HomeDigitalมาแรง 10 เทรนด์ E-Commerce เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2016

มาแรง 10 เทรนด์ E-Commerce เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2016

แชร์ :

ecommerce-acommerce-thailand-2016aa

ในงาน EcommerceIQ  ซึ่งจัดโดยบริษัท aCommerce และ บริษัท Google ประเทศไทย สะท้อนภาพวงการอีคอมเมิร์ซ (Ecommerce)  ภายในงานเล่าถึงว่า จากความสำเร็จของประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอยู่ในช่วงที่เรียกได้ว่าเป็น ยุคทอง ของ Ecommerce ปัจจุบันการช้อปปิ้งออนไลน์ นับเป็นเพียงร้อยละ 1 ของการค้าเท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะเติบโตเป็นเลขสองหลักภายในอีก 4-5 ปีข้างหน้า

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ด้วยประชากรทั้งหมด 600 ล้าน – สองเท่าของจำนวนประชากรในสหรัฐ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มที่จะเติบโตเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดอับดับสามของโลก รองมาจากจีนและสหรัฐฯ

มองย้อน  Ecommerce ปี 2015

ผู้ประกอบกิจการ Ecommerce ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น ภูมิภาคหรือระดับโลก จะ พัฒนาตัวเองเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น อย่างเช่น ในประเทศอินโดนีเซีย บริษัท MatahariMall เปิดตัว เพื่อแข่งกับ Lazada ของ Rocket Internet, ในทางเดียวกัน Lazada ได้คืนตำแหน่ง CEO ให้กับผู้บริหารชาวอินโดนีเซียคนเก่า Magnus Ekbom เพื่อยึดตลาดในประเทศอินโดนีเซีย จากผลประกอบการของบริษัท aCommerce ระบุว่าปริมาณการสั่งซื้อในประเทศอินโดแซง ปริมาณการสั่งซื้อในประเทศไทย สุดท้าย JD ของจีน คู่แข่งของ Alibaba เข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียเพื่อเปิดตัว JD.id ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความกดดันและการแข่งขันในตลาด B2C ที่เพิ่มขึ้นอย่างหน้าตื่นเต้น!

ปี 2015 ยังเป็นปีของการควบรวมกิจการ (M&A) เพื่อที่จะมาแข่งกับผู้ประกอบการรายใหญ่ อย่างเช่น ในเดือนมกราคม บริษัท Whatsnew ควบรวมกับ Moxy เว็บไซต์ไลฟ์สไตล์ในประเทศไทย

นอกจากนี้แล้ว เว็บไซต์ Luxola ถูกซื้อกิจการโดยซุปเปอร์สตาร์ชาวฝรั่งเศส LVMH และ ในเดือนธันวาคม aCommerce ให้สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 20 กับบริษัทยักษ์ใหญ่อายุ 150 ปี DKSH จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนสิทธิการใช้แบรนด์ดังต่างๆจากชาติตะวันตก และโครงสร้างของระบบขนส่งทั่วทั้งภูมิภาค

แต่ปี 2015 ก็ไม่ได้เป็นปีที่ดีสำหรับทุกคน เนื่องจากการแข่งขันของตลาด B2C ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากเกินไป ร้านค้าปลีก แฟชั่นกลุ่ม Paraplou ปิดธุรกิจในเดือนตุลาคม หลังจากที่ประกอบการมาได้ 2 ปี (บริษัทนี้เคยมีการระทุน1,500,000 เหรียญสหรัฐ) เนื่องจากบริษัทขาดโฟกัสและเงินทุนสนับสนุน

ในเดือนมีนาคม SingPost และผู้ค้าโทรศัพท์มือถือ Trikomsel ของอินโดนีเซีย ประกาศการเข้าร่วมหุ้นส่วนธุรกิจกัน แต่ทว่า 3 เดือนหลังจากนั้น ก็มีรายงานความล้มเหลวด้านการเงินของบริษัทสื่อสารดังกล่าว และถัดมาในเดือนธันวาคม Group CEO ของ SingPost อย่าง Wolfgang Baier  ก็ได้ถูกไล่ออกอย่างกระทันหัน

ถ้า 2014 เป็นปีของการระดมทุนในการสร้างธุรกิจ Ecommerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2015 เป็นปีที่เราเห็นการเติบโตและการแข่งขันของนักธุรกิจชาว Ecommerce ที่ดุเดือด

