ความรู้ทางการเงิน หรือ Financial Literacy มีคำจำกัดความอยู่มากมาย แต่การจะวัดว่าเรามีความรู้ทางการเงินมากน้อยแค่ไหน Gallup ได้ร่วมมือกับนักวิจัยจากธนาคารโลกและมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับระดับความรู้ทางการเงินของประชากรโลก ในปี 2014 โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 150,000 คนใน 148 ประเทศ ผ่านการทำแบบสอบถาม 5 คำถาม ซึ่งเป็นพื้นฐานของความรู้ทางการเงิน ซึ่งทั้ง 5 คำถาม ครอบคลุม 4 หัวข้อ คือ การกระจายความเสี่ยง เงินเฟ้อ การคำนวณดอกเบี้ย และดอกเบี้ยทบต้น
โดยจากผลสำรวจพบว่า 5 ประเทศที่มีความรู้ทางการเงินสูงที่สุด ได้แก่ นอร์เวย์ (71%) เดนมาร์ค (71%) สวีเดน (71%) อิสราเอล (68%) และแคนาดา (68%)
และถ้าหากดูกันเฉพาะโซนทวีปเอเชีย Top 5 ได้แก่ สิงคโปร์ (59%) ฮ่องกง (43%) ญี่ปุ่น (43%) ไต้หวัน (37%) และมาเลเซีย (36%)
ส่วนไทยมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 27% ซึ่งถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกของการวิจัยครั้งนี้ที่ 33%
อ้างอิงข้อมูล: http://gflec.org/wp-content/uploads/2015/11/Finlit_paper_16_F2_singles.pdf
จากการขาดความรู้ทางการเงิน ทำให้คนไทยต้องเจอปัญหามากมายตามมา ทั้งปัญหาหนี้สิน การออมและการลงทุนที่น้อยเกินไป ส่งผลถึงปัญหาความไม่พร้อมในชีวิตหลังเกษียณ รวมถึงปัญหาการไม่มีแผนจัดการความเสี่ยง ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดความเป็นห่วง จึงจัดแคมเปญออกมาเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจตาม Infographic ดังนี้