เมื่อโลกขับเคลื่อนสู่ยุค 4.0 บทบาทของเทคโนโลยีทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เครื่องบันทึกเรื่องราวหรือความทรงจำของผู้คน อุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้และความบันเทิง การติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลก แม้แต่บทบาทของการเข้ามาดูแลชีวิตและสุขภาพ ในรูปแบบของอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ
ความสำคัญที่ไม่สามารถปฎิเสธได้เหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น ทำให้การขยายตัวและเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมาแรง แซงทุกกลุ่มที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่ในอดีต สอดคล้องกับข้อมูลจาก Visual Capitalist ที่เก็บข้อมูลช่วงไตรมาส 3 ของปี 2016 ที่ผ่านมา พบว่า Top 5 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก ต่างเป็นบริษัทในกลุ่ม Technology Companies ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Apple, Alphabet, Microsoft, Amazon และ Facebook เทียบกับช่วง 10 ปีย้อนหลัง จะมีบริษัทเหล่านี้ อยู่ในลิสต์บริษัทขนาดใหญ่ของโลกเพียง 1-2 แห่งเท่านั้น
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้เส้นทางบนถนนทุกสายมีเป้าหมายที่จะเข้ามาสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ยิ่งทำให้กลุ่มธุรกิจนี้สามารถเติบโตได้ แบบชนิดที่ไม่แคร์เศรษฐกิจในประเทศ ไม่สนเศรษฐกิจโลก เพราะช่วงปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่า กลุ่มอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ยังคงสามารถเติบโตได้สวนทางกับเศรษฐกิจของโลกทั้งใบที่ยังอยู่ในช่วงชะลอตัว สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสดีสำหรับผู้มองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า
รู้จักวิธีลงทุนยุค 4.0
การสร้างความมั่นคงในอนาคต เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก หรือกลุ่มที่เริ่มเข้าใกล้วัยเกษียณเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงมีการพัฒนารูปแบบการลงทุน หรือวิธีหารายได้ใหม่ๆ ขึ้นมาเสมอ ตามบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง ลองมาดูกันว่า คนรุ่นใหม่ยุค 4.0 จะมีรูปแบบการสร้างความมั่นคงให้อนาคตที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง
1. เป็นเจ้าของธุรกิจ ในยุคที่มองว่ามนุษย์เงินเดือนเป็นการใช้ชีวิตบนความเสี่ยง การผันตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงเป็นทางเลือกที่ดี ให้เกิดกระแสเฟื่องฟูทั้ง Startup SME Entrepreneur ประกอบกับการพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้มีเครื่องมือในการเข้าถึงตลาด เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายกว่าเดิม หลายคนจึงเลือกที่จะมุ่งมั่นในการสร้างธุรกิจของตัวเอง
2. Freelancer การทำงานอิสระอาจจะดูสวนทางกับการสร้างความมั่นคง แต่หากสามารถสร้างตัวตนที่ชัดเจนในสายงานนั้นๆ หรือสร้างภาพจำในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะหากมีความสามารถด้านไอที ก้าวทันการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ ก็จะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะสร้างรายได้ที่ดี และมั่นคงได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน
3. Second Job การหาอาชีพเสริม นอกเหนือจากการทำงานประจำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างรายได้และสร้างความมั่นคงของคนบางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการขายของออนไลน์ หรือ Night Market รับจ้างสอนพิเศษ การทำธุรกิจเครือข่าย รวมทั้งการเป็นตัวแทนขายให้องค์กร หรือธุรกิจลงทุนต่างๆ
4. สร้าง Passive Income หรืออีกนัยหนึ่งคือ การใช้เงินทำงาน ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งในกลุ่มคนทำงานประจำ หรืออาชีพอิสระ ที่ต่างนำรายได้บางส่วนมาลงทุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ออกดอกผลตอบแทนงอกเงยดีกว่าการเก็บออมในธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหุ้น ซื้อประกันควบการลงทุน หรือการนำเงินไปลงทุนผ่านกองทุนต่างๆ ซึ่งหากเลือกลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ก็จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงมากขึ้นด้วย
