HomeSponsoredโคคา-โคลา เสริม Value Chain ให้แข็งแกร่ง สอนผู้หญิงบริหารการเงินและเกษตรยั่งยืน

โคคา-โคลา เสริม Value Chain ให้แข็งแกร่ง สอนผู้หญิงบริหารการเงินและเกษตรยั่งยืน

แชร์ :

ในโลกของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันนโยบายการเติบโตทางด้านยอดขายคงไม่ใช่สิ่งเดียวที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญอีกต่อไป เพราะนโยบายความยั่งยืนก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกบรรจุลงในแผนกลยุทธ์ของแบรนด์ต่างๆ นำมาซึ่งการพัฒนาส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์อย่างเป็นระบบและนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อีกหนึ่งโครงการที่มีจุดมุ่งหมายในเรื่องของความยั่งยืนอย่างแท้จริงกับโครงการต่อเนื่อง ธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ภายใต้โครงการ 5by20 ของ The Coca-Cola Company ที่เล็งเห็นว่า ผู้หญิงเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม จึงมุ่งเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับผู้หญิงที่อยู่ในแวลูเชนของโคคา-โคลา 5 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี 2020

ในปี 2559 โคคา-โคลาเริ่มต้นโครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ด้วยงบประมาณ 4 ล้านบาท เพื่อเป็นการนำร่องฝึกอบรมเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ อุทัยธานี ให้บริหารจัดการการเงิน ทำบัญชี และทำการเกษตรอย่างยั่งยืน  โครงการนำร่องนี้กำลังใกล้สิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคมนี้ และเตรียมจะนำเอาองค์ความรู้ไปขยายในพื้นที่อื่นๆต่อไป

Brand Buffet  จึงพาผู้อ่านไปพบกับเกษตรกรหญิงตัวจริง กับเรื่องราวบอกเล่าถึงความรู้สึกกับการได้เข้าร่วมโครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ว่าพวกเขาได้รับอะไรจากโครงการนี้กันไปบ้าง

นางสาวรจนา บุญเพชร หรือคุณจี๊ด อายุ 34 ปี ปัจจุบันมีไร่อ้อยทั้งหมด 130 ไร่ คุณจี๊ดเล่าให้ฟังว่า เธอประสบปัญหาในการบริหารจัดการเงินได้ไม่ดี ทำให้มีต้นทุนในการทำเกษตรค่อนข้างสูง ที่สำคัญเลยคือไม่มีการวางแผนล่วงหน้าที่รอบคอบ ก่อให้ระบบการเงินของครอบครัวไม่ลงตัว

“ในบางครั้งก็มีความรู้สึกไม่อยากจดบันทึกการเงินแล้ว รู้สึกเหนื่อย อยากจะใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย แต่พี่เชื่อว่าการมีเป้าหมายที่ชัดเจน การที่เราอยากจะมีอนาคตที่ดี ย่อมนำมาซึ่งพลังในการทำบางสิ่งบางอย่างให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างไม่มีอุปสรรคอย่างแน่นอน”

คุณจี๊ดเข้าร่วมโครงการฯ จนได้เรียนรู้ การจดบันทึกการเงิน ความรู้ในการลดต้นทุน รวมไปถึงระเบียบการใช้เงิน พร้อมกับได้รับคำแนะนำจากกลุ่มเกษตรกรที่มีประสบการณ์มากกว่า ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคเพื่อนำไปใช้กับแปลงเกษตรของตัวเองได้เป็นอย่างดี จนตอนนี้คุณจี๊ดรู้จักประมาณตัวเองด้านการใช้จ่าย สามารถจัดสรรรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ในอนาคตคุณจี๊ดยังอยากที่จะขยายพื้นที่การเกษตรให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ใช้หนี้ให้เหลือน้อยที่สุด นำรายได้มาขยายผลด้วยการซื้ออุปกรณ์การเกษตรและเทคโนโลยีอื่นๆ ต่อไป

นางสาวณัฐวรรณ ทองเกล็ด หรือคุณแหม่ม อายุ 37 ปี คุณแหม่มมีไร่อ้อย ทั้งหมด 100 ไร่ เธอประสบปัญหาการทำเกษตรเชิงเดี่ยว เพราะหากมีปัญหาหรือเสียหาย ก็จะทำให้ไม่มีรายได้หรือแผนสำรองมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมไปถึงต้นทุนที่สูง พึ่งพาอาศัยแต่แรงงานมากจนเกินไป

