HomeDigitalสุดพลิกล็อค JAS-TRUE คว้าใบอนุญาตคลื่น  900MHz จับตาวงการโทรคมนาคมไทยจะไปทางไหน?

สุดพลิกล็อค JAS-TRUE คว้าใบอนุญาตคลื่น  900MHz จับตาวงการโทรคมนาคมไทยจะไปทางไหน?

แชร์ :

4g

จากความได้เปรียบที่เหมาะกับภูมิประเทศของประเทศที่เหมาะกับคลื่น 900MHz ที่มีความยาวคลื่นทำให้ส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่าเหมาะกับการทำตลาดในต่างจังหวัด การประมูลคลื่น 900MHz จึงกลายเป็นการประมูลประวัติศาสตร์ทำลายสถิติโลกในหลายแง่มุม และในด้านราคาก็ติดอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยประมูลกันทั้งสิ้น 198 รอบ ใช้เวลาทั้งสิ้น 65 ชั่วโมง 55 นาที (ไม่รวมเวลาพัก) ในที่สุดคลื่น ล็อตที่ 1 ก็ตกเป็นของ JAS Mobile ด้วยราคา 75,654 ล้านบาท ส่วนTRUE เป็นผู้คว้าสัญญาณคลื่นความถี่ในชุดที่ 2  ไปในราคา 76,298 ล้านบาท รวมกสทช.ได้เงินเข้ารัฐ 151,952 ล้านบาท

ปากกาแทบหมดร้าน โดนหักเกลี้ยง!

จากผลที่ออกมากลายเป็นความพลิกล็อคของวงการโทรคมนาคมไทยอย่างยิ่ง จากเดิมที่คาดการณ์กันว่า AIS น่าจะคว้าคลื่นความถี่ชุดนี้ไปได้อย่างน้อย 1 ล็อต เพราะเป็นเจ้าตลาดมีความเป็นไปได้ที่จะบริหารให้ถึงจุดคุ้มทุนง่ายที่สุด กับล็อตที่ 1 น่าจะเป็นของ DTAC เนื่องจากอยู่ใกล้คลื่นสัญญาณเดิมของตัวเองที่ 850MHz จึงน่าจะมีความได้เปรียบในการเชื่อมโยงสัญญาณมากที่สุด รวมทั้ง TRUE ก็เพิ่งประมูลคลื่นสัญญาณ 1800MHz ไปได้หมาดๆ จนมีสัญญาผูกมัดในเรื่องการชำระเงินอยู่แล้ว กับตอนนี้ TRUE ก็มีช่องสัญญาณมากพอที่จะทำให้แข่งขันในตลาดได้อยู่แล้ว ส่วน JAS ซึ่งการประมูลครั้งที่แล้วออกจากการแข่งขันที่ตัวเลขราวๆ 38,000 กว่าล้านบาท ประกอบกับการที่ส่งทีมผู้บริหารเข้าร่วมประมูลเพียงแค่ 3 คน ที่สำคัญคือ นายใหญ่ พิชญ์ โพธารามิก ไม่ได้เข้าร่วมประมูล จึงเป็นที่คาดการณ์ว่า JAS น่าจะถอดใจเป็นรายแรกด้วยซ้ำ เพราะเงินทุนไม่น่าจะหนาพอ ยิ่งเมื่อได้สัญญาฯ คลื่นมาแล้วยังต้องลงทุนอีกมากมายทั้งเรื่องเสาสัญญาณ และ Shop หน้าร้าน ไปจนถึงการตลาดอื่นๆ แต่กลายเป็นว่าเกมนี้ JAS ไม่ได้มาเล่นๆ และการที่ซีอีโอไม่เข้าประมูลเอง เป็นการกลบไต๋ครั้งใหญ่ที่พอจบเกมก็ตื่นตะลึงกับงบในมือของ JAS กันไปหมด

ในขณะที่ AIS ออกจากการประมูลที่ตัวเลข 75,976 ล้านบาท นั่นแปลว่าเพดานที่ทีมผู้บริหารของ AIS มีอยู่ในใจคือ เคาะไปจนกว่าจะถึง 76,000 ล้านบาท และถึงแม้ว่าจะสามารถกลับไปเคาะประมูลล็อตที่ 1ได้อีก เพราะงบยังไหว แต่ก็แสดงให้เห็นแน่นชัดว่าสนใจแค่ล็อตที่ 2 เท่านั้น ส่วน DTAC ที่ครั้งที่แล้วก็อกหักจากคลื่น 1800MHz มาแล้ว หยุดตัวเลขที่ 70,180 ล้านบาท ดังนั้นตัวเลขสำหรับคลื่นล็อต 1 ที่ DTAC คาดการณ์ไว้คงอยู่ที่ราว 70,000 ล้านบาท เมื่อเกินไปจากนี้จึงหยุด กลายเป็นว่า JAS และ TRUE คว้าคลื่น 900MHz ไปครอง

