (Active User) ต่อเดือน (Instagram ทั่วโลกมีผู้ใช้งานประมาณ 400 ล้านผู้ใช้) โดย 83% เป็นกลุ่มอายุ 18-34 ปี ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่ยังมีอายุน้อย มีการศึกษาสำเร็จในระดับมหาวิทยาลัย และมีกำลังซื้อสูงกว่าผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนชาวไทยทั่วไปถึง 1.5 เท่า และประชากร Instagramer สัดส่วนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (59%)
– ในแง่การใช้งาน Instagram อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ จุดประสงค์ของการใช้งาน คือ 1.ค้นคว้าหาแรงบันดาลใจ 2. เปิดโลกทัศน์จากการเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ที่น่าสนใจ 3.แบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยว 4.ค้นหาข้อมูล และอัพเดทเทรนด์ใหม่ล่าสุด นอกจากนี้ 91% ของอินสตาแกรมเมอร์
– 35% ของผู้ใช้
– 59% เผยว่าพวกเขาได้รับรู้ถึงแบรนด์
ปัจจุบัน Instagram เปิดให้บริการด้านโฆษณาแล้ว โดยรูปแบบของโฆษณา (Advertising Solutions)บน Instagram แบ่ง 3 ประเภท คือ 1. รูป (Photo) 2. วีดีโอ (Video) 15-30 วินาที 3. ภาพเรียงต่อกัน (Carousel)