สำหรับการสร้าง Passive Income เมื่อเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมที่จะทวีความสำคัญมากขึ้น เติบโตมามากและจะยังโตได้อีกมาก เท่ากับเป็นโอกาสดีในการลงทุนสร้างรายได้ให้เราได้ยาวๆ ลองมาดูบริษัทเทคโนโลยีดังๆ อย่าง Amazon ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจ E Commerce ที่เริ่มต้นจากธุรกิจขายหนังสือ ในโรงรถเล็กๆ มาวันนี้กลายเป็น Marketplace ทรงพลัง ที่ไม่ว่าผู้บริโภคต้องการอะไรก็เลือกที่จะเข้าไปดูใน Amazon.com จนกลายเป็นบริษัทระดับโลกที่มีความแข็งแกร่ง มีการพัฒนานวัตกรรมเข้ามาขับเคลื่อนการเติบโต รวมทั้งสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจอยู่เสมอ ล่าสุดยังครองอันดับ 18 ใน Fortune 500 Companies ปีที่ผ่านมาอีกด้วย
หรือแม้แต่ Tesla Motors ผู้พลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ต้นแบบ ทำให้เกิดเป็นโมเดลใหม่ๆ และสามารถสร้าง New S Curve ให้กับอุตสาหกรรมได้อยู่เสมอ ซึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้ทั้ง 2 ธุรกิจระดับโลกนี้ เติบโตและแข็งแกร่ง คือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาและก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเทคโนโลยีชื่อเสียงคุ้นหูอีกมากมายที่เติบโตทำกำไรดี มีนวัตกรรมต่อยอดไม่รู้จบ เช่น Netflix Alibaba Paypal ยิ่งถ้าเป็นเทคโนโลยี AI Big data ผู้ใช้ก็มีมากขึ้น ธุรกิจอื่นๆ ก็ต้องการเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้พัฒนาธุรกิจมากขึ้น นั่นเป็นเหตุผลให้หุ้นบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้โตไว แม้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
อยากเป็นเจ้าของบริษัทเทคโนโลยี ทำยังไงดี
คำตอบคือซื้อหุ้นของบริษัทเหล่านี้ แต่ให้ไปลงทุนเองที่เมืองนอกคงยุ่งยากไม่ใช่เล่น ทางเลือกคือลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเหล่านี้
กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเทคโนโลยีอิควิตี้ (KF-GTECH) จาก บลจ. กรุงศรี อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการลงทุนที่มาได้แบบถูกที่ถูกเวลา เพราะโฟกัสการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นหลัก ผ่านกองทุนหลักที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอย่างแข็งแกร่ง ยาวนานมากกว่า 16 ปี T. Rowe Price โดยลงทุนผ่านกองทุน T. Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Funds เป็นอีกหนึ่งการสร้างความมั่นใจได้ว่าเม็ดเงินลงทุนเหล่านี้ จะได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ล้วนแต่เอื้อให้สามารถผลิดอกออกผลได้
ความโดดเด่นของ กองทุนหลักอยู่ที่แนวทางการลงทุนที่มีความแตกต่าง เหนือกว่าการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีแบบเดิมๆ เพราะขับเคลื่อนอยู่บนฐานข้อมูลเชิงลึก เน้นลงทุนบริษัทในกลุ่ม New Technology ที่มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับอุตสาหกรรม มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นผู้ที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมธุรกิจ เข้ามากำหนดทิศทางพร้อมเปลี่ยนแปลง Landscape ในการแข่งขันที่แตกต่างจากเดิม ทำให้มีแนวโน้มที่จะ เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ และเป็นหุ้นที่ราคาไม่แพงเกินไป ตัวอย่างหุ้นที่ลงทุนมีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ และขนาดกลาง-เล็ก เช่น Amazon Tesla Alibaba Netflix
ข้อดีของการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี KF-GTECH
1. เลือกลงทุนในกลุ่มอุ
2. ลงทุนผ่านกองทุน T. Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Funds บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนชั้นนำ ประสบการณ์สูงในกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง T. Rowe Price ที่รวมทีมผู้เชี่ยวชาญไว้จากทั่วโลก
3. รูปแบบการลงทุนที่แตกต่างและเหนือกว่า เพราะเน้นกลุ่ม New Technology ที่สร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรม สามารถเปลี่ยนโฉมและกำหนดทิศทางใหม่ให้กับธุรกิจได้
4. เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 2,000 บาท
สำหรับผู้สนใจลงทุน สอบถามข้อมูลและโปรโมชั่นเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี และธนาคารกรุงศรีทุกสาขา หรือเว็บไซต์ บลจ.กรุงศรี (https://goo.gl/awjk86)
หมายเหตุ: KF-GTECH ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ T. Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Fund (Class Q) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ของ NAV / ระดับความเสี่ยง 7-เสี่ยงสูง / นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน และควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
[Advertorial]