ข่าวในโลกโซเชียลมีเดีย แม้จะมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถืออยู่บ้าง แต่สิ่งที่อ้างอิงและเชื่อถือได้ก็คือ “ความสนใจ” (Interest) ของผู้อ่าน เพราะเห็นได้จริงๆผ่านจำนวนคนไลค์คนแชร์
ไม่กี่ปีนี้เราจึงเห็นปรากฏการณ์ที่รายการข่าวในสื่อหลักเดิมๆ เช่น ทีวีและวิทยุ ไปนำเอาข่าวดังที่แชร์กันมากในโลกโซเชียลมาอ่าน… เรียกได้ว่าแทบจะยกหน้าที่ บ.ก. ให้กับมหาชนคนโซเชียลไปเลย
ล่าสุดแนวทางนี้ถูกใช้โดยหนังสือพิมพ์อย่างเป็นกิจจะลักษณะบ้างแล้ว เช่น ตัวอย่างล่าสุด หนังสือพิมพ์ New York Times ที่จัดพื้นที่หน้าแรกๆคือ A2 และ A3 มาลงหลากหลายข้อความเด่นๆ จากโซเชียลมีเดีย
สิ่งที่ลงก็มีทั้งข่าวฮิตๆ และคำพูดเด่นๆของคนทั้งดังและไม่ดังที่ผู้คนไลค์แชร์หรือทวีตกันมากๆที่ทางสำนักข่าวจะเลือกมาให้ประจำวัน และอื่น ๆ จากเดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นกรอบสรุปหัวข้อข่าวที่เลือกสรรโดยกอง บ.ก.
ปรากฏการณ์ที่มหาคนคนโซเชียลเป็นผู้เลือกข่าวแทน บ.ก. นี้มีในโลกออนไลน์มาพักใหญ่แล้ว โดยทำงานร่วมกับระบบซอฟต์แวร์ A.I. ที่มาช่วยเลือกข่าวให้ตรงกับผู้บริโภคแต่ละคนต่างๆกันไปอีกที เช่น ระบบที่เราเห็นกันในเฟซบุ๊ก
… แต่หนังสือพิมพ์กระดาษอย่างนี้ ถือว่ายังเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น จะพัฒนาต่อไปอย่างไร น่าติดตามดูกัน รวมถึงนิตยสารตีพิมพ์ต่างๆ ด้วย
แปลและเรียบเรียงโดย: Somkid Anektaweepon