HomePR News‘งานออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม’ ทางออกสังคมผู้สูงอายุไทย แนะผู้ประกอบการเตรียมรับมือตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลง [PR]

‘งานออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม’ ทางออกสังคมผู้สูงอายุไทย แนะผู้ประกอบการเตรียมรับมือตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลง [PR]

แชร์ :

ผู้บริหารและวิทยากรงานออกแบบและผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้ ต้องการการคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนในสังคมที่เปลี่ยนไป” กล่าวโดย มร. ซาโตชิ นาคากาว่า นักออกแบบผลิตภัณฑ์ และผู้ก่อตั้งบริษัท ไตรพอด ดีไซน์ (ประเทศญี่ปุ่น) ผู้ริเริ่มและส่งเสริมแนวคิด Universal Design หรือ การออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม ให้เป็นที่แพร่หลายในทวีปเอเชีย โดย มร. นาคากาว่า ได้รับเชิญมาเป็นวิทยากรพิเศษในงานสัมมนาด้าน Universal Design ซึ่งจัดโดย คูโดส แบรนด์ผู้นำด้านธุรกิจอุปกรณ์ในห้องน้ำคุณภาพสูง ร่วมด้วย อีซูซุ, ซังเอ และ เซกิซุย

การออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม (Universal Design หรือ UD) คือการออกแบบผลิตภัณฑ์รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้อให้ทุกคน ทุกกลุ่มสามารถใช้ได้อย่างเสมอภาคกัน โดยที่ไม่ต้องปรับแต่ง ดัดแปลง หรือออกแบบใหม่เป็นพิเศษ แต่อย่างใด แนวคิดของงานออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม ทำให้มั่นใจได้ว่า ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้บาดเจ็บ รวมถึงคนที่มีข้อจำกัดด้านร่างกายต่างๆ แม้กระทั่งสตรีมีครรภ์ สามารถใช้สิ่งของต่างๆ และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกง่ายดาย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“คอนเซ็ปต์เบื้องหลังของงานออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม คือ ถ้าคุณออกแบบผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงความต้องการที่หลากหลายของผู้คนอย่างแท้จริง คุณก็จะไม่ต้องปรับแต่งหรือดัดแปลงงานออกแบบนั้นในภายหลังเลย งานออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคมจะทำให้ผู้คนที่กำลังประสบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้มีอิสระที่จะเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ลดการพึ่งพาคนอื่นลง และมีโอกาสที่จะไล่ตามความฝันหรือทำตามความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น” มร. นาคากาว่า กล่าว

แนวคิดด้านการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคมมีความสำคัญยิ่งกับการเตรียมพร้อมรับมือสังคมผู้สูงอายุของไทยที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนี้ จากข้อมูลของกรมประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันประชากรสูงอายุของไทยมีจำนวนกว่า 8 ล้านคนแล้ว นับเป็น 13 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด และในอนาคตอีก 20 กว่าปีข้างหน้า ในปี พ.ศ. 2583 ได้มีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรสูงอายุของไทยจะมีมากถึง 17 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ

นายสันติ ศรีวิชาญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด ผู้จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ กล่าวว่า “ในฐานะที่คูโดสเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจและผู้ผลิตอุปกรณ์ในห้องน้ำในประเทศไทย เรามีความพยายามที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมาโดยตลอด และจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย ก็ถือเป็นอีกโจทย์ที่ท้าทายความสามารถของผู้ผลิตและอุตสาหกรรมในประเทศนี้ ประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบรับความต้องการของผู้สูงวัย รวมไปถึงเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีข้อจำกัดด้านร่างกายต่างๆ ด้วย และหากเราลองมองจากอีกมุมหนึ่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ น่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรนี้เป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญ ในการขยายตลาด กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ครอบคลุมถึงคนเหล่านี้ด้วย”

ไฮไลท์ของงานสัมมนา Kudos Universal Design ครั้งนี้ คือการบรรยายในหัวข้อ “Design Thinking for Well Being” (การออกแบบเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม) โดย มร.ซาโตชิ นาคากาว่า กูรูด้าน Universal Design จากญี่ปุ่น ซึ่งเน้นการเรียนรู้แนวคิดของการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม และการนำไปปรับใช้ในงานออกแบบ ร่วมด้วย นายสุทธิพันธ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้ง บริษัท แอท แวนเทจ จำกัด  และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลธิดา เตชวรสินสกุล จากภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลัก 7 ประการที่สำคัญของการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคม คือ

