HomeBrand Move !!“ทีวี” ยังไม่ตาย! แต่จะผ่าทางตันอย่างไร เพื่อดึงคนกลับมาดู “ทีวี” ในยุค “Mobile First”

“ทีวี” ยังไม่ตาย! แต่จะผ่าทางตันอย่างไร เพื่อดึงคนกลับมาดู “ทีวี” ในยุค “Mobile First”

แชร์ :

ยุค “Mobile First” วิถีชีวิตคนในสังคมอยู่กับ Smart Device และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ทั้งติดต่อสื่อสาร เปิดรับข้อมูลข่าวสาร ค้นหาข้อมูล อ่านหนังสือ หรือแม้แต่ดูคอนเทนต์ต่างๆ ยังทำผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ที่พกพาติดตัวไปไหนมาไหน ทั้งนอกบ้าน และในบ้าน จนทุกวันนี้หลายคน แทบจะจำไม่ได้ว่าตัวเองเปิด “ทีวี” ครั้งล่าสุดเมื่อไร !!!

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อีกทั้งภาพรวมของตลาดทีวีในประเทศไทย เดินทางมาถึงจุดเริ่ม “อิ่มตัว” เนื่องจากทุกวันนี้ Penetration หรืออัตราการเข้าถึงทีวีในประเทศไทยเกือบ 100% ของจำนวนครัวเรือนในไทยแล้ว และรอบการเปลี่ยนทีวีของคนไทย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7 – 10 ปี แตกต่างจากตลาดมือถือ ที่ใช้ 1 – 2 ปีเปลี่ยนเครื่องใหม่

ส่งผลให้ตลาดทีวีในไทย มีการเติบโตทั้งในเชิงมูลค่า (Value) และในเชิงปริมาณ (Volume) ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ โดยคาดการณ์ว่าปีนี้ ตลาดทีวีมีมูลค่ารวมกว่า 30,000 ล้านบาท ในเชิง Value มีอัตราการเติบโตเพียง 3% ขณะที่ยอดขายจำนวนเครื่อง อยู่ที่ 2,000,000 – 3,000,000 เครื่อง มีอัตราการเติบโตเพียงแค่ 1%

จากสถานการณ์ดังกล่าว กลายเป็น “ความท้าทายครั้งใหญ่” ของบรรดาแบรนด์ผู้ผลิตทีวีทั้งหลาย ต่างกำลังเผชิญ และหาทางผ่าทางตันในภาวะอิ่มตัว เพื่อผลักดันให้ตลาดทีวีเติบโตต่อไปได้

ทีวียุคดิจิทัล ต้อง “Go Smart”

กลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้ตลาดทีวีในไทยเติบโตมากกว่านี้ อยู่ที่การกระตุ้นให้ผู้บริโภคเปลี่ยนทีวีเครื่องเก่า และ Trade up ผู้บริโภคไปสู่การซื้อทีวีเครื่องใหม่ ที่มีฟังก์ชั่นเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ หรือที่เรียกว่า “สมาร์ททีวี” เนื่องจากปัจจุบัน 50% ของครัวเรือนไทยทั่วประเทศ ยังใช้ทีวีจอตู้ หรือ CRT TV ที่ใช้มากว่า 10 – 20 ปี ส่วนตลาดบนในประเทศไทย รอบการเปลี่ยนทีวีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ปี ใช้นานกว่าในต่างประเทศที่รอบการเปลี่ยนทีวีประมาณ 5 ปี

“ในอดีตทุกบ้านมีทีวี เป็นศูนย์กลางความบันเทิงของครอบครัว แต่ปัจจุบันมี Device ต่างๆ เข้ามาแทนที่ทีวี ขณะที่การทำตลาดทีวียุคนี้ จะยากขึ้น เนื่องจากไม่ใช่การทำตลาดทีวีเครื่องแรก แต่เรากำลังพูดถึงทีวีเครื่องที่สอง หรือการเปลี่ยนทีวี 

