HomeMediaThe New York Times และ Washington Post ก้าวสู่อำนาจสื่อบนโลกออนไลน์

The New York Times และ Washington Post ก้าวสู่อำนาจสื่อบนโลกออนไลน์

แชร์ :

ny-times

The New York Times และ Washington Post เพิ่งทำอันดับแซงหน้า Buzzfeed และ Huffington post ในฐานะของสื่อข่าวออนไลน์ที่มีผู้อ่านมากที่สุด ดูเหมือนว่าอำนาจของสำนักข่าวระดับโลกบนหน้าหนังสือพิมพ์ในโลกออฟไลน์กำลังจะคืบคลานเข้าครอบคลุมออนไลน์แบบจริงจังแล้ว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ The New York Times และ Washington Post  เอาชนะ Buzzfeed และ Huffington post ได้ในแง่ของจำนวนผู้อ่านต่อเดือน ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมายักษ์ใหญ่แห่งวงการสื่อทั้งสองเจ้าเติบโตขึ้นพร้อมๆ กันสู่ตำแหน่งใหม่ของการจัดอันดับโดย The New York Times ขึ้นสู่อันดับที่ 8  และ Washington Post อยู่ในอันดับที่ 9 ของ Top 10

เราลองมาดูกันว่าสื่อใหญ่ 2 รายนี้ ทำอย่างไรบ้าง? 

ช่วงที่ผ่านมา Washington Post วางกลยุทธ์ในการกระจายตัวเองไปอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทำบทความในเฟซบุ๊กให้เป็น Instant Articles ทั้งหมด ซึ่งในเดือนตุลาคมปีที่แล้วเป็นครั้งแรกที่ Washington Post สามารถแซงหน้า New York Time ได้ แต่ก็อยู่ได้แค่สามเดือนและโดนแซงกลับเหมือนเดิมในเดือนมกราคม ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2016 นี้เหมือนเป็นการแข่งขันช่วงชิงของสองเจ้าใหญ่นี้อย่างแท้จริง ซึ่งจุดที่น่าสนใจไม่ได้อยู่ที่ว่าใครจะชนะศึกครั้งนี้ เรื่องน่าสนใจกว่าคือทั้งคู่สามารถทำให้ผู้บริโภคสื่อพอใจได้ในระดับเท่าๆ กัน จากการที่ทั้งสองเจ้าใหญ่สามารถเอาชนะเจ้าถิ่นสุดฮอตของโลกออนไลน์ไปได้

ในขณะที่ The New York Times และ Washington Post สามารถเพิ่มจำนวนผู้ชมบนโลกออนไลน์ได้ถึง 41% และ 54% Buzzfeed และ Huffington กำลังสูญเสียฐานผู้ชมของพวกเขาประมาณ 12% ไปในช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่เจ้าอื่นๆ ก็ได้รับฐานผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเช่นกัน CNN เพิ่มขึ้นมา 23% รั้งอันดับสอง CBS.com ขึ้นมาที่ 17% และ USA Today network ขึ้นมา 11%

สิ่งที่เราพอจะสรุปได้จากเหตุการณ์นี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ชาวอเมริกันจึงเพิ่มความสนใจในการเสพเนื้อหาประเภทข่าวมากขึ้น ทำให้สำนักข่าวรายใหญ่ทั้งหลายได้อานิสงส์ไปเต็มๆ ในขณะที่ก็ต้องยกความดีความชอบให้แต่ละสำนักข่าวเองด้วยที่ฉลาดในการวางแผนเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้รับสื่อท่ามกลางการแข่งขันที่สูงลิ่วพวกเขายังคงพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ CNN, New york Times และ Washington Post ยังพยายามที่จะแทรกตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในยุคแห่งดิจิทัลและพวกเขาทำสำเร็จ

