HomePR Newsโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด ปี 2560 มุ่งเน้นสร้างต้นแบบ SME 4.0 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) [PR]

โครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด ปี 2560 มุ่งเน้นสร้างต้นแบบ SME 4.0 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) [PR]

แชร์ :

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอ็สเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากปี 2559 โดยมีเป้าหมายสร้างผู้ประกอบการ 6 รายต่อจังหวัด (จากปีที่แล้ว 3 รายต่อจังหวัด)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการกลุ่มงานข้อมูลและสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว.จับมือ สถาบันอาหาร จัดสัมมนา “ยกระดับ SME ไทย เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0” ที่จังหวัดสงขลา เดินหน้าหนุนผู้ประกอบการ SMEs ตามโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) พร้อมสร้างต้นแบบธุรกิจที่มีศักยภาพในระดับจังหวัด ผลักดันสู่ระดับประเทศ และเป็นต้นแบบการจัดการองค์ความรู้ธุรกิจให้กับ SMEs อื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถหนุนเสริมเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยการสัมมนาดังกล่าว เป็นการจัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะหมุนเวียนไปยังภูมิภาคต่างๆ ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายมุ่งเน้นความสำคัญของกลุ่มธุรกิจ และผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศ ให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

ทั้งนี้แบ่งกลุ่มประเภทของผู้ประกอบการเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาหาร (Food) และ กลุ่มที่มิใช่อาหาร (Non-Food) เน้น Service & Trade โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนากลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและกลุ่มบริการเพื่อสุขภาพ (Medical Hub) ตลอดจนกลุ่ม Logistics และ E-Commerce

นายวชิระ แก้วกอ กล่าวเสริมว่า เมื่อต้นปี 2560 สสว. ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคก่อนว่าต้องการได้อะไรจากผู้ประกอบการ ซึ่งก็คือ 1. รสชาติของอาหาร ต้องอร่อย  2. มาตรฐาน ต้องสะอาดปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ได้รับการรับรองจากอย. และหาซื้อได้ง่ายทั่วไป 3. บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ต้องดูน่าสนใจด้วย มีข้อมูลแสดงส่วนประกอบ (Ingredients) ที่ชัดเจน บรรจุภัณฑ์ที่ดีจะเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจ สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจในคุณภาพสินค้า และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในที่สุด

ซึ่งสมาพันธ์เอสเอ็มอี จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกท่าน ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ โดยทางสสว.ได้ตระหนักถึงปัญหาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบอยู่ คือ ระบบบัญชีที่ดี โดยผู้ประกอบการจะต้องมีระบบบัญชีเดียว (Single Account) ภาครัฐก็มีนโยบายเร่งด่วนออกมาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือด้านนี้ โดยให้ทุนแก่ผู้ประกอบการ 15,000 บาท ในการจ้างสำนักงานบัญชีคุณภาพ ซึ่งทางโครงการฯมีเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว เพื่อทำบัญชีรายเดือนและปิดบัญชีให้ด้วย

การดำเนินการโครงการสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัดในปี 2560 นี้ ได้รับความร่ววมมือจากสถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันอาหาร เป็นหน่วยร่วมดำเนินการ จะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั่วประเทศ รวม 462 ราย (จากผู้ประกอบการทั่วประเทศ ทั้งสิ้น 2.8 ล้านราย)  แบ่งเป็นกลุ่มอาหาร 231 ราย และกลุ่มที่มิใช่อาหาร 231 ราย โดยมีการทำ Workshop ร่วมกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในเบื้องต้น จำนวน 6 ราย เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ที่ผู้ประกอบการต้องปรับปรุง พบว่าผู้ประกอบการในกลุ่ม Food ได้แก่ บริษัท เชฟอุทัย จำกัด ประกอบธุรกิจมัสมั่นบรรจุกระป๋อง ต้องปรับปรุงในเรื่องมาตรฐานการผลิต อาทิ Halal HACCP ฯลฯ เพื่อรองรับการส่งออกในอนาคต ส่วนกลุ่ม Non Food ได้แก่ บริษัท บ้านนาทอง เฮลท์ตี้ แอนด์สปา จำกัด ประกอบธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่เน้นวัตถุดิบที่ทำจากธรรมชาติ ปลอดภัยจากสารเคมี 100% ซึ่งพบว่าต้องปรับปรุงด้านการบริหารจัดการให้เป็นระบบยิ่งขึ้น รวมทั้งการขยายช่องทางการตลาด ในลักษณะแฟรนไชส์เป็นของตัวเอง

ตัวอย่างผู้ประกอบการที่โดดเด่น

1. บริษัท เดริส คอฟฟี่ อินดัสตรี จำกัด (สงขลา)  : ผู้ผลิตกาแฟเพื่อสุขภาพ และกาแฟทุเรียน ทูอินวัน และทรีิอินวัน

