หลังจากเปิดตัวในประเทศไทยนานนับ 10 ปี นี่คือ ครั้งแรกที่เบียร์ CHEERS(เชียร์) หนึ่ง ในแบรนด์เบียร์ของกลุ่มบริษัท ทีเอพี ยกเครื่อง Rebrand ปรับภาพลักษณ์ครั้ง ใหญ่ เพราะอะไร และมีกลยุทธ์อย่างไรบ้าง นี่คือ 8 เรื่องน่ารู้ของการปรับ ตัวของเบียร์ CHEERS
1.เบียร์ CHEERS เป็นเบียร์ที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทย ถือเป็นความภูมิใจหนึ่งของ กลุ่มบริษัท ทีเอพี ที่นำเสนอสินค้าที่เป็นแบรนด์ไทย ใช้วัตถุดิบของไทย และขายในประเทศไทย ด้วยคุณภาพการผลิตระดับเดียวกับที่ผลิตเบียร์ระดับโลกอย่างไฮเนเก้น นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อราว 10 กว่าปีก่อน ก็ไม่เคยมีการปรับภาพลักษณ์มาก่อนเลย
2.เพราะว่าตลาดเบียร์เซกเมนต์ Main Stream เป็นกลุ่มที่มีมาร์เก็ตแชร์สูงสุด มีมูลค่าสูงถึง 129,831.36 ล้านบาท จากตลาดรวมทั้งเซกเมนต์ 139,734 ล้านบาท อีกทั้งเป็นกลุ่มที่น่าจะมีการเติบโตสูงสุด จากพฤติกรรมที่ผู้บริโภคซึ่งเคยดื่มเบียร์ระดับเซฟวิ่งขยับมาดื่มเบียร์เมนสตรีมมากขึ้น ขณะที่เบียร์ CHEERS ยังมีส่วนแบ่งในตลาดนี้น้อยมาก เพราะคู่แข่ง 2 แบรนด์หลัก มีความแข็งแรงทั้งในเรื่องการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างไรก็ตาม CHEERS เชื่อว่ายังมีช่องว่างทางการตลาดเหลืออยู่ โดยการเจาะไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความแปลกใหม่ แต่ยังไม่มีแบนด์ใดตอบสนอง
3.การปรับภาพลักษณ์ของเบียร์ CHEERS ในครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปท์ “Cheers to the World” เชียร์ไทยไประดับโลก มีแผนใช้ Sport Marketing เข้ามาทำกิจกรรมกับผู้บริโภค แต่ตอนนี้ยังไม่เปิดเผยว่าจะออกมาในรูปแบบใด
4.ในการปรับภาพลักษณ์นี้สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคจะเห้นได้ชัดที่สุดคือ Packaging ซึ่งสะท้อนความเป็นเบียร์คุณภาพพรีเมี่ยม โฉมใหม่ มีไดนามิค ที่น่าสนใจ ผ่านกระป๋องทรงสูง ดีไซน์แปลกตา
5.สิ่งที่ถือว่าเป็นไม้เด็ดและสร้างความแตกต่างให้กับเบียร์ CHEERS กับเบียร์แบรนด์อื่นในเซกเมนต์เดียวกันก็คือ “รสชาติ” ซึ่งมีให้เลือก 2 รสชาติหลัก กระป๋องสีฟ้า Regular ราคา 45 บาท มีแอลกอฮอล์ 5% กับ CHEERS กระป๋องสีแดง X-tra ราคา 47 บาท แอลกอฮอล์ 6% และพิเศษสุด Limited Edition ที่จะวางจำหน่ายภายในระยะเวลาจำกัดเพื่อสร้างสีสันให้กับตลาด
6. Limited Edition จะถูกเรียกว่า CHEERS Selection และรสชาติแรกของ CHEERS คือ รส Riceberry กลิ่นหอม นุ่มกว่าปกติ ผสมระหว่างข้าวไรซ์เบอร์รี่ของไทย กับมอลต์จากต่างประเทศภายใต้แพ็กเก็จจิ้งสีดำเข้ม ดูพรี่เมี่ยมและเท่กว่ารสชาติอื่น จำหน่ายในราคา 49 บาท โดยจะวางจำหน่ายแบบ Exclusive ที่ 7-11 แต่อย่างที่บอกว่าลิมิเต็ดเอดิชั่น ดังนั้นจะขายเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น ถ้าอยากลองหรือซื้อเก็บสะสมก็อย่าชะล่าใจ
7.อาศัยการผนึกกำลังกับแบรนด์ที่ใหญ่กว่าในเครืออย่าง “ไฮเนเก้น” ทั้งในด้านมาตรฐานการผลิต ความรู้ความสามารถของบุคลาการ และการเลือกใช้แหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงสุดจากทั่วโลกตามมาตรฐานเดียวกับไฮเนเก้น นอกจากนี้ยังผลิตที่โรงงานเดียวกัน จึงได้ตามมาตรฐานการผลิตระดับโลกเช่นเดียวกัน รวมทั้งการขนส่งและจัดจำหน่าย ก็น่าจะทำเบียร์ CHEERS ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคและช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น
8.ถ้าหากวิเคราะห์ภาพรวมการแข่งขันแล้วการขยับตัวของเบียร์ CHEER ซึ่งถือเป็นน้องเล็กของ TAP นอกจากจะพยายามสร้างยอดขายของตัวเองแล้ว ยังเป็นตัวเตะตัดขาคู่แข่งอีกด้วย ในเมื่อปีที่แล้วมีข่าวเรื่องของการที่เบียร์แบรนด์หนึ่งปรับแพ็กเก็จจิ้งมาเป็นขวดสีเขียว คล้ายคลึงกับ Heineken เจ้าตลาดเบียร์พรีเมี่ยม การจะปล่อยให้คู่แข่งเจาะตลาดตัวเองอยู่ฝ่ายเดียวก็ดูจะง่ายไปนิด CHEERS เลยต้องเป็นไพ่เด็ดทำให้เบียร์ใหญ่อีก 2 แบรนด์ห่วงหน้าพะวงหลังในเซกเมนต์เมนสตรีมบ้างไม่มากก็น้อย