ต่อจากนี้ เราจะมาแชร์การคาดการณ์เกี่ยวกับตลาด Ecommerce ที่จะเกิดขึ้นในปี 2016 ข้อมูลเหล่านี้เราได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารธุรกิจ Ecommerce รายใหญ่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เช่น Lazada, MatahariMall, L’ Oreal และอื่นๆ) เรารวบรวมทั้งข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่เดือนมกราคม 2015 ถึงเดือนธันวาคม 2015

10 เทรนด์ Ecommerce  ในปี 2016

1. Brand.com จะเป็นเทรนด์ใหม่

พัฒนาการของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเริ่มจากรูปแบบธุรกิจแบบ P2P และ C2C กลายเป็นธุรกิจแบบ B2C และพัฒนาต่อยอดกลายเป็น Brand.com ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐ Craigslist, eBay and Amazon เคยเป็นเว็บไซต์อันดับต้นๆ ของเหล่านักช้อปออนไลน์ แต่ตอนนี้กระแสของคนเหล่านั้นเริ่มไปที่เว็บไซต์ของแบรนด์โดยตรง อย่างเช่น Nike และ J.Crew ในประเทศจีน เหล่านักช้อปย้ายจาก Taobao Tmall และ JD ไปเว็บไซต์ market place และแบรนด์ไซต์ อย่างเช่น Estee Lauder, Burberry และ Coach

ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังพัฒนาตามรูปแบบที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และเติบโตขึ้นเรื่อยๆแบบก้าวกระโดด เรามีเว็บไซต์รูปแบบ P2P (เช่น OLX ) C2C (เช่น Rakuten , Tokopedia , Shopee ) B2C (เช่น Lazada , Zalora , MatahariMall ) และ Brand.com (เช่น L’Oreal , Estee Lauder ) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาในเวลาที่สั้นมาก

ขณะนี้ เราเห็นแบรนด์ต่างๆ ก้าวเข้ามาสู่ตลาดออนไลน์อย่างรวดเร็ว แม้แต่ Unilever ประเทศไทยยังสร้างแผนก Ecommerce ขึ้นมาโดยเฉพาะ และกำหนดเป้าหมายรายได้จากตลาดออนไลน์ที่เขาควรจะได้ในปี 2016

มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจอะไรที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ aCommerce ประกาศการร่วมมือกับ DKSH บริษัทตัวแทนจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ที่ให้บริการการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับแบรนด์ใหญ่อย่างเช่น P&G, Unilever และ Johnson & Johnson

ความร่วมมือครั้งนี้แสดงถึงความต้องการที่จะเข้าสู่ตลาด Ecommerce ของแบรนด์ต่างๆที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นผ่าน Marketing Place หรือผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง

ecommerce acommerce omni channel unilever estee lauder

2. เมื่อช่องทางการซื้อขายแบบผสมผสาน (OmniChannel) เกิดขึ้น จะสิ้นสุดยุคของ Ecommerce และเหลือเพียงแค่ Commerce

นี้คือสิ่งที่ Paul Srivorakul Group CEO ของ aCommerce กล่าวเมื่อ บริษัท Singpost ประกาศสร้างห้างสรรพสินค้าในอนาคตที่รวมการซื้อของออนไลน์และออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน นี่คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของรูปแบบการซื้อขายแบบผสมผสาน ซึ่งเราจะได้เห็นห้างสรรพสินค้าในรูปแบบใหม่ในประเทศสหรัฐและประเทศจีนในเร็วๆ นี้

การสร้างช่องทางซื้อสินค้าแบบผสมผสานนี้คือสิ่งที่ผู้ขายต้องการเพื่อที่จะช่วยขยายธุรกิจไปในช่องทางต่างๆ แต่ปัจจุบันตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเน้นสร้าง Ecommerce แต่เพียงอย่างเดียว

ในปี 2016 เราจะเห็นทั้งผู้ค้าออฟไลน์เข้ามาในตลาดออนไลน์ และผู้ค้าออนไลน์เข้าไปในตลาดออฟไลน์ โดยที่สาเหตุหลักของการเข้ามาในตลาดออนไลน์คือ ปัจจุบันมี market place หลากหลายและมีผู้ให้บริการ Ecommerce แบบครบวงจรมากขึ้น