คำถามต่อมาคือแล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับ Buzzfeed และ Huffington post เริ่มกันที่ Huffington post ที่สูญเสียฐานผู้ชมไปถึง 12 ล้านคน ย้อนไปถึงจุดกำเนิด Huffington post เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2005 และเคยมีช่วงที่ได้รับความนิยมสูง แต่ปัจจุบันที่คู่แข่งในโลกดิจิทัลมีมากขึ้นดูเหมือนว่า Huffington post ต้องหาวิธีในการจำกัดความตัวเองใหม่ให้แตกต่างและโดดเด่นขึ้นกว่าเดิม ในส่วนของ Buzzfeed ที่แยกตัวเองออกเป็นสองส่วนคือข่าวสารและความบันเทิง ทำให้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าการทำแบบนี้จะสร้างอิมแพคหรือความแข็งแรงให้กับกลยุทธ์ได้หรือไม่ เพราะจากที่ข้อมูลบอกเรา Buzzfeed เองก็เสียฐานผู้ชมไปกว่า 10 ล้านคน

มีผู้เชี่ยวชาญเคยกล่าวถึงภาวะการนองเลือดของเหล่าบริษัทสื่อดิจิตอลในปีหน้าแต่บางส่วนจะถูกบรรเทาให้เบาลงได้ในปี 2016 นี้ แต่สิ่งที่ยังเป็นข้อสงสัยคือเรื่องของการผสมผสานระหว่างสื่อเก่าและใหม่จะเป็นอย่างไรต่อไป และการจัดอันดับจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดได้บ้าง

ซึ่ง ณ ขณะนี้อันดับหนึ่งยังคงเป็นที่ของ Yahoo/ABC News network ที่มีฐานคนดูมากกว่าอันดับสองอย่าง CNN ถึง 1.5 ล้านคน และจะเกิดอะไรขึ้นกับพาร์ทเนอร์ของ Yahoo/ABC ต่อไป หลังจากพาร์ทเนอร์ได้รวมตัวกันในปี 2011 และร่างข้อเสนอใหม่เมื่อปี 2014 หนทางกลับไม่ค่อยสดใสเท่าที่ควร แต่หลังการปรับกลยุทธ์หลายๆ อย่างเริ่มลงตัวแม้บางครั้งจะร่วงลงข้างทางบ้างและความสัมพันธ์ของผู้บริหารระดับสูงเริ่มตึงเครียด แต่ล่าสุด Yahoo กำลังจะเป็นหนึ่งเดียวกับ Verizon ทำให้หนทางในโลกดิจิทัลนี้ยังคงสดใสและแข็งแกร่งต่อไป ในส่วนของ ABC พาร์ทเนอร์ที่ครองตำแหน่งคู่ Yahoo มีข้อมูลบอกเราว่า ABC เองก็เติบโตได้ด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดีในอัตรา 8% ในขณะที่เมื่อรวมกันกับ Yahoo การเติบโตเพิ่มขึ้น 7% และด้วยฐานผู้ชม 68 ล้านคน ABC น่าจะเป็นอันดับที่ 12 ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่าง Mail online และ Fox digital network

เรายังไม่รู้ว่าในปี 2017 เส้นทางของมหาอำนาจสื่อทั้งหลายจะไปทางไหนต่อ ข้อมูลเท่าที่เราสามารถคาดการณ์ได้ คือ จากจำนวนผู้ชมที่จะบอกเล่าเรื่องราวของตัวท็อปให้เราพอจะเดาทิศทางการขับเคลื่อนในโลกดิจิทัลได้ นั่นหมายความว่า Engagement จะมีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่มันเคยมีในช่วงหลายปีเพราะจะเป็นตัวชี้วัดอนาคตของสื่อใหญ่ๆ ได้เลยทีเดียว นอกจากนั้น Thitd – platform อย่าง Facebook, Snapchat จะยิ่งทำให้การวัดผลนับจำนวนผู้ชมซับซ้อนขึ้นไปอีก สำนักข่าวจึงควรเริ่มมองหาวิธีการในสรุปผลในแบบของตัวเองขึ้นมาเพื่อรองรับ

การแผ่ขยายอิทธิพลจากโลกออฟไลน์สู่ออนไลน์ของสำนักข่าวใหญ่ทั้งหลายอาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกเราว่านักข่าวรุ่นเก๋าก็ยังคงเป็นรุ่นเก๋าอยู่วันยังค่ำ และอาจจะถึงเวลาแล้วที่คนรุ่นเก๋าจะสอนบทเรียนให้หน้าใหม่ๆ ที่เคยครองตลาดดิจิทัลว่าอ่อนแอก็แพ้ไป

Source
แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM


แชร์ :

You may also like