อย่างไรก็ตาม แม้สภาพตลาดทีวีในไทยเติบโตเต็มที่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าตลาดทีวีจะไปต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้นการทำตลาดทีวียุคนี้ อยู่ที่การสร้างพัฒนาการตลาดทีวีให้ก้าวไปข้างหน้า เพื่อทำให้คนอยากเปลี่ยนเครื่องใหม่” คุณวรรณา สวัสดิกูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ฉายภาพความเปลี่ยนแปลงของตลาดทีวี

หัวใจสำคัญที่จะกระตุ้นให้คนเปลี่ยนทีวี อันดับแรก “นวัตกรรม” ซึ่งปัจจุบันพัฒนาการของทีวีทั่วโลก เข้าสู่ยุค “สมาร์ททีวี” เป็นทีวีที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถต่อยอดไปสู่เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ได้เช่นกัน ทำให้พฤติกรรมการชมคอนเทนต์ผ่านหน้าจอของผู้บริโภค เกิดการแยกประเภทหน้าจอโดยอัตโนมัติ ระหว่างอยู่นอกบ้าน กับในบ้าน

เวลาอยู่นอกบ้าน ผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็น Entertainment Mobility ดูคอนเทนต์ต่างๆ และเมื่อกลับเข้าบ้าน ก็สามารถดึงคอนเทนต์บนมือถือ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รับชมผ่านทีวี หรือเปิดหน้าเว็บไซต์ต่างๆ จากจอทีวีได้เลย เพื่อรับชมรายการ ซึ่งแน่นอนว่าการดูรายการผ่านทีวีที่มีขนาดใหญ่ และด้วยเทคโนโลยีภาพและเสียงที่พัฒนาไปไกล ทำให้ได้อรรถรสความบันเทิงมากกว่ามือถือ

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น กลุ่มยุโรป, อเมริกา, สิงคโปร์ สัดส่วนของสมาร์ททีวีอยู่ที่ 50% ขณะที่ในไทยยังอยู่ที่ 25% ของมูลค่าตลาดทีวีในไทย แต่ทาง “ซัมซุง” คาดการณ์ว่าภายใน 1 – 2 ปีนี้ จะขยับขึ้นเป็น 30% ยิ่งในปัจจุบันสมาร์ททีวี ไม่ได้มีเฉพาะตลาดบนแบบในยุคแรกของสมาร์ททีวี แต่บรรดาผู้ผลิตได้ทำรุ่นและราคาที่หลากหลาย มีตั้งแต่ระดับราคาเข้าถึงง่าย อย่างขนาด 32 – 40 นิ้ว ราคา 9,000 – 15,000 บาท ไปจนถึงเซ็กเมนต์พรีเมียม ที่มาพร้อมเทคโนโลยีสุดล้ำ ราคากว่า 100,000 – 600,000 บาท !!

“เราไม่ได้มองว่ามือถือเป็นคู่แข่ง เรามองว่าทีวี และมือถือสามารถอยู่ด้วยกันได้ ด้วยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อกระตุ้นตลาดให้ผู้บริโภคไทยเห็นเหตุผลว่าทำไมเขาต้องเปลี่ยนทีวี และทำให้ทีวียังคงเป็นศูนย์รวมความสุขและความบันเทิงของบ้าน ซึ่งเราทำวิจัย พบว่าผู้บริโภคที่ไม่ได้เป็นกลุ่ม Tech Savvy บอกว่าถ้าเขาจะเปลี่ยนทีวีเครื่องใหม่ ต้องมี “สมาร์ทฟังก์ชั่น” เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต”

 

“ซัมซุง” โฟกัสตลาดพรีเมียม – ชูแนวคิด “Samsung Family” เชื่อมต่อทุกอุปกรณ์เข้าหากัน

แม้ในตลาดทีวี “ซัมซุง” เจาะตลาดทุกเซ็กเมนต์ ทั้งแมส และพรีเมียม ทว่าตลาดที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ “ตลาดพรีเมียม” ราคากว่า 100,000 บาทขึ้นไป เนื่องจากตลาดนี้แข่งขันกันที่นวัตกรรม และดีไซน์ อีกทั้งสร้างการเติบโตให้กับตลาดรวมในเชิง Value และสามารถสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและดีไซน์ให้กับแบรนด์ “ซัมซุง”

