หลายครั้งที่เรามองไปรอบๆ ตัวก็มักจะพบเจอกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาก่อกวนจิตใจโดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ ภาวะเรือนกระจก นั่นยังไม่รวมผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหากับสังคมส่วนรวมอย่างสภาวะโลกร้อน ที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอย่างที่พวกเราทราบกันดีว่าสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาเหล่านั้นคือ กระบวนการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปมาใช้อย่างไม่คำนึงถึงคุณค่าและโยชน์ที่เเท้จริง และอีกไม่นานทรัพยาการเหล่านั้นก็จะหมดไปในไม่ช้า
ในขณะเดียวกันเราก็ยังมีทรัพยากรที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มนุษย์เราสามารถผลิตขึ้นมาเองได้อย่างเช่น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว จึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจจนนำไปสู่แนวคิด “เศรษฐกิจฐานชีวภาพ” (Bioeconomy) ที่ไม่เพียงจะมาช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมให้เดินเข้าสู่ถนนสายความยั่งยืนได้อีกด้วย
อย่างที่บอกว่า เศรษฐกิจฐานชีวภาพ หรือ Bioeconomy เป็นทางเลือกใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และได้เริ่มถูกบรรจุลงในนโยบายการพัฒนาประเทศในหลายๆ ชาติอย่างเป็นรูปธรรมไม่ว่าเป็น แผนการดำเนินงานและนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy Blueprint) โดยรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือเเม้แต่ การตั้งศูนย์วิจัยและสร้างแผนการดำเนินงานจากการผนึกกำลังขององค์กรต่างๆในสหภาพยุโรป รวมไปถึง กลุ่มประเทศนอร์ดิกที่ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนแผนการสร้าง Bioeconomy (Nordic Bioeconomy Panel)
เพราะเศรษฐกิจฐานชีวภาพ คือการสร้างระบบเศรษฐกิจจากสังคมที่มีความยั่งยืน ด้วยการหยิบเอานวัตกรรมและเทคโยโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่พืชเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปได้เป็นอย่างดี และไม่ใช่แค่เพียงการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพียงเท่านั้นแต่นั้น แนวคิดเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ยังช่วยสร้างโอกาสในทางธุรกิจได้ จากการต่อยอดผลผลิตที่มี สู่การผลิตสินค้าให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ ได้อีกด้วย
อย่างในประเทศไทยเอง เราก็เห็นความชัดเจนในการนำเอาเรื่องของ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ อย่างกลุ่มมิตรผล หนึ่งในองค์กรที่ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่กับความใส่ใจในสังคมมาตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ภายใต้แนวคิด Value Creation ต่อยอดคุณค่า เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของสังคมไทย
สำหรับกลุ่มมิตรผล ต่อยอดคุณค่าวัตถุดิบต้นน้ำอย่างอ้อยสู่ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจวัสดุทดแทนไม้, ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าชีวมวล, ธุรกิจเอทานอล, ธุรกิจปุ๋ย ตลอดจนธุรกิจ Bio-based ซึ่งนำไปสู่การสร้างคุณค่าให้แก่พืชเศรษฐกิจของกลุ่มมิตรผล
ด้วยการให้ความสำคัญในเรื่อง เศรษฐกิจฐานชีวภาพ ของกลุ่มมิตรผลมาโดยตลอด ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลของการเปิดเวทีสร้างสรรค์ Mitr Phol Bio Innovator Awards 2016 นวัตกรรมความคิด พลิกชีวิตสู่อนาคต และเพื่อเป็นการต่อยอดแนวคิด เฟ้นหาไอเดียสร้างสรรค์ที่จะทำให้พืชเศรษฐกิจถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต
สำหรับ โครงการ “Mitr Phol Bio Innovator Awards 2016” นวัตกรรมความคิด พลิกชีวิตสู่อนาคต ประจำปี 2559 เป็นเวทีที่เปิดโอกาส ให้แก่นิสิตและนักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา จนถึงปริญญาโทหรือเทียบเท่า โดยไม่จำกัดคณะและสาขาที่ศึกษาอยู่ สมัครเข้าร่วมโครงการเป็นทีมในสถาบันเดียวกัน ทีมละไม่เกิน 4 คน นำเสนอแนวความคิดที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดคุณค่าให้กับพืชเศรษฐกิจแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยแนวความคิดที่ได้จะต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ 2 ใน 3 ข้อที่จะช่วยส่งเสริมพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ การต่อยอดคุณค่าพืชเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน, การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท
สำหรับน้องๆ นิสิตนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อประลองความสามารถ โชว์ไอเดียสามารถติดตามรายละเอียด ความเคลื่อนไหวของโครงการเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.mitrphol.com/bioinnovator หรือ Facebook : Mitr Phol Bio Innovator Awards และสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 15 พ.ย. 59 นี้ รางวัลและประสบการณ์ดีดีรอทุกคนอยู่