HomeBrand Move !!3 ยักษ์อสังหาฯ ฟันธงปี ’60 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่รอบ 20 ปีอสังหาฯไทย

3 ยักษ์อสังหาฯ ฟันธงปี ’60 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่รอบ 20 ปีอสังหาฯไทย

แชร์ :

real-estate-2017-trends

เปิดศักราชใหม่เพียงไม่นาน ยักษ์ Developer ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในไทย ต่างทยอยประกาศแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2560 พร้อมทั้งคาดการณ์ภาพรวมในปีนี้มีแนวโน้มสดใส อัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% มีมูลค่ารวม 379,000 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้จะเป็นปีแห่งการปรับและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งวงการอสังหาริมทรัพย์ และผู้ประกอบการ หลังจากปีที่แล้วต้องเผชิญกับภาวะชะลอตัว เป็นผลจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้ตลอดทั้งปีโตเพียง 2% มีมูลค่าตลาดรวม 362,456 ล้านบาท

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

resize-business-plan-2017_press_final_01

resize-business-plan-2017_press_final_02

5 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่วงการอสังหาฯ ไทย

การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นผลมาจาก Developer รายใหญ่ ปรับโครงสร้างองค์กร พร้อมทั้งขยายแนวรบธุรกิจ ด้วยการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งแนวราบ และแนวสูง ครอบคลุมทั้งตลาดบน – กลาง – ล่าง เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตมากขึ้น และกระจายความเสี่ยง ไม่กระจุกโฟกัสแต่เฉพาะตลาดใดตลาดหนึ่ง

หลายบริษัทที่เคยโฟกัสอยู่แต่ตลาดบน ก็ขยาย Portfolio มาทำตลาดแมสมากขึ้น ขณะที่บริษัทไหนเคยเน้นตลาดแมส ก็ขยายมาทำตลาดบนมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผู้แข่งขันในตลาดและผู้ประกอบการ เดิมทีตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทย ประกอบด้วย Developer ทั้งรายใหญ่ กลาง และเล็ก แต่เมื่อปีที่แล้วทั้ง 10 บริษัทใหญ่ เช่น พฤกษา เรียลเอสเตท, แสนสิริ, เอพี ไทยแลนด์, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, แอลพีเอ็น, ศุภาลัย, เอสซี แอสเสท ถือครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็น New High Record ถึง 56% จากมูลค่ารวม 362,456 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะขยับเป็น 60%

หากแยกเป็นเซ็กเมนต์ ตลาดทาวน์เฮาส์ 9 บริษัทใหญ่ ถือครองส่วนแบ่งตลาด 62% / บ้านเดี่ยว 9 บริษัทใหญ่ ถือครองส่วนแบ่งตลาด 63% / คอนโดมิเนียม 13 บริษัทใหญ่ ถือครองส่วนแบ่งตลาด 60%

สาเหตุที่ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัยในไทย ถูก Dominate ด้วยบริษัทใหญ่ เนื่องจากมีปัจจัยเชิงบวกที่เอื้ออำนวยให้สามารถลงทุน Scale โครงการขนาดใหญ่ได้ต่อเนื่อง อย่างโครงสร้างตลาดเงิน ตลาดทุน เช่น การออกหุ้นกู้ ตรงกันข้ามกับผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็ก ที่การหาแหล่งเงินทุนเป็นได้ยากขึ้น อีกทั้ง Project Loan ของธนาคารมีความระมัดระวังมากขึ้น

