เวลาที่เมืองของเราเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม, รถติด มลพิษ เรามักจะบ่น บ่น และบ่น แต่ความจริงแล้ว “เมือง” จะเป็นอย่างไร ก็เป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมของคนในเมืองนั่นแหละ ดังนั้น ถ้าหากว่าเราต้องการให้ภาพใหญ่ของสังคมถูกพัฒนาขึ้น ต้องเริ่มต้นกับคนในสังคมนั้นๆ ซะก่อน และไม่ใช่แค่ลงมือทำอยู่คนเดียว หรือคนไม่กี่คน แต่เป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน เพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน เพื่อทำให้แนวคิดนี้เป็นจริง และเชื่อว่าความจริงแล้วคนรุ่นใหม่มีไอเดียดีๆ มากมาย ที่อยากจะท้าทายสังคม ด้วยการลงมือทำให้เป็นจริง บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ขอเป็นศูนย์กลางรวบรวมความคิด และผลักดันความฝันของคนมี Passion เดียวกัน ด้วยแคมเปญ #WECULTURE
แคมเปญนี้ถือเป็น Open Platform ไม่จำกัดว่าจะเป็นใคร องค์กรใด ถ้าหากว่ามีแนวความคิดที่มีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นได้ และ อนันดาฯ เล็งเห็นว่าไอเดียนั้นสามารถทำได้จริงตามขอบเขตที่อนันดาฯ จะเข้าไปช่วยสนับสนุน ประสานงาน หรือลงมือทำได้ ก็จะได้รับการคัดเลือกให้มาพัฒนาต่อจนกลายเป็นความจริง ด้วยวิสัยทัศน์ของ อนันดาฯ ที่เชื่อในการ Collaborate เมื่อรวมตัวเอาคนที่มีความสามารถหลากหลายมาร่วมกันทำงาน ย่อมต้องได้ Solution ที่ครอบคลุมรอบด้านมากกว่า
เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ และตระหนักว่า “เมือง” จะดีได้ คนในสังคมต้องขยายกรอบความสนใจที่โฟกัสแค่ตัวเองให้มองเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น ไปสู่ระดับ “สังคม” อนันดาฯ ได้นำเอาบุคคลที่มีชื่อเสียง และภาพลักษณ์เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3 คน ประกอบด้วย คัตโตะ วงลิปตา, นท-พนายางกูร และวรรณสิงห์ ประเสิร์ฐกุล มาถ่ายทอดความคิดเรื่องของแนวคิดเพื่อสังคม สื่อสารภายใต้คอนเซ็ปท์ TODAY. TOGETHER. TOMORROW จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 คน ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีความคิดเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะพูดถึงการเปิดกว้างทางความคิดเพื่อทำงานให้กับสังคม แต่ก็ไม่ได้ลดทอนความคิดสร้างสรรค์ส่วนตัว หรือต้องละทิ้งตัวตนโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด
สำหรับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และจุดมุ่งหมายแล้ว ผลงานที่มีคุณค่าทั้งกับตัวเองและกับสังคม สามารถก้าวเดินไปด้วยกันได้ ดังที่ทั้ง 3 คนนี้พิสูจน์ตัวเองมาแล้ว เช่น ผลงานของกลุ่มเสือร้องไห้ ที่คัตโตะ มีส่วนร่วม หลายครั้งก็ใช้เป็นพื้นที่บอกเล่าเรื่องราวทางสังคม ที่กระตุ้นให้คนมีจิตสำนึกร่วมกัน แถมยังเรียกเสียงฮาตามสไตล์ของเขา หรือรายการท่องเที่ยวมุมมองใหม่ๆ ที่พาเราไปสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านการเดินทางของ วรรณสิงห์ ทำให้ผู้ชมรู้ว่าโลกกว้างใหญ่ และเราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ หนึ่งเท่านั้น เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างของผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้าง และมอง Issue ของเมือง, สังคม ที่ไกลกว่าแค่พื้นที่ของตัวเองเท่านั้น จาก ME จึงกลายเป็น WE และมีคุณค่าเพิ่มขึ้นหลายเท่า
ยังมีสถาปนิคที่มีชื่อเสียงอีก 3 ท่าน คุณป๊อก-อรรถพร คบคงสันติ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสถาปัตย์ จาก T.R.O.P คุณปอย-ไพทยา บัญชากิติคุณ สถาปนิค จาก Architect 49 และ คุณบอล-ทรรศนัย ญาณอุบล Creative& Design Director, The Embassy of Design Territory ที่ร่วมกันแสดงจุดยืนถึงความพร้อมที่จะมาช่วยสังคม และความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาแนวทางทำให้เมืองไทยดีขึ้น ด้วยความสามารถด้านการออกแบบ
ยังมีนักคิดท่านอื่นๆ ที่ร่วมกันส่งแรงบันดาลใจและจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นครูลูกกอล์ฟ-คณาธิป สุนทรรักษ์ ที่เล่นกับตัวอักษรในภาษาอังกฤษ พลิกตัวอักษร M เป็น W ง่ายๆ แต่ทรงพลังเพราะเราต้องละทิ้งความเป็นตัวเองแล้วใส่ความเป็นส่วนรวมเข้าไปมากขึ้น ส่วน เต๋อ-นวพล ผู้กำกับภาพยนตร์และโฆษณารุ่นใหม่ที่เล่าเรื่องราวที่เจอกับตัวเองที่เขาเดินตามหาโลเกชั่นถ่ายทำหนังแล้วต้องเจอกับความไร้ระเบียบในเมือง ยังมีผู้นำทางความคิดหลากหลายอาชีพ เช่น ดีเจพี่อ้อย-นภาพร, Dr.Pop นักเขียนนิยายรุ่นใหม่ และนิ้วกลม นักเขียน และครีเอทีฟชื่อดัง ที่ถ่ายทอดประสบกรณ์ส่วนตัวที่พบเจอ
ไม่ใช่แค่รับพลังด้านบวกจากพวกเขาเหล่านี้เท่านั้น แต่คนไทยทุกคน ยังสามารถมีส่วนร่วมนำเสนอความคิดเห็น มุมมอง หรือไอเดียของตัวเองผ่าน พื้นที่ #SHARE IDEA http://www.ananda.co.th/urbanlivingsolutions/weculture/#register
ถ้าหากว่าไอเดียที่เข้ามามีประโยชน์กับสังคม อนันดาฯ จะเข้าไปผลักดัน ต่อยอด ประสานงาน แนวคิดของคุณให้กลายเป็นความจริง ดังนั้นอย่ารอช้าที่จะก้าวขึ้นมา แล้วปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ให้สังคมไทยดีขึ้นกว่าที่เคย
ติดตามแคมเปญเพื่อ “เมือง” และ “สังคม” ไทย เพิ่มเติมได้ที่ http://www.ananda.co.th/urbanlivingsolutions/weculture/