[เก็บตกงานคานส์] ถ้าพูดถึงเทศกาลครีเอทีฟที่คานส์ หรือ ‘Cannes Lions International Festival of Creativity’ คนส่วนใหญ่มักจะตั้งตาคอยการประกาศผลรางวัลจากผลงานเจ๋งๆทั่วทุกมุมโลกที่ส่งเข้ามาประกวดในหลากหลายสาขา ซึ่งปีนี้มีผลงานถูกส่งเข้าร่วมประกวดถึง 43,101 ชิ้นงาน และเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่ปีนี้คนไทยเราก็กวาดรางวัลไปไม่น้อย รวมไปถึงรางวัล Gold Lions ในหลายสาขาด้วยกัน
Cannes Lions จึงนับได้ว่าเป็นเทศกาลที่รวมบุคคลที่สำคัญของวงการโฆษณา การสื่อสารการตลาด สื่อ และนักการตลาด อันเป็นแรงบันดาลใจให้กับวงการโฆษณาเพื่อผลิตผลงานดีๆให้กับวงการ พร้อมทั้งให้ความรู้ อัพเดทข้อมูลและเทคโนโลยีต่างๆ จึงเรียกได้ว่าเป็นเทศกาลที่กำหนดทิศทางของวงการโฆษณาและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโลกของเราด้วยเช่นกัน
แต่ถ้าพูดถึง ‘Young Lions’ หลายๆคนอาจจะไม่รู้ว่าคืออะไร? เกี่ยวข้องและมีความสำคัญกับงานนี้อย่างไร?
อย่างที่บอกไว้ว่า Cannes Lions เป็นจุดกำหนดโลกอนาคตของวงการโฆษณา และ Cannes Lions เชื่อว่า Young Lions เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็น ‘The Next Creative Winner’ และเป็น ‘Future Leader’ ที่มีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์งานที่ดีให้แก่โลก และสามารถเปลี่ยนแปลงโลกโดยใช้ ‘Creativity’ และวิสัยทัศน์ที่แตกต่าง Cannes Lions จึงได้ริเริ่มโปรแกรม Young Lions ขึ้นมา
ในทุกๆปี Cannes Lions จะคัดเลือก Best of the Best จากแต่ละประเทศ (*ซึ่งไทยเองไม่ได้รวมอยู่ในนั้น) เชิญเข้าร่วม Young Lions Academy Competition เพื่อไป workshop ในหลากหลายสาขา โดยกิจกรรมระหว่าง workshop นั้นเป็นการทำงานกันจริงตลอดทั้งสัปดาห์ในงานเทศกาล รับบรีฟ คิดงาน และตัดสินโดยคณะกรรมและลูกค้าจริงๆ แน่นอนว่า Young Lions ที่ชนะก็เปรียบเสมือนได้ Gold Lion ที่จะได้ขึ้นไปรับรางวัลจริงในงาน Awards Ceremony เลยทีเดียว
โดย Mindshare ก็เป็นหนึ่งในเอเจนซี่ที่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ที่ว่านี้เป็นอย่างมาก จึงเปิดโอกาสและส่ง ‘Young Lions’ ในนามของ Mindshare ไปร่วมงานที่คานส์เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสได้แสดงวิสัยทัศน์ มุมมองและแง่คิดที่ได้จากในงาน Cannes Lions โดยเวทีนี้ไม่ใช่เพียงแค่ให้ ‘Mindshare 12 Young Lions’ ได้โชว์ศักยภาพ แต่ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึง Values ทั้ง 3 ของ Mindshare ในด้าน Speed, Teamwork และ Provocation ผ่านการลง field work ในเทศกาลและการทำกิจกรรมร่วมกันของทั้ง 12 ตัวแทนจาก Mindshare ทั่วโลก
“แค่ได้เป็นตัวแทน Mindshare ประเทศไทย ผมเองก็ภูมิใจมากๆแล้ว แต่การชนะและได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 จาก APAC (+ Emerging Countries) และเป็น 1 ใน 12 คน จากออฟฟิศ Mindshare ทั่วโลก ผมถือว่ามันคือความสำเร็จอย่างนึงของผมก็ว่าได้บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าลองคิดว่าเราต้องไปแข่งขันกับประเทศใหญ่ๆ อย่างจีน อินเดีย รวมไปถึง ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่ได้คัดเลือกให้ไปร่วมงานทุกปีอยู่แล้ว จึงเป็นว่าการที่ผมได้รับคัดเลือกครั้งนี้เป็นการประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างนึงของผมเลยก็ว่าได้ ซึ่งผมเองก็เป็นหนึ่งในสองเอเชี่ยนใน Young Lions ที่ได้รับโอกาสนี้”