ซึ่งจุดเริ่มต้นธุรกิจนางสาวิตรี ซิ้มสมบูรณ์ กรรมการบริษัท และนายธวัชชัย ซิ้มสมบูรณ์ รองกรรมการบริษัท คิดว่าตาลโตนดเป็นสินค้าประจำจังหวัดสงขลาอยู่แล้ว และจากที่ทั้งสองเคยเป็นพนักงานเกี่ยวกับธุรกิจกาแฟมานาน จึงเกิดความคิดอยากทำธุรกิจของตัวเองโดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าไป เกิดเป็นกาแฟน้ำตาลโตนดครั้งแรก

เมื่อปีที่แล้ว ได้เข้าร่วมโครงการฯ และมีการปรับเปลี่ยนแพคเกจจิ้งใหม่ ให้ภาพดูพรีเมี่ยมมากขึ้น และเทคนิควิธีการลดความชื้น และการตั้งราคาสินค้า นอกจากนี้นายธวัชชัย เกิดไอเดียความคิดทำกาแฟทุเรียน เพราะเป็นผลไม้ที่โดดเด่นของภูมิภาค ซึ่งไม่ได้ใส่แค่กลิ่นเท่านั้น แต่เป็นกาแฟทุเรียนที่มีเนื่้อทุเรียนด้วย (Durian Dried Freeze) รสชาติกลมกล่อม และยังคงใช้น้ำตาลโตนดเป็นส่วนประกอบเช่นเดิม ผลตอบรับดีมาก และมีการส่งออกไปประเทศจีนอีกด้วย ส่วนในประเทศไทยมีวางจำหน่ายใน Modern Trade

นายธวัชชัย ซิ้มสมบูรณ์ กล่าวเสริมว่า อยากให้คนไทยได้บริโภคสินค้าไทยที่มีคุณภาพ เพราะน้ำตาลโตนดจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน การดูดซึมน้ำตาลจะน้อยกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ และเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นด้วย และหลังจากที่ได้เข้าร่วมกับโครงการแล้ว ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 30-40% โดยเป็นการส่งออก 30% และในประเทศ 70% คาดว่าปีนี้จะทำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ท้องตลาด 1 อย่าง และคาดหวังรายได้เพิ่มขึ้น 50%

2. บริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด : ผู้จำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลอบแห้ง และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลพร้อมรับประทาน และนำเข้าปลาทูจากประเทศอินเดีย ปลาซาบะจากประเทศญี่ปุ่น

บริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 และทำธุรกิจอาหารแช่แข็งส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก มีจำหน่ายในประเทศไทยบ้าง แต่ด้วยสภาวะที่ชะลอตัวของธุรกิจส่งออก เนื่องจากปัญหาด้านภาษี การจ้างงาน จึงทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

นายสุเทพ ไชยธานี กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า จากสภาวะชะลอตัวของธุรกิจ จึงเกิดความคิดต้องการทำสินค้าเพื่ออนาคต โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาเป็นตัวช่วยมากขึ้น และต้องการหากลุ่มลูกค้ารายใหม่ๆในตลาด จึงเกิดการพัฒนาไปสู่หมวดอาหารสำเร็จรูป ภายใต้ชื่อ ” Ajiko” ที่มีความหมายว่าทานอร่อย ปลอดภัย เป็นอาหารประเภททานเล่นก็ได้ เป็นกับข้าวก็ได้ โดยใช้วิธีอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และนำมาย่างโดยใช้กรรมวิธีทันสมัย และพัฒนาเว็บไซต์ www.southernseafood.com เพื่อตอบสนองกับเทรนด์ผู้บริโภคปัจจุบัน

บริษัทฯ เพิ่งเริ่มเข้าร่วมโครงการ และคาดหวังว่าจะได้รับคำแนะนำด้านการตลาดแบบ B2C เพราะไม่มีความถนัดด้านนี้เลย ประกอบกับต้องการพัฒนาการผลิตและแพคเกจจิ้ง ” Ajiko ” ด้วย

โดยสรุปนายวชิระ แก้วกอ  กล่าวว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเรื่องของการทำตลาด การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการ ต้นทุนการผลิต การเงินการบัญชี ที่ทำให้เกิด GAP ช่องว่างที่ทำให้หมุนเวียนเงินไม่ทัน การให้เครดิตผู้ซื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ภายใต้การดำเนินโครงการดังกล่าว จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้มีศักยภาพและความสามารถในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ต่อยอดการยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็นสากล พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆมาเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ ยกระดับให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเป็น SME 4.0 เป็นต้นแบบให้กับเอสเอ็มอีในจังหวัดและนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดต่อไป


แชร์ :

You may also like