สถานการณ์แต่ละรายตอนนี้

รูปการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะดูเหมือนว่า DTAC พ่ายแพ้การประมูลทั้ง 2 ครั้งซ้อน แต่ความจริงแล้วถ้าหากว่าประเมินศักยภาพจริงๆ ของ DTAC จะพบว่ามีคลื่่นอยู่รวม 50 MHzไล่ตั้งแต่ 850, 1800  และ 2100MHz แต่อย่างไรก็ตามคลื่นบางส่วนจะหมดสัญญาณในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งไม่มีใครรู้ได้ว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นในวงการโทรคมนาคมไทย แล้วถ้าแบรนด์อื่นต้องการเขี่ย DTAC ออกจากตลาดจริงโดยการกดดันให้ราคาพุ่งสูงขึ้นไปอีก ฝรั่งจะยังสู้ไหม? หรือจะถอดใจในตลาดเมืองไทยแล้วไปลุยที่พม่า ซึ่งการแข่งขันยังไม่รุนแรงเท่า แต่การที่ DTAC พลาดการประมูลซ้ำสอง สิ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่ในตอนนี้ก็คือ การกู้วิกฤติศรัทธาของกองเชียร์ ลูกค้า พนักงาน ตลอดจนผู้ถือหุ้น ความจริงแล้ว DTAC เป็นผู้ให้บริการที่ใช้ 4G ได้รายแรกในเมืองและตอนนี้ก็ยังมีจำนวนคลื่นเพียงพอ ปีหน้าเมื่อทุกรายเข้าสู่การให้บริการ 4G เต็มรูปแบบจริงๆ จังๆ DTAC คงต้องใช้การตลาดตอกย้ำเรื่องนี้ให้หนักแน่นขึ้น

AIS ถึงแม้ว่าจะเป็นเจ้าตลาด แต่คลื่นที่มีอยู่ตอนนี้เป็นคลื่นความถี่สูง 1800MHz เหมาะกับการทำตลาดในเขตเมืองที่ประชากรหนาแน่น แต่อาจจะส่งสัญญาณระยะไม่เทียบเท่าคลื่น 850 หรือ 900MHz ดังนั้น AIS ซึ่งจากเดิมจุดแข็งคือเรื่องคุณภาพสัญญาณตั้งแต่โฆษณาสมัยนิโคล เทริโอ้เป็นพรีเซนเตอร์ ตอนนี้เมื่อมาถึงยุค 4G กลับกลายเป็นว่า AIS ไม่มีคลื่นสัญญาณที่เหมาะกับการทำตลาดต่างจังหวัด แต่อย่าเพิ่งมองข้ามเจ้าตลาด ด้วยจำนวนฐานลูกค้าและงบประมาณที่มี อาจมีการลงทุนเพิ่มเติมหรือเซอร์ไพร์สในโมเดลธุรกิจอื่นๆ ตามมาก็เป็นได้

เจ้าสัว TRUE  ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีคลื่นในมือมากที่สุดรวมแล้ว 55Mhz ครบทั้ง 4 คลื่น 850, 900, 1800, 2100MHz  แต่ก็แลกมากกับต้นทุนสูงลิ่วเพราะต้องจ่ายเงินค่าคลื่นที่ได้รับมาทั้ง 1800  กับ 900MHz งานนี้ถูกใจกองเชียร์ แต่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายคงมีปาดเหงื่อกันบ้างละ

น้องใหม่แต่หน้าเก่า JAS สำหรับผู้บริโภคทั่วไปอาจไม่คุ้นชื่อ แต่ถ้าบอกว่า 3BB ต้องร้องอ้อ! กันแน่ๆ ยังไม่นับธุรกิจอื่นของกลุ่ม โพธารามิก เช่น ช่องทีวีดิจิตอล MONO แต่การที่คว้าคลื่น 900MHz มาได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อต้องนำมาบริหารต่อ เพราะว่า JAS เป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่ถ้าหากว่าจะลงทุนตั้งเสาสัญญาณเองก็นับว่าต้องลงทุนอีกมหาศาลหลายแสนล้าน หรือใช้วิธีการเช่าเสาสัญญาณจากผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งถ้าเป็นเอกชนด้วยกันเต็มตัวอย่าง AIS, DTAC, TRUE อาจจะเป็นเรื่องยาก(ยากแต่อย่าคิดว่าไม่สามารถเกิดขึ้น) หรือจะหันไปพึ่ง TOT, CAT แล้วติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม ไปจนถึงการจับมือกับเอกชนรายอื่นใน Business Model อื่นๆ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อ JAS ได้มาแล้วจะบริหารอย่างไรต่อไป ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามเมื่อ JAS เป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในมุมของผู้บริโภคก็คือ “ความคาดหวัง” ว่าจะมีผู้เล่นรายใหม่ในตลาดเมืองไทย แล้วกลายเป็นทางเลือก นอกจากนี้อาจเกิด “สงคราม” ราคาที่ผู้ใช้งานจะได้ใช้ดาต้าคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง และถ้าหากว่า JAS จะทำตลาดด้วยตัวเองจะใช้แบรนด์ใด

บทสรุปของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยยังต้องจับตาดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ JAS ประกาศแผนธุรกิจว่าคลื่นที่ได้มาจะนำไปบริหารอย่างไร

ก็ได้แต่ขอว่าเม็ดเงินตั้ง 151,952 ล้านบาท จะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติ และในอีก 15 ปีข้างหน้า เมื่อประมูลคลื่น 900MHz มูลค่าการประมูลจะเริ่มต้นที่ราคานี้ทันที และในตอนนั้นรัฐก็จะได้เงินก้อนใหญ่จากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมหาศาลอีกครั้ง เราๆ ท่านๆ ในฐานะประชาชนชาวไทยทั้งหลาย เมื่อเอกชนลงทุนไปขนาดนี้ ก็คงจะต้องมีแนวทางการตลาดมากระตุ้นการใช้งานของเราเต็มที่ ใช้โทรศัพท์มากไม่ว่า แต่ก็ขอให้ใช้แล้วเกิดประโยชน์สูงสุดก็แล้วกัน ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต IoT(Internet of Thing) ที่จะเชื่อมโยงไลฟ์สไตล์และความสะดวกสบายทั้งหลายเข้าด้วยกัน หรือ Digital Economy การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีดิจิตอลเป็นตัวขับเคลื่อน เกิดการหมุนเวียน ค้าขาย ตลอดจนอาชีพใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์


แชร์ :

You may also like