HomeInsightไขกระบวนการทางจิตวิทยา “Foodstagramming” ทำไมคนถึงชอบถ่ายภาพอาหาร

ไขกระบวนการทางจิตวิทยา “Foodstagramming” ทำไมคนถึงชอบถ่ายภาพอาหาร

แชร์ :

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมใครๆ (อาจรวมถึงตัวเราเองด้วย) ถึงชอบถ่ายภาพอาหารอัพโซเชียล เวลาเราเลื่อนฟีดอินสตาแกรมจะเจอภาพอาหารได้บ่อยมาก เป็นที่มาของแฮชแท็กมากมายที่รวมบรรดาสารพัดเมนูน่ากิน กว่า 400 ล้านภาพ ไม่ว่าจะเป็นแฮชแท็กง่ายๆ อย่าง #food #foodporn #instafood #yummy ไปจนถึงอีกสารพัดแท็กที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรง

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาหารจับจองครองพื้นที่บนโลกโซเชียลมีเดียจำนวนมากเพราะมันเป็นเรื่องที่ง่ายแก่การเข้าถึงสำหรับทุกๆ คน ทั้งยังเป็นวิธีที่ผู้คนใช้บอกเล่าไปยังคนอื่นๆ ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ข้อมูลจากดิจิทัลมาร์เกตติ้งเอเยนซี่บอกเราว่า 25% ของภาพถ่ายอาหารถูกจูงใจโดยความต้องการเผยแพร่เรื่องราวในชีวิตประจำวันสู่สาธารณะ นอกจากนี้การโพสต์ภาพเมนูจานเด็ดยังเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอตัวเองผ่านโลกโซเชียล เพราะภาพของอาหารที่ดูยั่วยวนชวนน้ำลายไหลเหล่านั้นสามารถสร้างภาพลักษณ์ให้คนอื่นๆ มองเราในเชิงบวกได้ รวมไปถึงการต้องการการยอมรับและการมองหาความถูกต้องก็เป็นอีกแรงจูงใจที่เข้มข้น เราจึงได้เห็น 22% ของภาพถ่ายอาหารเป็นภาพที่โชว์อาหารที่ทำเอง เพื่อส่งเสริมความภูมิใจในตัวเอง

#Foodporn = สวดมนต์ก่อนอาหาร?

การถ่ายภาพอาหารถูกมองว่าคล้ายกับพิธีการสวดมนต์ก่อนทานอาหาร ชุดการทดลองที่เผยแพร่ในวิทยาศาสตร์จิตวิทยาบอกเราว่า คนที่สวดมนต์สั้นๆ ก่อนมื้ออาหารนั้น พวกเขามีความสุขกับอาหารมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่แต่เดินมานั่งแล้วกินให้เสร็จๆ ไป การตีความในแง่วิทยาศาสตร์จึงมองว่าน่าจะเกี่ยวกับเรื่องระยะเวลาที่เราใช้ในการสวดมนต์ (หรือการถ่ายภาพ) ก่อนการเริ่มทานอาหาร ที่ทิ้งช่วงออกไป ส่งผลในเรื่องการเพิ่มความพึงพอใจในแต่ละมื้อมากขึ้น

New York Magazine ยังนำเสนอเรื่องราวที่ถูกเผยแพร่ในวารสารการตลาดผู้บริโภค ว่าภาพถ่ายของอาหารก็ทำให้เรารู้สึกว่ามันอร่อย แม้บางครั้งจะเป็นอาหารที่เราไม่ได้ชอบกินเท่าไหร่นัก ดังนั้นการเห็นภาพอาหารที่ดูเฮลท์ตี้ของคนอื่นๆ จึงสามารถกระตุ้นให้เราเชื่อได้ว่าอาหารในภาพนั้นๆ อร่อย