งานหลักๆ ของ Young Lions จาก Mindshare ก็คือการจับคู่แล้วกระจายตัวไปร่วม workshop ในแต่ละ Panel แล้วหาสิ่งที่น่าสนใจ และ Key Takeaways จากแต่ละ Panel รวมไปถึงการสรุป Key Theme และ Point of View จาก Cannes Lions ของปีนี้เพื่อนำไปเป็นแชร์ให้กับคนทั้งในและนอกองค์กร
นอกจากนี้แล้วสิ่งหนึ่งที่เป็นโอกาสสำคัญอย่างมากและถือเป็นอภิสิทธิ์พิเศษเฉพาะ Young Lions ของ Mindshare ก็คือการได้พบปะพูดคุยกับผู้บริหารของแต่ละองค์กรทั้ง Yahoo, AOL, Twitter, Facebook, Google รวมไปถึง CEO ของ Mindshare Global เองที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม Young Lions ได้ถามคำถาม รวมไปถึงได้แสดงมุมมองและทัศนคติที่แตกต่างอีกด้วย
การได้ร่วมงานครั้งนี้ในฐานะ Young Lions ทำให้ผมได้ย้อนกลับมาดูตัวเองว่า เรายังมีโลกและมุมมองที่เราคิดถึง มีอะไรที่ยังไม่รู้อีกมากมาย และยังมีโอกาสให้เราพัฒนาอยู่อีกเป็นร้อยเป็นพัน ทั้ง ‘Hard Skill’ เองที่ได้จากในงาน Cannes Lions และ ‘Soft Skill’ ที่ได้ทำงานร่วมกับแต่ละคนที่ถือว่าเป็นที่สุดของที่สุด (บางคนที่อยู่ในทีมนี่ถึงขั้นชนะรางวัล Young Lions สาขา Media ของปีก่อน) รวมถึงการได้ร่วมฟัง ร่วมพูดคุย อภิปรายกับกลุ่มคนที่สร้างแรงบันใจให้กับโลกใบนี้
สำหรับผมแล้ว ‘Young Lions’ อายุและประสบการณ์เป็นเพียงมาตรวัด แต่จริงๆ รากฐานของมันอยู่ที่ ‘หัวใจและทัศนคติ’ ตามคำนิยามของ ‘Young Lions’ ที่พร้อมจะเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็กล้าที่จะออกจาก comfort zone และก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง เพื่อที่สร้าง ‘Different Impact’ ให้แก่สังคม เพราะงานโฆษณาที่ดีจริงไม่ใช่แค่วัดเรื่องของ Effectiveness แต่ยังต้องมี ‘Ability to Change the World’ และสร้าง ‘Better Solutions in Future’
3 Key Takeaways จากเทศกาลคานส์ 2016
1.Data-driven Technology ข้อมูลเป็นตัวนำเทคโนโลยี
Big Data ไม่ใช่เป็นแค่ผลลัพธ์ แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของ Creativity ที่ทำให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างโลกของดิจิทัลสู่โลกของ Physical World เป็นที่น่าสนใจที่เพียงไม่กี่ปี เราเห็นเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะปีนี้ Virtual Reality (VR) ถูกยักษ์ใหญ่อย่าง YouTube, Facebook และ Samsung นำมาพูดถึงเป็นอย่างมากภายในงาน เราเองก็คงจะเห็นเทรนด์ของเทคโนโลยีที่มุ่งไปสู่ “Immersive Experience” ในโลกอนาคต แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้น เราได้เห็นการนำความคิดสร้างสรรค์มารวมกับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว จากผลงานที่โดดเด่นอย่าง “The Next Rembrandt” ผ่านการใช้ ‘Big Data’
https://www.youtube.com/watch?v=lLP-VoEEHno&list=PLPTaBtgFecPBuNvrUNu3M1b5OeIkRMNxA
2.Authenticity is the key สร้างสัมผัสได้จริง
‘Authenticity’ เป็นที่พูดถึงตลอดเวลาในปีนี้ ทั้งในแง่ของ ‘Authentic to Yourself’ และ ‘Authentic to Environment’ ที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อการคิดงาน ซึ่งบางทีเราอาจจะต้องหันกลับมาถามตัวเองว่า ‘สิ่งที่เราคิดมีความสำคัญต่อผู้บริโภคของเราจริงๆ หรือเปล่า?’ ทั้งในแง่ Content และ Context ถ้าคำตอบคือไม่ ไม่ว่าอะไร มันก็ขายไม่ได้