ปัจจุบันยอดขายทีวีซัมซุง มากถึง 70% มาจากกลุ่มพรีเมียม และคาดว่าภายในปีนี้ จะขยับขึ้นเป็น 80% และมีส่วนแบ่งการตลาดในเซ็กเมนต์นี้ มากกว่า 50%

ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อทีวีพรีเมียมเครื่องใหม่ของผู้บริโภคกลุ่มบน อันดับหนึ่ง คุณภาพของภาพ (93%) ตามมาด้วยรูปโฉมและการออกแบบ (88%) แบรนด์ (86%) และฟังก์ชั่นสมาร์ททีวี (79%)

ล่าสุด “ซัมซุง” เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ “QLED TV” 3 ซีรีย์ คือ ซีรีย์ 7 จอแบน, ซีรีย์ 8 จอโค้ง, ซีรีย์ 9 จอแบน ขนาดตั้งแต่ 55 – 88 นิ้ว ราคาเริ่มต้นกว่า 100,000 – 650,000 บาท พร้อมชูจุดเด่น 3 ด้าน คือ “Q Style” ดีไซน์สวยงาม 360 องศา ไม่มีสายรกให้กวนใจ ด้วย Invisible Connection หรือสายล่องหน สามารถติดทีวีไว้บนผนัง โดยแทบไม่เหลือช่องว่างระหว่างทีวีและผนัง ด้วย No-Gap Wall Mount และจะตั้งทีวีไว้บริเวณใดของห้องก็ได้ ขาตั้ง Studio Stand คล้ายขาตั้งเฟรมรูปภาพ และขาตั้งรุ่น Gravity Stand หมุนตำแหน่งทีวีได้

“Q Smart” พัฒนาทีวีให้เป็น “Content Hub” หรือศูนย์รวมความบันเทิงภายในบ้าน ด้วยคอนเทนต์หลากหลายจากพันธมิตร ทั้งรายการวาไรตี้ มิวสิควีดีโอ เกมโชว์ ภาพยนตร์ ละคร และควบคุมด้วยรีโมทเดียว (One Remote Control) ทั้งยังเชื่อมต่อ Smart Device กับทีวีได้ และ “Q Picture” เทคโนโลยีการแสดงผลภาพ ที่ทำงานร่วมกับแสง สร้างสีสันให้เข้มข้น 100%

นอกจากนี้นโยบายของซัมซุงในวันนี้ กำลังมุ่งไปสู่การสร้าง “Samsung Family” เป็นการระบบนิเวศธุรกิจ (Business Ecosystem) โดยมี “สมาร์ทโฟน” เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ โดยขณะนี้ซัมซุงสามารถสร้างฐานตลาดสมาร์ทโฟนของตัวเองได้แข็งแกร่งแล้ว

ทำให้ในอนาคตทุกอุปกรณ์ของซัมซุง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ด้วยแนวคิดนี้จะผลักดันให้แบรนด์ซัมซุงเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน ทั้งการใช้ชีวิตภายในบ้าน – นอกบ้าน

คุณโยง เชิล โจ ประธาน และ คุณวรรณา สวัสดิกูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด

“Mindset การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ของซัมซุง ต้องตอบโจทย์ “IoT” และวันนี้การเป็น Samsung Family เริ่มชัดเจนขึ้น อย่างในยุโรป เครื่องดูดฝุ่นมี Wi-Fi และทีวีบางรุ่นของซัมซุงมี Family Hub ที่สามารถสั่งการทุกอย่างได้ ขณะที่ในไทย เวลานี้สมาร์ทโฟน และทีวีซัมซุง ทำงานร่วมกันได้อย่าง Seamless แล้ว อยู่นอกบ้าน ก็ใช้มือถือซัมซุง กลับมาถึงบ้าน อยากดูคอนเทนต์บนมือถือ แค่กด Connect คอนเทนต์นั้นจะปรากฏบนจอทีวี ซึ่งในอนาคตตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเดินไปในทิศทางนี้อย่างแน่นอน” คุณวรรณา สรุปทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like