สำหรับธุรกิจ B2C การขยายไปในตลาดออฟไลน์ช่วยให้การส่งสินค้ารวดเร็วขึ้น ยกตัวอย่างเช่นบริษัทขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเวียดนาม Nguyen Kim (บริหารงานโดย Central Group) สามารถส่งสินค้าให้ผู้บริโภคได้ภายใน 4 ชั่วโมงเนื่องจากมีร้านค้าออฟไลน์กระจายอยู่ในหลายพื้นที่

เพราะฉะนั้นบริษัท Ecommerce ที่มีร้านค้าออฟไลน์ด้วย อย่างเช่น MatahariMall, Cdiscount และ Central จะมีข้อได้เปรียบมากกว่า เช่น ส่งสินค้าได้ไวกว่าบริษัทที่มีแต่ร้านค้าออนไลน์ ซึ่งในปี 2016 จะมีธุรกิจ B2C ที่จะเข้ามาทำร้านค้าออฟไลน์มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาคอขวดด้านการจัดการและจัดส่งสินค้า

ecommerce acommerce omni channel

3. ธุรกิจ Ecommerce แบบ B2C หาต้องธุรกิจแบบ Nichecommerce เพื่อความ
อยู่รอด

เมื่อปี 2015 เราตั้งสันนิฐานว่าธุรกิจ Ecommerce แบบ B2C คือธุรกิจระยะยาวที่ต้องการการลงทุนมหาศาล และผู้ชนะจะสามารถควบคุมตลาดได้ (winner-takes-all game) เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการ Ecommerce จะต้องมีเงินทุนสูงพอที่จะมาลงแข็งในสนามนี้ (อย่างเช่น Lazada, MarahariMall และ JD) ไม่เช่นนั้นจะต้องพ่ายแพ้ไป (เช่น Paraplao Group)

ในบทความ “Ecommerce is a Bear” ของ Andy Dunn ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเว็บไซต์ Bonobos.com อธิบายความหมายของ winner-takes-all game ของธุรกิจ Ecommerce แบบ B2C และแนะนำทางเลือกสำหรับผู้ที่มีเงินทุนไม่มาก

ทั้งหมดนี้ก็คล้ายกับ “เดวิดกับยักษ์โกไลแอท” ซึ่ง Peter Thiel อธิบายว่า การประสบความสำเร็จในตลาด
Ecommerce จะต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนและมีความแตกต่างอย่างมาก (หลังจากที่ตลาด Ecommerce ในสหรัฐถูก Amazon ครองมาเป็นเวลานาน) อย่างเช่น 1) Proprietary Pricing  – การวางราคาขายที่แตกต่าง เช่น ลดราคา Flash Sale (Gilt Groupe) 2. Proprietary Selection – การมีตัวเลือกที่แตกต่าง (Modcloth, NastyGal) 3) Proprietary Experience – การให้ประสบการณ์ที่แตกต่าง (Rent the Runway, Birchbox) และ 4) Proprietary Merchandise – การมีสินค้าที่แตกต่าง (Warby Parker, Bonobos).

ปี 2016 เป็นปีที่เราจะเห็นรูปแบบ Ecommerce ที่สร้างสรรค์มากขึ้น อย่างเช่น บริษัท Pomelo และ Sale Stock Indonesia จะเริ่มผลิตสินค้าเองเพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเริ่มจากการออกแบบเอง และกำลังขยายไปด้านการผลิตสินค้าด้วย

Moxy สร้างจุดยืนของตัวเองโดยการเป็น “Everything Store” ของผู้หญิง เราอาจจะเห็นการกลับมาของรูปแบบธุรกิจแบบสมัครสมาชิกในร้านค้าขายปลีก เช่น Central ซึ่งได้รับผลมาจากการขายสินค้าให้ลูกค้าชาวต่างชาติ และ Flash Sale แบบ Gilt Group ที่ Central จะเอาไว้ขายสินค้านอกฤดูก็ได้

4.จีนจะเป็นผู้ขับเคลื่อน Ecommerce ระหว่างประเทศ ไม่ใช่ AEC

ถึงแม้สื่อต่างๆจะให้ความคาดหวังกับ AEC ว่าจะขับเคลื่อน Ecommerce ระหว่างประเทศได้ (จากการที่เราคาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว) แต่ AEC จะไม่มีผลกระทบที่สำคัญกับ Ecommerce ในปี 2016