ตัวอย่างเคสที่กวาดรางวัลไปไม่น้อยก็คือ Heineken- Brewtroleum
https://www.youtube.com/watch?v=MA1ccIB5Svg&index=8&list=PLPTaBtgFecPAsxOsGjDFbSnhsxEa89BwI
ที่นอกจากจะแก้ปัญหาในด้าน Business ของสินค้าแล้ว แบรนด์ยังสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยเหตุผลที่จะทำให้ผู้บริโภคอยากดื่มเบียร์มากขึ้นอีกด้วย และที่สำคัญไปกว่านั้นแคมเปญนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชาญฉลาดในการสร้างวิสัยทัศน์ในของผลิตภัฑณ์และแคมเปญต่อ ‘Sustainable World’ อีกด้วย
3.The Power of ‘Change’ พลังของการเปลี่ยนแปลง
จริงๆแล้วเป็นอีกหนึ่งวัตถุประสงค์ของวงการโฆษณา ที่ต้องผลักดันให้โลกของเราและมวลมนุษยชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เราจะเห็นหลายๆ งานที่ตอบโจทย์ด้านนี้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 แกน คือ
- Change in Landscape
คือสื่อและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและทำให้โลกของเราพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อกระบวนการคิดงาน โดยเราจะต้องคิดจาก Digital ไปสู่ Mainstream คิดถึง Mobile เป็นแกนสำคัญ และ Internet of Things หรือ IoTs ที่ทำให้เราเชื่อมต่อทุกอย่าง ก็จะพัฒนาไปเป็น Internet of Me (IoM) ที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาให้เฉพาะบุคคลมากขึ้น เพื่อตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน
- Change in Individuals
ในอีกแง่หนึ่งก็คือการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะตั้งรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น เรามักจะได้ยินคำว่า ‘Comfort Zone’ การที่จะก้าวออกจากสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว แต่สิ่งที่ใหญ่กว่านั้นคือเราต้องยอมรับและใช่ชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลงให้ได้
- Change to Better Future
คือสิ่งที่นักโฆษณาและนักการตลาดสามารถสร้างโลกที่น่าอยู่ขึ้นได้ ด้วยการเปลี่ยนวิธีการคิดหรือวิธีการที่เรามองโลก (Stereotypes) เราได้เห็นจากแคมเปญและแบรนด์ต่างๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่อง Brand Commitment และสนับสนุนสิทธิต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างหรือมีผลต่อมวลมนุษยชาติ ตัวอย่างเช่นแคมเปญ 6 Pack Band ที่ชนะ Grand Prix ในหมวด Glass Lions จาก Unilever ที่พูดถึงเรือง Inequality of transgender ในอินเดีย
https://www.youtube.com/watch?v=dAB951vvOPM&list=PLPTaBtgFecPBoz_laiP0GpC8Yua-yBSXY&index=6
———-
ประวัติผู้เขียน
เก่ง หรือ เกริก สถิรวงศ์วรรณ เริ่มสนใจด้านดิจิทัลมีเดียตั้งแต่เป็น Young Talent ของบริษัท mInteraction และเริ่มงานด้านดิจิทัลอย่างเต็มตัวกับ mInteraction ตั้งแต่เรียนจบจากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เอกการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Associate Director, Digital Exchange Planning, Mindshare ซึ่งยังคงทำงานร่วมกับ mInteraction เช่นเดิม โดยรับหน้าที่วางแผนกลยุทธทางการตลาดด้านดิจิทัลให้กับแบรนด์ของยูนิลีเวอร์ทั้งหมด และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหลายๆแคมเปญ ทำคว้ารางวัลทางในประเทศและต่างประเทศมามากมาย ซึ่งผลงานที่โดดเด่นที่หลายคนน่าจะคุ้นตาคือแคมเปญ Flavour of Home #อาหารคือหลักฐานของความรักของแบรนด์คนอร์