บมจ. ทีโอทีได้มีจดหมายแจ้งดีแทคได้
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า “ที่ประชุมคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที มีมติเห็นชอบให้กลุ่มบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้
ความสำเร็จครั้งนี้ บมจ.ทีโอที ขอขอบคุณรัฐบาลโดยกระทรวงดิจิทั
นายมนต์ชัย กล่าวเพิ่มว่า “การร่วมมือระหว่าง ทีโอที และดีแทค จะนำมาซึ่งประโยชน์ทั้
การให้บริการไร้สายบนคลื่
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคเปิดเผยว่า “ความร่วมมือระหว่างดีแทคและที
ดีแทคและทีโอทีจะเริ่มเข้าสู่
ทั้งนี้ ดีแทคและทีโอทีเมื่
นักวิเคราะห์ ชี้แข่งประมูลคลื่น 850 MHz และ 1800 MHz ในปี 2018 เดือด!
EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้จัดทำบทวิเคราะห์ “DTAC ได้ไปต่อ คว้าดีลคลื่นความถี่ 2300 MHz” ที่ชนะการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและผลตอบแทนเพื่อเป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz จำนวนแบนด์วิธ 60 MHz ของทีโอที (TOT) เป็นระยะเวลา 8 ปี โดยเบื้องต้นคู่ค้าต้องขยายโครงข่ายได้ไม่น้อยกว่า 1,800 แห่งภายในปีแรก ครอบคลุมเมืองหลักภายใน 2 ปี และครอบคลุม 80% ของประชากรภายในระยะเวลา 5 ปี
การคว้าคลื่นดังกล่าวส่งผลบวกต่อการดำเนินธุรกิจของ DTAC โดยปัจจุบัน DTAC มีคลื่นความถี่ในครอบครองทั้งสิ้น 50 MHz ขณะที่คลื่นความถี่ราว 35 MHz กำลังจะทยอยหมดอายุสัมปทานลงในปี 2018 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา โดยการครอบครองคลื่น 2300 MHz จะช่วยคลายความกังวลดังกล่าวลงไป แต่ DTAC ยังคงต้องเผชิญความท้าทายด้านอื่นๆ เช่น การลงทุนขยายอุปกรณ์รับสัญญานที่ต้องใช้งบประมาณลงทุนเพิ่มเติมราว 1-2 หมื่นล้านบาทและค่าเช่าคลื่นให้ทีโอทีอีก 4,510 ล้านบาทต่อปี รวมถึงความล่าช้าในการเจรจาสัญญา
อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าการแข่งขันของค่ายมือถือจะไม่ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากสภาวะการแข่งขันด้านราคาในปัจจุบันนั้นมีความรุนแรงอยู่แล้ว โดยรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue Per User: ARPU) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเริ่มคงที่ในระดับ 200 บาทซึ่งลดลงจาก 15 ปีก่อนกว่าครึ่ง รวมถึงผู้เล่นรายอื่นมีคลื่นความถี่ในครอบครองที่เพียงพอต่อการให้บริการปัจจุบันราว 55 MHz ทั้งนี้ อีไอซีมองว่าผู้เล่นจะหันมาแข่งขันในการนำเสนอบริการเสริมแทนที่จะมุ่งเน้นการแข่งขันด้านราคาเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความผูกพันธ์ต่อลูกค้า เช่น บริการด้านบันเทิง บริการคลาวด์ และบริการด้านการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 850 MHz และ 1800 MHz ในปี 2018 ยังคงมีแนวโน้มการแข่งขันสูง โดย DTAC ยังคงต้องการคลื่นความถี่ต่ำที่เคยครอบครองเดิมอย่าง 850 MHz ในขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นต้องการสะสมคลื่นความถี่เพิ่มเพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการ 5G ได้ในอนาคต เนื่องจากมาตรฐานเบื้องต้นของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดให้ผู้ที่จะให้บริการ 5G ต้องมีแบนด์วิธอย่างน้อย 100 MHz