เมื่อภาพรวมตลาดถูก Dominate โดยยักษ์ใหญ่ ย่อมแสวงหาการเติบโตทั้งด้านรายได้ และกำไร ด้วยการขยายเข้าไปทำตลาดทุกเซ็กเมนต์ ประกอบกับการผนึกกำลังกับพันธมิตรธุรกิจ ทั้งบริษัทในไทยด้วยกันเอง และบริษัทจากต่างประเทศ

resize-business-plan-2017_press_final_04

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ปัจจุบันความต้องการในอสังหาริมทรัพย์ เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และซื้อเพื่อการลงทุนในกลุ่มคนไทย แต่วันนี้มี Demand จากต่างประเทศ เช่น กลุ่มผู้ซื้อชาวจีนที่มาซื้อ Property Sector ในไทย เช่น คอนโดมิเนียม ส่งผลให้ Demand Landscape ในไทยเปลี่ยนแปลงไป

การเปลี่ยนแปลงด้านจุดขาย และรูปแบบการพัฒนาโครงการ – ที่ดิน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินในไทยปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในโซน CBD (Central Business District) ใจกลางกรุงเทพฯ ทำให้การพัฒนาที่ดินและโครงการ เป็นรูปแบบสิทธิการเช่ามากขึ้น

ขณะเดียวกันการพัฒนาโครงการของ Developer จะรุกขยายทั้งในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล และต่างจังหวัด ที่เป็นจังหวัดหลัก เช่น ชลบุรี, ระยอง, ขอนแก่น, เชียงใหม่, ภูเก็ต

การเปลี่ยนแปลงด้านอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางปัจจัยบวกที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโต ในเวลาเดียวกันยังต้องเผชิญกับอุปสรรค หรือปัจจัยเสี่ยง นั่นคือ อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อ Demand ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะการปรับดอกเบี้ยทุก 1% จะมีผลต่อ Demand ลดลง 5 – 8% ทั้งยังทำให้ภาวะหนี้ครัวเรือนของผู้บริโภคระดับกลาง – ล่าง ที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่แล้ว จะมีภาระสูงขึ้นจากการปรับอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ สถานการณ์ภาวะหนี้ครัวเรือนในไทย ยังอยู่ในระดับสูง

resize-business-plan-2017_press_final_05

“ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2560 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คาดว่าจะเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 5% มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 379,000 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนโครงการลงทุนด้านคมนาคมของภาครัฐบาล มูลค่า 1,769,922 ล้านบาท และในปีนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่โครงสร้างทางธุรกิจ การแข่งขันขันของผู้ประกอบการ รมถึงรูปแบบการพัฒนาโครงการ” คุณประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท-พรีเมียม ฉายภาพความเปลี่ยนแปลงในวงการอสังหาริมทรัพย์ในไทย

สอดคล้องกับ คุณณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงปัจจัยสำคัญสำหรับปี 2560 ภายใต้นโยบายใหม่ของสหรัฐอเมริกาที่มีประธานาธิบดีคนใหม่ จะมีบทบาทสำคัญต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกทั้งหมด และจะมีผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ทั้งในระยะกลางและระยะยาว

“มุมมองระยะสั้นสำหรับปีนี้ มี 2 เรื่องสำคัญที่ต้องจับตามอง คือ 1. หนี้ครัวเรือนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก แต่ยังมีสัดส่วนต่อ GDP ที่สูงอยู่ และ 2. อัตราการปฏิเสธให้สินเชื่อจากธนาคาร (bank rejection) และ housing NPL ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ทั้ง 2 เรื่องเป็นความท้าทายต่อการเติบโตของธุรกิจอสังหาฯ ในปีนี้

อย่างไรก็ตามคาดการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้จะเติบโตมากกว่า 5% ด้วย GDP ของประเทศไทยยังมีการเติบโตมากกว่า 3% ต่อปี นอกจากนี้กำลังซื้อของกลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป ยังมีความแข็งแรงอยู่”

จากความเปลี่ยนแปลงของภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในไทย…มาดู 3 กรณีศึกษาการปรับตัวของยักษ์อสังหาฯ จะมียุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจอย่างไรกันบ้าง