ไม่ถ่ายแล้วเหมือนขาดอะไรไปอย่าง

ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพ็นซิลวาเนีย มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นคาโรลิน่า และมหาวิทยาลัยเยล ลงรายละเอียดในการบริบทของการถ่ายภาพได้ความว่า ภาพที่ถ่ายระหว่างเหตุการณ์ที่เป็นบวก เช่น มื้ออาหารขณะล่องแม่น้ำเจ้าพระยาชมเมือง จะทำให้คนดูภาพมีความสุขไปด้วยมากกว่า นอกจากนี้ชาว Foodstagrammers ทั้งหลายจะคุ้นชินกับการถ่ายภาพอาหารในทุกๆ มื้อ หากไม่ทำจะรู้สึกเหมือนมื้อนั้นไม่อร่อย คล้ายว่าขาดส่วนผสมสำคัญอะไรบางอย่างเลยทีเดียว

EAT, POST, LIKE

ความถี่ในการถ่ายภาพอาหารสามารถเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติในการบริโภคอาหารไปจนถึงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ บางผลวิจัยบอกเราว่ามันทำให้น้ำหนักขึ้นหากเรายึดติดกับการถ่ายภาพเพื่อเรียกไลค์มากเกินไปจนเกิดเป็นการตั้งเสาเอกในใจว่าอาหารแต่ละมื้อคือแม่เหล็กดูดไลค์ชั้นดี ซึ่งเรื่องน่ากลัวคือคนไม่น้อยที่มีความคิดเช่นนี้ ผลสำรวจจาก Business2Community เปิดเผยว่า 23% ของผู้ใช้งานอินสตาแกรมทั้งหมดถ่ายภาพอาหารของพวกเขาเพื่อรวบรวมลงบล็อกหรือ Food diary และน้อยนักที่เมนูที่ปรากฎในภาพจะเป็นผัดผัก หรือซุปบล็อกโคลี่ เพราะส่วนใหญ่แล้วมันเต็มไปด้วยฮอทด็อก โดนัท เบอร์เกอร์ สเต็ก และทาโก้ ล้วนติดหนึ่งในสิบเมนูยอดฮิจบนอินสตาแกรม ซึ่งพิซซ่าเจ้าของตำแหน่งแคลลอรี่มหาศาลที่สุดก็อยู่หนึ่งในสิบนี้ด้วยเช่นกัน

ข้อดีของมันก็มีอยู่เช่น บางงานวิจัยบอกเราว่าพฤติกรรมนี้สามารถช่วยรักษาคนที่มีความบกพร่องทางการบริโภคอาหารเช่นอะนอเร็กเซียให้ดีขึ้นได้ The Atlantic รายงานว่ามีแอคเคาท์มากมายที่เกิดขึ้นโดยเด็กผู้หญิงและสาวๆ ที่มีภาวะเป็นโรคดังกล่าวหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงและต้องการบำบัดตนเอง ที่ลุกขึ้นมาทานอาหารมากขึ้นเพื่อถ่ายภาพลงไอจีเพื่อเก็บไว้เป็นบันทึกฟู้ดไดอารี่ของพวกเธอซึ่งนับเป็นหนึ่งในกระบวนการบำบัด ทั้งยังได้รับระบบความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้าด้วยการกดไลค์รูปภาพที่พวกเธอลง

ครั้งสุดท้ายที่คุณถ่ายภาพอาหารบนโต๊ะคือเมื่อไหร่กัน? ขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้มีภาพถูกโพสต์ขึ้นบนอินสตาแกรมกว่า 2 แสนภาพ และภาพจำนวนมากในก้อนนั้นประกอบไปด้วยอาหารจากทั่วโลก Nathalie Nahai นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า เวลาที่เราโพสต์ภาพอาหารลงบนโลกออนไลน์ เราได้สร้างบรรยากาศแห่งความชิดเชื้อขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะอาหารเป็นภาษาสากลและการแชร์มันออกไปแม้ว่าจะมีเพียงภาพ ก็สามารถทำให้เราผูกพันกับคนอื่นมากขึ้นได้

foodstagramm-infographic

Source

แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM


แชร์ :

You may also like