HomeSponsoredเมื่อคนขายที่นอนออกมาบอกให้สังคมลุกจากเตียงนอนแต่เช้าตรู่ คุณว่าเขาคิดอะไรอยู่ ?

เมื่อคนขายที่นอนออกมาบอกให้สังคมลุกจากเตียงนอนแต่เช้าตรู่ คุณว่าเขาคิดอะไรอยู่ ?

แชร์ :

lotus bedding

The early bird catches the worms.” หมายถึง นกที่ตื่นเช้ากว่าย่อมได้หนอนก่อน ถ้าหากว่าเป็นการใช้ชีวิตในยุคก่อนคงหมายถึงการตื่นแต่เช้า แล้วลุกขึ้นมาทำงานด้วยความขยันขันแข็ง แต่สำหรับปัจจุบันยังหมายถึง ความได้เปรียบเมื่อเริ่มต้นลงมือทำอะไรก่อนคนอื่นอีกด้วย การเปรียบเทียบที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรมแบบนี้ ถูกนำมาใช้เปรียบเทียบกับความฝัน…การนอน…และการตื่น ในผลงานโฆษณาชุด “Less sleep is more 30 นาทีเปลี่ยนชีวิต”  ที่สร้างสรรค์โดย Lotus Bedding Group แบรนด์ที่นอนที่ขอให้คุณนอนน้อยลง 30 นาทีต่อวัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้เล่าเรื่องความฝันของคน 3 คน 1.หญิงสาวที่อยากพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเองเพื่อหน้าที่การงาน 2. หนุ่มออฟฟิศ ที่อยากมีเวลาให้แม่มากขึ้น แต่งานหนักจนหลายๆ คืนเขาหลับคาชุดทำงาน  3. คุณแม่บ้านที่อยากอวดหุ่นดีๆ เพื่อสามีที่รัก ตอนแรกความฝันของพวกเขาไม่เคยสำเร็จ เพราะมันเป็นแค่ความคิดที่ไม่เคยได้เริ่ม มีความพร้อมแต่ไม่เคยลงมือทำ ดังนั้นที่นอนโลตัส ก็เลยขอให้พวกเขา ตื่นเช้าขึ้น 30 นาที เพราะเพียงแค่ 30 นาที 1 เดือนก็จะมีเวลาทำสิ่งที่อยากทำเพิ่มขึ้นถึง 900 นาที ยิ่งถ้าคิดทั้งปีจะมีเวลาเพิ่มขึ้นราวๆ 10,000 นาทีเลยทีเดียว

ทั้งๆ ที่เป็นแบรนด์ผู้ผลิตและจำหน่ายที่นอน แต่ “โลตัส” กลับขอให้คนนอนน้อยลง 30 นาที ในเชิงรูปธรรมเมื่อคุณนอนน้อยลง 30 นาที ก็จะมีเวลาทำกิจกรรมที่อยากทำ พัฒนาตัวเอง หรือพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างมากขึ้น สิ่งที่แฝงนัยะภายในเรื่องก็คือ “โลตัส” กำลังพยายามกระตุ้นให้ผู้ชมลุกขึ้นมาลงมือทำตามความฝันสักที

Sleepless

คุณทีปกร โลจนะโกสินทร์ ประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทในเครือ Lotus Bedding Group ได้เล่าถึงที่มาของบรีฟในแคมเปญนี้ว่า เขาต้องการสร้าง Brand Love เนื่องจากบริษัท Lotus Bedding Group นั้นเป็นผู้นำด้านการขายที่นอนที่ครองสัดส่วนทางการตลาดมากที่สุดมานานหลายปี

“สิ่งที่ที่นอนโลตัสทำมาโดยตลอด คือผลิตที่นอนที่หลับสบาย…นอกจากผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดแล้ว  สิ่งที่เราตั้งใจทำให้มากไปกว่านั้น และทำต่อๆ ไปในระยะยาว ก็คือการทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งในฐานะผู้นำเรื่องที่นอน  การนอนหลับสบาย รวมไปถึงการใช้ชีวิตให้มีความหมายอย่างมีความสุข ทั้งหมดนี้เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป โดยในส่วนของแคมเปญนี้ ผมอยากให้คนไทยเห็นความสำคัญของการตื่นเช้า เลยลุกขึ้นมารณรงค์ให้คนไทยนอนน้อยลงนิด ตื่นเช้าขึ้นหน่อย เร็วกว่าปกติเพียง 30 นาที แล้วเอา 30 นาทีนั้นมาทำประโยชน์ให้กับตัวเอง ครอบครัว คนที่คุณรัก และสังคมดีกว่าครับ”

