เราทั้งหลายต่างคงเคยได้มีโอกาสเห็นเสื้อยืด (รวมไปถึงแฟชั่นไอเทมและสติกเกอร์ติดท้ายสิบล้อมากมาย) ที่มีหน้าของ “เช กูวารา” (Che Guevara) ผู้นำนักสู้ทางการเมืองจากฝั่งมาร์กซิสที่ปัจจุบันกลายมาเป็นลวดลายบนเสื้อยืดที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก เรื่องราวนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้เราจะพาไปแกะรอยว่าทำไมรูปของเช กูวาราจึงกลายมาเป็นหนึ่งในภาพถ่ายทางการค้าที่มีอิทธิพลมากภาพหนึ่งของโลก
อาจฟังเหมือนคำกระแนะกระแหนแต่ก็เป็นเรื่องไม่ผิดนักหากจะพูดว่าปัจจุบัน ภาพของชายที่สละชีวิตตัวเองเพื่อคอมมิวนิสต์กลับช่วยสร้างรายได้มากมายให้กับเหล่านายทุนจากภาพถ่ายของตัวเขาเอง หาคุณพิมพ์ Che Guevara ลงในอีเบย์จะพบผลลัพธ์สินค้ากว่า 26,000 รายการตั้งแต่ธง เคสไอโฟน ไฟแช็ก กระเป๋าสตางค์ และแน่นอน เสื้อยืด ที่ไม่ว่าจะวัยรุ่นทั่วไปหรือคนดังอย่าง Jay Z ไปถึงเจ้าชายแฮร์รี่ก็ใส่ออกสื่อมาแล้วทั้งนั้น
เรามาเริ่มกันตั้งแต่ที่มาของภาพต้นฉบับ ภาพนี้มีชื่อว่า Guerrillero Heroico ถูกถ่ายโดย Alberto Korda ช่างภาพชาวคิวบาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1960 ไม่เกิน 18 เดือนหลังจากคิวบาถูกสถาปนาขึ้นเป็นรัฐเผด็จการณ์โดย Fidel Castro หลังจากผ่านช่วง 5 ปีของความขัดแย้ง เหตุการณ์ในภาพเป็นพิธีศพที่มีแขกคนสำคัญเข้าร่วมมากมายรวมทั้งเชก็อยู่ในงานนั้น ภาพของ Korda ถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ของกลุ่มนักเคลื่อนไหว Revolución ที่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา การถ่ายภาพครั้งนี้ Korda ไม่ยอมรับค่าจ้างและค่าตอบแทนใดๆ เขามองว่าเป็นการแสดงจุดยืนในฐานะ “เพื่อนผู้ร่วมปฏิวัติ” ด้วยความเต็มใจ
หลังจากนั้นโดยไม่แน่ชัดนักว่าภาพเริ่มไปอยู่ในมือคนอื่นได้อย่างไรบ้าง แต่ที่เด่นชัดเท่าที่มีบันทึกไว้คือมันปรากฏอยู่ในนิตยสารที่มีอิทธิพลอย่าง Paris Match ในปี 1967 ในขณะที่เช กูวารากำลังต่อสู้เพื่อคอมมิวนิสต์ในโบลิเวียร์ และในปีเดียวนั้นเองภาพนี้ก็ถูกทำให้มีชีวิตและชื่อเสียงอีกครั้งโดยศิลปินชาวไอริส Jim Fitzpatrick ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยมีโอกาสได้พบกับเชในไอร์แลนด์ นำภาพถ่ายของ Korda มาทำให้เป็นภาพวาดบนแบ็กกราวด์สีแดงโดยมีแรงขับเคลื่อนจากการเสียชีวิตของเช “ผมสร้างภาพนี้ขึ้นมาในรูปแบบของการเป็นสัญญะแห่งการต่อต้านไปจนถึงการเสียชีวิตของเขา และผมภูมิใจในสิ่งที่เคยเกิดขึ้น” คือข้อความที่ Fitzpatrick ทิ้งไว้ นอกจากนี้ยังใส่ความเป็นตัวเขาลงไปในงาน คือตัว F ที่ไหล่ของเช หลังจากนั้นมีรายงานว่าภาพถ่ายต้นฉบับถูกนำไปใช้โดยกลุ่มนักศึกษาฝรั่งเศสในการประท้วงปี 1968 ไปจนถึงกลุ่มผู้ประท้วงชาวดัชท์ และยังมีศิลปินช่างตีเหล็กนาม Gerard Malanga ที่ปลอมภาพวาดขึ้นมาแล้วไปขายให้กับแกลเลอรี่ในโรมและได้เงินไปมากมาย
รูปของเชถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ต และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนออกห่างไกลจากจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของภาพไปทุกที อย่างที่ Trisha Ziff โปรดิวเซอร์ของสารคดี Chevolution เคยกล่าวไว้ว่า “ทุกวันนี้เราอยู่ในวัฒนธรรมที่การเข้าใจสัญลักษณ์ไม่จำเป็นอีกต่อไป” ความรู้สึกนี้ถูกถ่ายทอดเช่นเดียวกัน ผ่านศิลปิน Shepard Fairey ที่ในปี 1997 เคยตามหาความหมายที่แท้จริงเบื้องหลังภาพถ่ายของ Korda ภาพถ่ายถูกนำไปใช้หาประโยชน์จนไปถึงจุดที่มันไม่มีความหมายอะไรอีกต่อไป และสร้างเวอร์ชั่นล้อเลียนที่มีหน้าของ Andre The Giant’s face เข้ามาแทนที่ ในขณะที่ Bob Marley ก็ถูกนำหน้ามาใช้เช่นเดียวกัน โดยเป็นตัวแทนจากคนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและเป็นที่จดจำ จนกลายมาเป็นตำนานเพลงและนักต่อต้านนายทุน จึงดูเหมือนว่าตั้งแต่ช่วงหลังปี 1970 เป็นต้นมา รูปของเชก็กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของ “ความกบฏที่มีสไตล์” ที่ Bruce LaBruce ผู้กำกับ The Raspberry Reich หนังเกี่ยวกับการปฏิวัติสมัยใหม่ที่มีภาพของเชประดับอยู่เต็มเรื่องไปหมด ให้คำจำกัดความว่า “มันคือการที่ใครบางคนใส่เสื้อยืดเชโดยไม่รู้ความหมาย และไม่มีความคิดรุนแรงด้านการเมืองในหัวสักนิด แต่ใส่ไปเพื่อคิดว่ามันเป็นแฟชั่นล้วนๆ”
การสลับบทบาทของภาพของเชจากบริบททางการเมืองให้ไปเป็นเรื่องของแฟชั่นถูกทำอย่างแพร่หลายจากการที่ภาพถ่ายของ Korda ถูกนำไปใช้ในแบรนด์แฟชั่นมากมาย ทั้ง Gap, Urban Outfitters, Belstaff, Vans หรือแม้กระทั้ง Louis Vuitton รวมทั้ง Elizabeth Hurley ก็มีรายงานว่าเคยคิดจะทำกระเป๋าถือที่มีหน้าของเช กูวาราอยู่บนนั้น Chanel จัดแฟชั่นโชว์ที่คิวบาโดยการจับนางแบบแต่งสไตล์เช โดยสวมหมดเบเร่สีดำ แต่เปลี่ยนจากดาวกลางหมวกเป็นโลโก้ CC แต่ที่แพร่หลายและเห็นได้บ่อยที่สุดคงต้องยอกให้เสื้อยืดที่ใส่กันตั้งแต่ Prince Harry, Johnny Depp and Jay Z ที่เคยแร็พกลางงานว่า “I’m like Che Guevara with bling on”
แม้ว่าจะมีการนำภาพมาใช้อย่างแพร่หลายจนดูเหมือนหน้าเชเป็นเรื่องแฟชั่นล้วนๆ ไม่มีการเมืองผสม แต่คนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ยังคงเข้าใจความหมายของมันดี และอดจะแดกดันไม่ได้ในเรื่องที่คอมมิวนิสต์ถูกใช้ไปเพื่อทุนนิยม เช่น การที่ The Onion เคยขายเสื้อยืดรูปเชกูวารา ใส่เสื้อเชกูวารา และเรื่องล้อเลียนอีกมากมาย
แต่ในปี 2012 แบรนด์ต่างๆ ก็ยุติการใช้ภาพของเชในสินค้าแฟชั่น หลังจากมีจดหมายเปิดผนึกจากมูลนิธิสิทธิมนุษยชนที่กล่าวถึงพฤติกรรมของเชว่าบ้าเลือดและต่อต้านประชาธิปไตย จากการที่เขาเป็นผู้คุมเรือนจำที่ซึ่งศัตรูของการจัดตั้งรัฐใหม่ถูกตัดสินโทษ และยังเป็นตัวแทนของเผด็จการและควบคุมคนกว่าล้านที่ต้องทนทุกข์ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ แน่นอนว่าชีวิตมีหลายแง่มุม คุณจะมองว่าเขากบฏหรือนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพก็แล้วแต่มุมมอง ทั้งหมดนี้คือ ประวัติความเป็นมาของ นักปฏิวัติ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของ Pop Culture ในปัจจุบัน