รัฐบาลในแต่ละประเทศยังไม่ร่วมมือมาพัฒนานโยบาย Ecommerce ระหว่างประเทศ เพราะตลาดภายในประเทศยังมีโอกาสเติบโตอีกมากมาย ซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อ Lazada และ MatahariMall เพิ่มการลงทุนใน Indonesia

Ecommerce ระหว่างประเทศ จะถูกคับเคลื่อนโดย “Silk Road 2.0” นั้นคือบริษัทจากประเทศจีนที่จะเข้ามาวางขายสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อขยายอำนาจและตลาดของจีน

ยกตัวอย่างเช่นบริษัท JD บริษัท Ecommerce ที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของจีนได้มาเปิดร้านในประเทศอินโดนีเซียเพื่อเปิดช่องทางขายสินค้าที่มีมากกว่า 40 ล้านรายการ และเพื่อมาแข่งกับกระแสของ MatahariMall และ Lazada ด้วย

นอกจากนั้น Alibaba ยังลงทุนเงินมหาศาลกับ SingPost เพื่อช่วยให้ Alibaba, Tmall และ Taobao สามารถเข้ามาในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ง่ายขึ้น

5. ระบบเก็บเงินปลายทางจะยังเป็นช่องทางจ่ายเงินหลัก ถึงแม้จะมีบริษัทผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน (Third Party Payment)

โอกาสในการสร้างเงินเป็นพันล้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ การให้บริการระบบชำระเงิน สหรัฐอเมริกามี PayPal จีนมี AliPay เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอะไร?

หลายคนอาจจะเข้าใจว่าผู้ที่มีเทคโนโลยีที่ดีที่สุด จะสามารถสร้างระบบชำระเงินที่ดีที่สุดได้ แต่ความจริงแล้ว ผู้ที่มีช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ดีที่สุดจะได้เปรียบมากกว่าปัจจุบัน ภาคธุรกิจต่างเสนอช่องทางชำระเงินของตัวเองด เช่น ธนาคาร (SCB UP2ME), โทรคมนาคม (TrueMoney, PAYSBUY), สื่อ (Line Pay, AirPay by Garena), มาร์เก็ตเพลส (helloPay by Lazada) และ start up อื่นๆ (2C2P, Omise) แต่ยังไม่มีใครสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากพอ เพราะเหตุนี้ การชำระเงินปลายทางด้วยเงินสด จึงเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภค ตามรายงานของ aCommerce อัตราการชำระเงินปลายทางด้วยเงินสดในปี 2015 สูงถึง 74 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 53 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าอัตราของประเทศจีนในปี 2008 ไปแล้ว การเติบโตของอัตราการ

ชำระเงินปลายทางด้วยเงินสดที่ต่อเนื่องแสดงให้ผู้ประกอบธุรกิจเห็นถึงความสำคัญของการมีระบบเก็บเงินปลายทางที่ดี ในที่สุด ผู้บริโภคจะหันมาใช้ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ผ่านบุคคลที่สาม แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เราจะต้องรอให้ใครสร้างระบบที่สามารถเขาถึงผู้ซื้อที่ดีที่สุดก่อน

6. ความล้มเหลวของร้านค้าขายปลีกออนไลน์ ที่ขายสินค้าประเภท FastFashion

ในปี 2016 เราจะเห็นว่า ผู้ขายสินค้าทั่วไป (mass) และสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไว (fast-fashion) อย่างเช่น Zalora พยายามต่อสู้เพื่ออยู่ในตลาดแต่ก็ล้มเหลว และกำลังจะเข้าสู่เว็บไซต์ที่คล้ายกัน เช่น Lazada แทน ใครที่คุ้นเคยกับประวัติศาสตร์ Ecommerce ในจีนจะเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Zalora ในตอนนี้มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับเว็บไซต์ VANCL ของจีนที่ก่อตั้งโดย Chen Nien VANCL ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปี 2009 และสามารถระดมทุนได้ถึง $570 ล้าน และมีการวางแผนจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่สุดท้ายก็หมดความนิยมไป เพราะฉะนั้นการขายสินค้า fashion ให้ประสบความสำเร็จ การสร้างแบรนด์สำคัญมากกว่าการพยายามขายเพียงอย่างเดียว