“ปัญหาทุกอย่างเกิดจากความไม่รู้จักพอ เราต้องเริ่มบริหารจัดการจากสิ่งที่เรามี ซึ่งทุกอย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สั่งสอนเรามาตลอด ด้านเศรษฐกิจพอเพียง หากเราปรับลดความต้องการลงได้ มองเห็นว่าตัวเองกำลังอยู่จุดไหน ทำอะไร ปรับเปลี่ยนให้พอดี การใช้ชีวิตก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น”

คุณแหม่มยังเล่าต่ออีกว่า หลังจากที่เข้าร่วมโครงการ ก็ได้มีการจดบันทึกต้นทุน รายรับ รายจ่าย สามารถมองเห็นภาพรวมทางการเงินของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ทำให้รู้ว่าเสียค่าใช้จ่ายตรงไหนเยอะเกินความจำเป็น ปรับลดได้ถูกจุด ซึ่งก็ได้มีปรับเปลี่ยนจุดต่างๆ ที่คิดว่าเป็นต้นทุนส่วนเกินให้เหมาะสมมากขึ้น

ซึ่งหลังจากนี้คุณแหม่ม อยากเน้นปลูกพืชผสมผสานมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพื้นที่บางจุดที่ไม่เหมาะกับอ้อยไปปลูกพืชชนิดอื่นแล้วต่อยอดจากพืชนั้นๆควบคู่ไปกับการทำไร่อ้อย ลงทุนในเครื่องจักรมากขึ้น เพราะสามารถทุ่นแรงและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาวรจนา สอนชา หรือคุณเนะ อายุ 37 ปี ปัจจุบันมีไร่อ้อยทั้งหมด 90 ไร่ คุณเนะเจอปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรของตัวเอง ทำให้มีภาระหนี้สินอยู่จำนวนหนึ่ง อีกทั้งราคาผลผลิตยังตกต่ำ รายจ่ายมีมาก ทำการเกษตรเท่าไหร่ก็ไม่สามารถนำมาชำระหนี้รวมถึงใช้จ่ายรายวันได้อย่างเพียงพอ

นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเนะเข้าร่วมโครงการฯ เธอได้เรียนรู้การจดบันทึกรายรับรายจ่ายที่ช่วยให้รู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกับความรู้ด้านการเกษตรมาปรับสภาพไร่ให้มีการปลูกพืชผสมผสานมากขึ้น

ปัจจุบันคุณเนะเริ่มมีรายจ่ายลดน้อยลง มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการเริ่มลงมือปลูกพืชไร่ผสมผสาน นอกจากที่คุณเนะได้รับประโยขน์จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้แล้วเธอยังนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ มาถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนทั้งเรื่องการจัดการการเงินและการเกษตรอย่างยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ

คุณเนะตั้งเป้าว่าจะพยายามปลดหนี้ให้เหลือน้อยลง ทำพื้นที่เกษตรที่ตัวเองมีให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด และสุดท้ายคือเพิ่มรายได้จากการทำเกษตรผสมผสานให้มากขึ้น

“พี่อยากเป็นอีกหนึ่งเกษตรกรไทยที่สามารถพิสูจน์ให้เกษตรกรด้วยกันเห็นว่า ถ้าพี่สามารถจัดการการเงินและทำการเกษตรยั่งยืนได้ เกษตรกรคนอื่นๆก็สามารถทำได้ หากเราไม่ร่วมมือช่วยกัน สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่ยั่งยืน หากเราทำได้ พึ่งพาตนเองและกันและกันให้มากขึ้น สิ่งนั้นย่อมนำมาซึ่งผลสำเร็จอย่างแน่นอน”

เกษตรหญิงทั้งสาม เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของความสำเร็จจากการเดินหน้าโครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา ทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โคคา-โคลา มีเป้าหมายคือการสร้างความยั่งยืนให้กับทุกส่วนที่ธุรกิจดำรงอยู่ และนี่ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่ความสมบูรณ์แบบอย่างเป็นรูปธรรมของคำว่า “ความยั่งยืน”


แชร์ :

You may also like