คุณทีปกร โลจนะโกสินทร์ ประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทในเครือ Lotus Bedding Group

คุณทีปกร โลจนะโกสินทร์ ประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทในเครือ Lotus Bedding Group

จากโจทย์ดังกล่าวถูกแปลงให้เป็นไอเดียโฆษณา เล่าเรื่องราวที่ดัดแปลงมาจาก Insight ของคนทั่วไป ถึงปัญหาที่พวกเขาต้องเจอ หลังจากเล่าปัญหาแล้วก็นำเสนอ Solution ที่ง่าย ดุจดังเส้นผมบังภูเขา  ตามที่  คุณสันตยา สารลักษณ์ Managing Director & Creative Head แห่ง Beef Brand Agency Co.,Ltd.   ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของไอเดียโดนใจที่ Based on true Story ของเราทุกคน ว่า “Less sleep is more…30 นาทีเปลี่ยนชีวิต เกิดจากความจริงที่เสียดแทงใจทุกคนมาโดยตลอด คือ 30นาทีก่อนตื่นนอนเป็นเวลาที่ทุกคนหวงมากที่สุด ลองมีใครมาปลุกก่อนเวลาเราจะโกรธมาก แล้วคุณเป็นป่ะ…ขอให้ได้ต่อเวลานิดๆ หน่อยๆ ก็ยังดี แต่ถ้าเราพิจารณาดูดีๆ  30 นาทีนั้นไม่ได้มีค่าเลยแม้แต่นิดเดียวเลยนะ ถ้าเราเอามันมานอน แต่มันจะมีค่ามากขึ้นทันทีถ้าเราลุกเอาไปทำประโยชน์อย่างอื่น”

คุณสันตยา สารลักษณ์ Managing Director & Creative Head แห่ง Beef Brand Agency Co.,Ltd.

คุณสันตยา สารลักษณ์ Managing Director & Creative Head แห่ง Beef Brand Agency Co.,Ltd.

Tongta-Film

คุณวิทิต คำสระแก้ว หรือ “อู๊ด” ผู้กำกับ บ.ต้องตาฟิล์ม จำกัด

และงานนี้ยังได้ คุณวิทิต คำสระแก้ว หรือ “อู๊ด” ผู้กำกับ บ.ต้องตาฟิล์ม จำกัด มาพัฒนาไอเดียให้กลายเป็นภาพจริง “ผมว่าประเด็นของภาพยนตร์เรื่องนี้มีประโยชน์ต่อสังคม เป็นแง่มุมหนึ่งที่ทำให้คนฉุกคิดถึงคุณค่าของเวลา ในสังคมที่เร่งรีบ เราไม่จำเป็นต้องช้า แต่เราจำเป็นต้องละเอียดกับการใช้ชีวิต เมื่อได้รับโจทย์จากทางครีเอทีฟ ผมเลือกที่จะใช้วิธีการเล่าเรื่องที่เรียบง่ายที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการเล่าเรื่องแบบ PLOT เพื่อให้คนสนใจกับประเด็นของภาพยนตร์มากกว่าความหวือหวาของภาพยนตร์ ภาพยนตร์มีความตั้งใจที่จะหยิบเอาประสบการณ์ร่วมของคนหลายๆคนมาเล่าเรื่อง โดยผ่านการล้อคำว่า “ความฝัน” โดยในช่วงแรกของภาพยนตร์ เราจะมุ่งเน้นไปที่ความฝันในเชิงเป้าหมายของแต่ละคน แต่ในช่วงท้ายเราหันมาพูดถึงความฝันในเชิงกายภาพ นั่นคือ “การนอน” แบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย คือนอนแล้วไม่ยอมตื่นสักที ซึ่งนั่นเป็นการล้อกับความต้องการของแต่ละคนที่มีความฝันแต่ไม่ยอมตื่นจากความฝัน จึงทำให้เราไม่มีเวลาพอที่จะไปพัฒนาตนเองให้เป็นไปตามความฝัน”

ตลอดเรื่องเล่าได้อย่างน่าติดตาม ทั้งภาพและเสียงเพลงประกอบ  ตอนท้ายโยนก้อปปี้เด็ดเพื่อเชื่อมโยงถึง โปรดักท์ว่า  “ขอโทษ….ที่ทำให้คุณหลับสบาย” จนต้องออกมารณรงค์ ถึงไม่ได้ใส่ประเด็นเรื่องคุณภาพของสินค้าสักนิด แต่ประโยคเดียวก็ทำให้ผู้ชมเก็ทได้เลยว่าหลับสนิทแค่ไหนบนที่นอนโลตัส


แชร์ :