“พฤกษา โฮลดิ้ง” ปรับโครงสร้างใหญ่ – ชิงผู้นำเซ็กเมนต์พรีเมียม

กว่า 20 ปีที่ผ่านมา “พฤกษา เรียลเอสเตท” มุ่งเจาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ เซ็กเมนต์ Value หรือตลาดล่าง – กลางมาโดยตลอด ซึ่งเป็นฐานใหญ่ของตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสัดส่วนตลาดกว่า 70 – 80% ของตลาดรวม เมื่อเทียบกับกลุ่มพรีเมียมสัดส่วน 20 – 30% หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท

แต่เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ และสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจมากกว่านี้ จึงต้องขยายให้ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ ทั้งตลาดล่าง – กลาง – บน ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป “พฤกษา เรียลเอสเตท” ได้ปรับโครงสร้างองค์กร เป็น “บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)” และแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท บริหารเซ็กเมนต์ Value คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 60%
2. กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท – พรีเมียม บริหารเซ็กเมนต์พรีเมียม คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 30%
3. กลุ่มธุรกิจใหม่ (New Business) รองรับธุรกิจที่ไม่ใช่โครงการซื้อมาขายไปเหมือนกับการทำโครงการที่อยู่อาศัยอย่างที่ผ่านๆ มา โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้ 10%

ในปี 2560 “พฤกษา โฮลดิ้ง” ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 52,900 ล้านบาท ยอดโอน 50,200 ล้านบาท เติบโตจากปี 2559 อยู่ที่ 19% และ 9% ตามลำดับ

resize-ok-dsc_6846-1

โดยแผนธุรกิจ นอกจากพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลาง – ล่างต่อเนื่องแล้ว ยังได้ขยายแนวรบเจาะตลาดลูกค้าระดับบนมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเป็นตลาดที่พฤกษายังเจาะเข้าไปไม่มากนัก มีสัดส่วนเพียงแค่ 5 – 10% ของพอร์ตโฟลิโอบริษัทเท่านั้น และถึงจะมีฐานตลาดเล็ก เมื่อเทียบกับตลาดกลาง – ล่าง แต่มีมูลค่าตลาดเพิ่มมากขึ้นทุกปี

อีกทั้งโครงสร้างต้นทุนในบางทำเล เช่น ทำเลติดรถไฟฟ้า ราคาที่ดินถีบตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถทำโครงการระดับกลาง – ล่างได้ ประกอบกับเพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะที่ผ่านมาตลาด Value โดยเฉพาะกลุ่มระดับราคาระดับ 3 ล้านบาทลงมา เป็นเซ็กเมนต์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น และกำลังซื้อ ตรงกันข้ามกับเซ็กเมนต์พรีเมียม ยังคงมีศักยภาพการเติบโตดี และไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ มากนัก

“พฤกษาฯ” ตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้กลุ่มพรีเมียมเป็น 30% ภายใน 3 – 5 ปีจากนี้ สอดคล้องกับภาพรวมตลาด

“ตลาดพรีเมียมเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ที่เราจะเข้าไปชิงส่วนแบ่งตลาด และเป็นพื้นที่สุดท้ายที่จะเข้าไปยึดครองให้ได้ ทั้งคอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยว เพื่อทำให้รายได้ของพฤกษา โฮลดิ้งเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปีนี้บริษัทมีแผนเปิดโครงการพรีเมียม 6 โครงการ มูลค่า 9,900 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวสูง 5 โครงการ มูลค่า 8,800 ล้านบาท และแนวราบ 1 โครงการ มูลค่า 1,100 ล้านบาท” คุณประเสริฐ เล่าเป้าหมายธุรกิจพฤกษา โฮลดิ้ง

“LPN” จัดทัพธุรกิจ ขยายแนวรบคอนโดกลาง-บน & โครงการแนวราบ

กลุ่ม LPN จัดทัพธุรกิจครั้งใหญ่ ก้าวสู่ “บริบทใหม่แห่งความยั่งยืน” แบ่งเป็น 2 กลุ่มธุรกิจ คือ

กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Developer) ประกอบด้วย
1. บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ปี 2559 มียอดขายประมาณ 8,500 ล้านบาท และรายได้จากการขายประมาณ 13,000 ล้านบาท ดังนั้นปีนี้เพิ่มการพัฒนาโครงการเจาะกลุ่มลูกค้ากลาง – บนมากขึ้น โดยใน 7 โครงการ จากทั้งหมด 12 โครงการเปิดตัวในปีนี้ เป็นโครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง-บน มูลค่าโครงการรวม 16,000 ล้านบาท เจาะทำเลใจกลางเมือง หรือแหล่งที่อยู่อาศัยที่ยังมีความต้องการซื้อ โดยตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 20,000 ล้านบาท

resize-lpn-year-of-shift-9

resize-lpn-year-of-shift-10

resize-lpn-year-of-shift-11

2. บริษัท พรสันติ จำกัด (PST) มุ่งตลาดแนวราบ เพื่อกระจายฐานธุรกิจ หลังจากปีที่แล้ว มีรายได้จากการขายประมาณ 850 ล้านบาท และยอดขาย 1,400 ล้านบาท ขณะที่ปีนี้มีนโยบายเพิ่มรายได้โครงการแนวราบให้สูงขึ้น เพื่อทดแทนรายได้ของอาคารชุด ซึ่งมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 8 โครงการ โดยมีเป้าหมายยอดขายที่ 2,000 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ที่ 1,500 ล้านบาท พร้อมพัฒนากระบวนการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านคุณภาพ ต้นทุนและเวลาส่งมอบ สำหรับการพัฒนาศูนย์การค้าชุมชน

resize-lpn-year-of-shift-20

resize-lpn-year-of-shift-21

resize-lpn-year-of-shift-23

กลุ่มธุรกิจให้บริการ (Service Provider) ประกอบด้วย 
3. บริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำกัด (LPC) ที่ผ่านมาช่วยเหลือสตรีด้อยโอกาส ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานบริการรักษาความสะอาดและงานบริการชุมชนให้กับชุมชนที่ LPN บริหาร เพื่อสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่สตรีด้อยโอกาส สำหรับปีนี้ ได้เปิดรับงานบริการภายนอกโครงการ LPN จำนวน 20 โครงการ โดยจะขยายกลุ่มพนักงานจากสตรีด้อยโอกาสไปสู่คนพิการและผู้สูงอายุ และการปรับแผนธุรกิจไปสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมแบบเป็นทางการ (Social Enterprise)

4. บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ดูแลงานบริการหลังการขาย ภายใต้กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” ซึ่งเป็นจุดแข็งของแบรนด์ “ลุมพินี” ขณะที่ปี 2560 จะเพิ่มความเข้มข้นด้านกลยุทธ์ในการบริหารชุมชน เป็น “ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย” เพื่อสร้างความสุขของการอยู่อาศัยให้กับชุมชน “ลุมพินี” กว่า 130,000 ครอบครัว ใน 143 โครงการ ขณะเดียวกันจะขยายงานบริหารชุมชนสู่ภายนอก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายไว้ที่ 15 โครงการ รวมเป้าหมายรายได้ประมาณ 520 ลบ.

5. บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด (LPS) ปีนี้ได้แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ “ดร.พร วิรุฬห์รักษ์” แทนกรรมการผู้จัดการคนเดิมที่เกษียณอายุ ซึ่งการปรับเปลี่ยนธุรกิจของบริษัท LPS จะเป็นการ “Transformation” ด้วยการขยายฐานธุรกิจจากเดิมที่เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ให้บริการเฉพาะโครงการของ LPN ไปบริหารการให้บริการครบวงจรสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่ภายนอกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำศักยภาพและจุดแข็งด้าน Product Value ที่มีอยู่มาสร้างประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท

“ปี 2559 บริษัทประสบอุปสรรคที่ส่งผลให้ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยสาเหตุจากทั้งปัจจัยภายใน คือ สินค้าค้างขาย (Inventory) และกลยุทธ์การเปิดโครงการทั้งขนาดและทำเล และปัจจัยภายนอก คือ หนี้สินครัวเรือนและอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของกลุ่มลูกค้ากลางล่าง ในปี 2560 ซึ่งเป็นปีของการเริ่มต้นวิสัยทัศน์รอบใหม่ บริษัทจึงได้กำหนดให้เป็น “ปีแห่งการปรับ” หรือ “YEAR OF SHIFT” ซึ่งจะเป็นการปรับทิศทางในการดำเนินงานของ LPN และบริษัทในเครือทั้งหมด

นับเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ ก้าวสู่บริบทใหม่แห่งความยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะเป็นแนวทางสู่การเติบโตของบริษัทอย่างมั่นคงและยั่งยืนแล้ว ยังสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพของยอดขาย รายได้ และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ บริการ ที่จะสะท้อนกลับไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัทในอนาคตอีกด้วย” คุณทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานคณะกรรมการบริหาร (CEO) บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ฉายภาพการขับเคลื่อนกลุ่ม LPN

“SC ASSET” 4 โฟกัสสำคัญ

อีกหนึ่ง Major Player ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย คือ “SC ASSET” วางแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก สำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุค 4.0 ยุคแห่ง Connectivity ที่โลกเชื่อมต่อกันทั้งหมดด้วยระบบดิจิตอล ภายใต้แผนการเติบโตต่อเนื่อง 3 ปี โดยตั้งเป้าหมายในปี 2562 ทำรายได้เกิน 20,000 ล้านบาท ด้วยแผนยุทธศาสตร์ 4 ข้อคือ

1. top-line growth : แผนยุทธศาสตร์เชิงรุก พัฒนาที่อยู่อาศัยในทุกระดับราคา รักษาฐานผู้นำส่วนแบ่งตลาดของกลุ่ม High-end และ รุกขยายเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของกลุ่ม Mass
2. human-centric innovation : ผสานนวัตกรรมพัฒนา “บ้านรู้ใจ” ในทุกระดับราคา เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุค 4.0
3. top quality : รักษามาตรฐานคุณภาพทั้งสินค้าและบริการ
4. lean : ปรับ process ทั้งภายในและภายนอกให้เป็นระบบ digitization เพื่อความแม่นยำ และคล่องตัว และมีการปรับโครงสร้างองค์กรสำหรับยุค 4.0

resize-chambers-cher_resize

สำหรับในปี 2560 SC มีเป้าหมายรายได้ 14,800 ล้านบาท และยอดขาย 16,000 ล้านบาท เติบโต 38% พร้อมแผนเปิดโครงการใหม่ ทั้งหมด 17 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 27,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรก เปิด 6 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 14,000 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านเดี่ยว 4 โครงการ และ คอนโดมิเนียม 2 โครงการ

ส่วนครึ่งปีหลังเปิด 11 โครงการ เป็นโครงการแนวราบ มูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท ในส่วนอาคารสำนักงานแห่งใหม่ SC Tower ที่ได้รับความสำเร็จ ปัจจุบันมียอดจองครบ 100 % เรียบร้อยแล้ว และพร้อมเปิดดำเนินการในปลายไตรมาส 1 นี้

เมื่อ Big Developer ขยายแนวรบพอร์ตโฟลิโอครอบคลุมทั้งเซ็กเมนต์บน – กลาง – ล่าง ทั้งแนวราบ และแนวสูง ทำให้ผู้บริโภคมี “ทางเลือก” มากขึ้นในการพิจารณาตัดสินใจเลือกโครงการ ไม่ว่าจะซื้อเพื่ออยู่จริง หรือซื้อเพื่อการลงทุน

 

Credit Photo (ภาพเปิด) : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 


แชร์ :

You may also like