HomeInsightล้วงลึก 10 เทคโนโลยีป้องกัน “โจรกรรมทางการเงิน” ที่คุณต้องรู้ !

ล้วงลึก 10 เทคโนโลยีป้องกัน “โจรกรรมทางการเงิน” ที่คุณต้องรู้ !

แชร์ :

resize-shutterstock_267762455

ในขณะที่เทคโนโลยีทางการเงินรุดหน้าไปไกล สิ่งที่ได้รับการพัฒนาควบคู่กัน คือ “ระบบความปลอดภัย” เพราะเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยในปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆ ใช้ “ไบโอเมตริกซ์” (Biometrics) หรือเทคโนโลยีชีวภาพ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพ และทางการแพทย์ กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ด้วยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และลักษณะทางพฤติกรรม (Behaviors) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลมาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้น โดยนำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่ได้ มีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะบุคคลนั้นจากบุคคลอื่นๆ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

6 เทคโนโลยี “ไบโอเมตริกซ์ทางกายภาพ” (Physiological Biometrics)
ลายนิ้วมือ (Fingerprint) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลโดยใช้ลักษณะเฉพาะของลายนิ้วมือของบุคคลในการระบุตัวตนของบุคคล

โครงสร้างมือ (Hand Geometry) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลโดยใช้คุณสมบัติทางเรขาคณิตของมือเช่นความยาวของนิ้วและความกว้างของมือในการระบุตัวตน

รูปแบบของม่านตา (Retina Pattern) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลโดยใช้รูปแบบของเส้นเลือดในด้านหลังของตา หรือ ลักษณะเฉพาะของดวงตา

ลักษณะของรูม่านตา (Iris Pattern) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลโดยรูม่านตาซึ่งเป็นลักษณะที่พิสูจน์ด้วยเนื้อเยื่อในตาที่เรียกว่า Trabecular meshwork ที่มนุษย์ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในครรภ์มารดา

โครงสร้างใบหน้า (Facial) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลที่ใช้วิธีการจับภาพรูปใบหน้าตามโครงสร้างและส่วนสำคัญ เช่น โครงหน้า คิ้ว ตา จมูก และปากในรูปแบบสามมิติแล้วนำมาคำนวณ เพื่อทำการเปรียบเทียบกับรูปโครงหน้าเดิมที่ทำการลงทะเบียนไว้ในระบบ

ลักษณะใบหู (Ear Shape) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลโดยใช้รูปทรงของหูเพื่อระบุตัวตนของบุคคล

4 เทคโนโลยี “ลักษณะทางพฤติกรรม” (Behavioral Biometrics)
การเดิน (Gait Recognition) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดินของบุคคล

การเซ็นชื่อ (Signature) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลโดยใช้ลักษณะลายเซ็น

การพิมพ์ (Keystroke Dynamics ) การพิสูจน์ตัวตนของบุคคลด้วยลักษณะการพิมพ์ของบุคคลที่แตกต่างกัน

เสียง (Voice Recognition) การยืนยันตัวบุคคลด้วยเสียงพูดที่แต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แทนรหัสผ่าน เป็นนวัตกรรมล่าสุดในการยืนยันตัวบุคคลของภาคธุรกิจการเงินและการธนาคาร

ปัจจุบันเทคโนโลยี Voice Recognition หรือ Voice Biometrics มีใช้ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียในบางประเทศ ขณะที่ประเทศไทย ล่าสุด “ซิตี้ ประเทศไทย” เป็นธนาคารแรกในไทยที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้สำหรับยืนยันตัวตนลูกค้า เพื่อเข้าสู่ระบบธนาคารผ่าน “ซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง”

resize-aw_bd_stage_c2

โดยขั้นตอน เริ่มต้นด้วยการสมัครใช้บริการที่ Call Center ซิตี้โฟน แบงก์กิ้ง 1588 และแจ้งตอบรับการใช้บริการยืนยันตัวตนด้วยเสียง หลังจากนั้นระบบจะทำการจัดเก็บข้อมูลเสียงของลูกค้า (Voice Print) และเข้ารหัสเป็นตัวเลขแบบ Binary Code เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้าเป็น 2 ชั้น จึงไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบเสียงของลูกค้าได้ ทั้งยังสามารถรองรับการพูดภาษาที่แตกต่างกันจากที่ได้บันทึกไว้เมื่อตอนลงทะเบียนยืนยันตัวตนในระบบครั้งแรก

ดังนั้น ถ้าเป็นธุรกรรมการเงินทั่วไป เช่น การสอบถามวงเงิน หรือวันครบกำหนดชำระ ระบบ Voice Biometrics ทำให้ประหยัดเวลาในการเข้าสู่ระบบธนาคารผ่านซิตี้โฟนแบงก์กิ้ง โดยเฉลี่ย 45 วินาที

ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าไม่สบาย เป็นหวัด ทำให้เสียงแหบ ถ้าลูกค้าเพิ่งมีการใช้ระบบยืนยันตัวตนด้วยเสียงพูด 1 – 2 ครั้งแรก เพื่อความปลอดภัย ระบบจะไม่ Verify และการทำธุรกรรมการเงินในครั้งนั้น จะกลับไปสู่วิธียืนยันข้อมูลตัวบุคคลผ่านเจ้าหน้าที่ซิตี้ แต่ถ้าลูกค้าคนนั้นใช้บริการซิตี้โฟนแบงก์กิ้งต่อเนื่อง ตั้งแต่ 3 – 5 ครั้งขึ้นไป ระบบสามารถบันทึกระดับเสียงที่แตกต่างกันในการโทรเข้ามาแต่ละครั้งได้ ดังนั้นถ้าลูกค้าคนนั้นไม่สบาย เป็นหวัด เสียงแหบ ระบบก็ยังคงจับคลื่นเสียงได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ ลูกค้าต้องตอบคำถามเจ้าหน้าที่ซิตี้เพิ่มอีก 1 – 2 คำถาม เพื่อความปลอดภัย

 

Credit Photo (ภาพเปิด) : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like