นอกจากนั้น VANCL ยังถูกโจมตีจากคู่แข่งอย่าง Taobao ที่ขายสินค้าใกล้เคียงกันในปริมาณที่มากกว่าและขายในราคาที่ถูกกว่า หากคุณลองจินตนาการว่า Facebook และ Instagram เป็น Taobao คุณจะเข้าใจอุปสรรคของ Zalora, mono-brand และ mass-fashion รายย่อยอื่นๆที่ยังดำเนินธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หากดูตามความก้าวหน้าของ Ecommerce สินค้าแฟชั่นเริ่มที่จะเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการซื้อของออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่มีกำลังซื้อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ปัจจุบันผู้ขายสินค้าแบรนด์แฟชั่นต่างๆยังมีทางเลือกว่าจะขายสินค้าใน market place ต่างๆ หรือจะขายผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง ทำให้ปัจจุบัน Amazon ซื้อบริษัท Shopbop เพื่อเป็นช่องทางพิเศษสำหรับขายสินค้าพรีเมี่ยมโดยเฉพาะ

7. ช่องทางการโฆษณาใหม่ๆ ที่ออกมาแข่งขันกับ Google และ Facebook

ตลาด Ecommerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ประกอบการกลับมีทางเลือกเพียงไม่กี่ทาง เนื่องจากตลาดนี้ยังขาด  “no tail landscape”  หรือการทำโฆษณาผ่านช่องทางเดิมๆ อย่าง Affiliate Marketing หรือ programmatic display

เมื่อช่องทางในการลงโฆษณามีทางเลือกน้อย ผู้ประกอบการ Ecommerce จึงต้องเผชิญปัญหาการแข่งขันที่สูงในช่องทางที่มีอยู่ เช่น  Google Search, Facebook และ Criteo ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายต่อคลิก หรือ Cost per Click สูงตาม (ขณะนี้เราอยู่ในช่วงที่ Cost per Click สูงที่สุด) ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายการลงทุนทางออนไลน์ที่สูง ผู้ประกอบการบางราย จึงสามารถทำกำไรในช่องทางตลาด offline ได้ดีกว่าตลาดออนไลน์ เหตุการณ์เช่นนี้ Andrew Chen ได้อธิบายไว้ใน “Law of Shitty Clickthroughs”

ในปี 2016 เราจะเห็นบริษัทและนักลงทุนหันมาแก้ปัญหานี้โดยการสร้าง demand-generated platform เพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ประกอบกิจการ Ecommerce นอกเหนือจากแค่ช่องทาง Google และ Facebook  ช่องทางการโฆษณาทางเลือก ได้แก่ Price comparison, coupon site และ cash back site ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อตอบโจทย์ และช่วยจัดพอร์ทช่องทางการโฆษณา 2016 ได้เป็นอย่างดี

8. การส่งสินค้าถึงหน้าประตูบ้านยังคงมีอุปสรรค เพราะบริษัทขนส่งยังล้มเหลวในการรองรับความต้องการ

ในปี 2016 เราจะเห็นผู้ประกอบการอย่างเช่น Lazada (LEX), MatahariMall และ aCommerce ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งของตนเองเพื่อแก้ปัญหาการรองรับปริมาณการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นสูงมากเป็นประวัติการณ์

ปํญหาที่เกี่ยวกับการส่งสินค้า ถ้าแก้ปัญหาไม่ตรงจุดจะกลายเป็นปัญหาคอขวดที่ขัดขวางการเติบโตของธุรกิจ Ecommerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาที่เราเจอในปัจจุบันยังเป็นปัญหาที่บริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น JNEs, Kerry Logistics หรือ DHLs ยังไม่สามารถจัดการได้

ปัจจัยสำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานที่ยังด้อยคุณภาพ หากเทียบกับประเทศจีนที่มีตลาด Ecommerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้แล้ว ประเทศจีนไม่เคยต้องเจอกับปัญหานี้เลย เนื่องจากนโยบายจากรัฐบาลกลางที่ให้ความสำคัญกับการการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนี้เป็นสำคัญ ทำให้เมื่อ Ecommerce เริ่มต้นอย่างเต็มตัว ทุกสิ่งทุกอย่างก็พร้อมมากพอสำหรับการบริการส่งสินค้าถึงบ้านแล้ว

ecommerce acommerce thailand 2016

9. ระบบจัดวางสินค้าให้เหมาะกับช่องทางและผู้บริโภค

ทุกปีบริษัทโฆษณาคาดว่า ระบบเลือกแสดงโฆษณาแบบชาญฉลาด และ ระบบปรับโฆษณาตามความต้องการ ณ ขณะนั้น คืออนาคตของการตลาดออนไลน์ มีเพียงบางคนที่มีความเด็ดเดี่ยวมากพอที่จะคิดว่าว่า ระบบการโฆษณาแบบชาญฉลาดเหล่านั้นแทบจะใช้งานจริงไม่ได้เลยในภูมิภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกเหนือจากสิงคโปร์และมาเลเซีย เนื่องจากการเติบโตของอินเตอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า “no-tail” หรือการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