1. ความเสมอภาค (Equitable Use) งานออกแบบนั้นจะไม่กีดกันคน ไม่ว่ากลุ่มใดๆ ออกจากการใช้งาน

2. ความยืดหยุ่น (Flexibility in Use) งานออกแบบนั้นตอบสนองต่อความสามารถและความถนัดในการใช้งานที่หลากหลาย

3. ความเรียบง่าย (Simple and Intuitive Use) ผู้ใช้สามารถเข้าใจการใช้งานสิ่งนั้นๆ ได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ความรู้ หรือทักษะทางภาษาขั้นสูง

4. การรับรู้ข้อมูลแบบมีทางเลือก (Perceptible Information) งานออกแบบนั้นให้เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำกัดว่าสภาวะแวดล้อม หรือประสาทสัมผัสในการรับรู้ของผู้ใช้งานเป็นอย่างไร

5. สามารถทนต่อการใช้งานที่ผิดพลาด (Tolerance for Error) งานออกแบบนั้นได้เตรียมพร้อมลดความอันตรายหรือลดผลกระทบจากการใช้งาน ในกรณีที่เกิดความผิดพลาด อุบัติเหตุ หรือการกระทำที่ไม่คาดคิด

6. ใช้แรงน้อยและไม่เกิดภาระในการใช้งาน (Low Physical Effort) ผู้ใช้สามารถใช้งานสิ่งเหล่านั้นได้อย่างสะดวกสบายและไม่เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า

7. ขนาดและพื้นที่ที่จะให้เราเข้าไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม (Size and Space for Approach and Use) งานออกแบบนั้นมีขนาดและพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการใช้งานและการจัดการ ไม่ว่าขนาดตัว บุคลิกภาพ ท่าทาง หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวของผู้ใช้จะเป็นอย่างไร

ตัวอย่างเช่น ประตูแบบมาตรฐานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแบบลูกบิด หรือแบบดึง-ผลัก ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่ม แต่ถ้าเพียงนำสวิตช์ขนาดใหญ่ไปติดตั้งเพิ่ม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกดเปิดประตูได้ ประตูนั้นก็จะสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้มากขึ้น อาทิ กลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ เป็นต้น นอกจากนี้การนำหลักการออกแบบ Universal Design มาใช้ สามารถนำไปสู่การติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ประตู เพื่อส่งสัญญาณให้ประตูเปิดเมื่อมีคนเดินเข้ามาใกล้ ทำให้ทุกคนทุกกลุ่มสามารถใช้ประตูนั้นได้อย่างเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ คนส่งพัสดุที่ถือกล่องขนาดใหญ่ หญิงชรา ผู้ใช้วีลแชร์ รวมถึงผู้ที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายอื่นๆ ด้วย

“ในโลกของอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตทุกวันนี้ ความเข้าใจและการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนกลายเป็นสิ่งที่ถูกละเลยไป โดยเฉพาะเมื่อต้องลดต้นทุน โดยการผลิตในปริมาณมากๆ และกระจายสินค้าต่างๆ ออกไปให้ถึงผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ได้มากที่สุด เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในสังคมทุกวันนี้ก็ต้องประสบกับปัญหาวุ่นวายในการใช้งานสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ไม่ค่อยสะดวกสบาย ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขา นอกจากนี้ ผู้ผลิตและภาคอุตสาหกรรมได้ละเลยกลุ่มผู้ที่มีข้อจำกัดด้านร่างกายต่างๆ รวมถึงผู้พิการ ปล่อยให้คนกลุ่มนั้นดำเนินชีวิตอย่างยากลำบาก ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะเริ่มนึกถึงและให้ความสำคัญกับผู้คนที่มีข้อจำกัดเหล่านี้ให้มากขึ้น และเพื่อให้แน่ใจว่างานออกแบบต่างๆ นับจากนี้ต่อไป จะเป็นงานออกแบบที่ทำเพื่อคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างแท้จริง” มร. นาคากาว่า กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับปีนี้ คูโดสได้ริเริ่มโครงการประกวดออกแบบก๊อกน้ำ Kudos Faucet Design Award 2016 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ ให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์สังคมในอนาคต โดยหัวข้อที่กำหนด คือ Universal Design หรือการออกแบบเพื่อความเสมอภาคของทุกคนในสังคม นับเป็นครั้งแรกของวงการก๊อกน้ำไทย ที่มีการริเริ่มผลักดันให้มีการนำแนวคิด Universal Design มาใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม


แชร์ :

You may also like