โอกาสในการสร้างระบบที่ชาญฉลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แท้จริงไม่ใช่กับการแสดงผลการโฆษณา แต่อยู่ในรูปแบบการทำ Ecommerce ด้วยการที่มีความแตกต่างในตลาดออนไลน์ที่สูงมาก ทำให้เกิดความท้าทายของแบรนด์ต่างๆ ในการเลือกว่าช่องทางไหนมีความเหมาะสม และสินค้าประเภทใดที่ควรจะถูกจัดลงไปอยู่ในช่องทางนั้นๆ

ปี 2016 จะเป็นปีที่เราพบกับการเปิดตัวและการพัฒนาของเครื่องมือจัดการช่องทางล้ำสมัย ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้แบรนด์ต่างๆ ทำการผสานหนึ่งเดียวระหว่างการค้าขายแบบออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ยังจะช่วยให้ระบบอัจฉริยะดั้งเดิมต่างๆ มีประโยชน์มากขึ้นด้วย เช่น ระบบการปรับปรุงประสิทธิภาพตามกาล และ การเชื่อมต่อร่วมกับฐานข้อมูลร่วมกับเจ้าอื่นๆ เพื่อการเจาะกลุ่มเป้าหมาย การปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการเข้าถึงบุคคลได้มากที่สุด

 10. ผู้มีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจ Ecommerce จะถูกแย่งตัวด้วยเงินเดือนที่สูงขึ้นมาก

ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่เกิดกับผู้เล่น Ecommerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการขาดแคลนทรัพยากรที่มีคุณภาพ ทำให้การย้ายงานของบุคลากรเพื่ออัพเงินเดือนตั้งแต่ 1.5 – 3 เท่าเกิดขึ้นให้เห็นทั่วไป แน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ตลอด แต่นี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามด้านทรัพยากรในแถบภูมิภาคนี้หลายครั้งเราจะได้เห็นเหล่าคนรุ่นใหม่ไฟแรงแต่ประสบการณ์น้อยกระโดดไปรับตำแหน่งผู้นำในระดับที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่าทักษะและประสบการณ์การบริหารจะยังไม่เหมาะสมก็ตาม ตามที่ Auren Hoffman อดีต CEO ของ LiveRamp ได้พูดไว้ว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรมองหาสำหรับงานแรกของคุณคือการเติบโต เราควรเลือกอาชีพโดยให้ความสำคัญกับการเติบโตมากกว่าเงินเดือน สถานที่ทำงาน lifestyle หรืออะไรก็ตาม

นอกจากนี้ โครงสร้างระบบขนส่งสินค้าของธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้สร้างมาเพื่อรองรับธุรกิจแบบ B2C แต่สร้างเพื่อธุรกิจ B2B เป็นหลัก การที่ธุรกิจเหล่านี้จะหันมาให้บริการ B2C ทำให้ต้องพบเจอกับปัญหา การคืนสินค้า การโทรแจ้งก่อนส่ง และการบริการเก็บเงินปลายทาง

บริษัท Ecommerce ต้องทำความเข้าใจว่า ถึงแม้ตอนนี้จะเป็นยุคทอง แต่ในระยะยาว บริษัทควรพยายามที่จะเก็บบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสูงให้อยู่กับบริษัทไปนานๆ ซึ่งหลายๆ บริษัทจะพยายามสร้างวัฒนธรรมที่น่าอยู่และสถานที่ทำงานที่ดี ยก ตัวอย่างเช่น aCommerce จะทำการย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ ณ สถานที่ที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของ Ecommerce ประเทศไทยอย่าง Emquartier ซึ่งเป็นที่เดียวกับสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคของยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada

[xyz-ihs snippet=”LINE”]


แชร์ :

You may also like