HomePR Newsความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย “ความท้าทายช่วยบ่มเพาะโอกาส ความร่วมมือช่วยฝ่าฟันอุปสรรค” [PR]

ความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย “ความท้าทายช่วยบ่มเพาะโอกาส ความร่วมมือช่วยฝ่าฟันอุปสรรค” [PR]

แชร์ :

การเสวนา BOAO Forum Conference เวทีกรุงเทพ ในหัวข้อ “ความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย: ความท้าทายใหม่ และแนวคิดใหม่” ปัจจุบัน ความท้าทายและแรงต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ ทวีความรุนแรงมาก การค้าระหว่างประเทศทั่วโลกชะลอตัว การลงทุนลดฮวบ ภาวะเศรษฐกิจการเงินการคลังระหว่างประเทศผันผวน ปัญหาความมั่นคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความท้าทายใหม่ๆ ล้วนสร้างความกดดันต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เอเชียจะฝ่าฟันข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้หรือไม่ และจะคงความเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้อย่างไร การเปิดเสรีและการพัฒนาความร่วมมือ ถือเป็นเครื่องมือที่ศักดิ์สิทธิ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ท้าทายต่อการพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย

ความท้าทายช่วยบ่มเพาะโอกาส ความร่วมมือช่วยฝ่าฟันอุปสรรค

การสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียใช่ว่าจะราบรื่นมาโดยตลอด 48 ประเทศในเอเชีย ประชากรกว่า 4,000 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศขาดความสมดุล ระบอบการเมือง วัฒนธรรมและศาสนา มีความแตกต่างเหลื่อมล้ำกันมาก

คุณเจิงเผยเหยียน อดีตรองนายกประเทศจีน และรองผู้อำนวยการใหญ่ BOAO Forum Conference เวทีกรุงเทพ ได้ชี้ว่า ด้วยสาเหตุนานับประการ กลุ่มเศรษฐกิจและประเทศต่างๆ ในเอเชียมีลักษณะความสัมพันธ์กันอย่างหลวมๆ ต่างกับประเทศในอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ในเอเชียขาดการรวมพลัง โดยเฉพาะบางประเทศยังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปัญหาประวัติศาสตร์ ศาสนา ดินแดนและเอกราชทางทะเล ถ้าหากบริหารจัดการไม่ดี ภูมิภาคนี้ยังคงเสี่ยงที่จะเกิดภาวะตึงเครียดด้านความมั่นคงได้อีก

ย้อนมองกลับไปในอดีต ประเทศต่างๆ ในเอเชียได้รับประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1981 ทั่วเอเชียมีประชากรในระดับยากจนมากถึง 1,600 คน ปัจจุบันประชากรยากจนได้ลดลงเหลือเพียง 330 ล้านคน ดัชนีความยากจนของเอเชียได้ลดต่ำลง เป็นผลจากการเปิดเสรีและการสร้างความร่วมมือ เพื่อมีส่วนร่วมในกระแสโลกาภิวัฒน์

ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียก็มักจะเต็มไปด้วยความท้าทายที่แฝงด้วยโอกาส ดังนั้นการเชื่อมประสานความร่วมมือ จะเป็นเครื่องมืออันศักดิ์สิทธิ์ ที่จะทำให้ทุกประเทศก้าวข้ามวิกฤติการณ์

ในปี ค.ศ. 1997 วิกฤตการณ์การเงินต้มยำกุ้งได้แผ่ขยายไปทั่วทั้งเอเชีย ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ล้วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ภายใต้วิกฤตครั้งนี้ รัฐบาลประเทศต่างๆ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค แต่เนื่องจากยังขาดกลไกในการประสานงานอย่างทันท่วงที ทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ไม่ได้รับสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมา แต่ละประเทศก็แยกกันออกนโยบายรับมือ ซึ่งยากที่จะเห็นผลอย่างชัดเจน และทำให้พลาดโอกาสที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง แต่วิกฤตการณ์ครั้งนี้ ก็กระตุ้นให้เกิดการสร้างกลไกอาเซียน+จีน+ญี่ปุ่น+เกาหลี (10+3) ในการพูดคุยเจรจากันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อให้เกิดการขยายการขอบข่ายสวอปเงินตราระหว่างประเทศ และก่อให้เกิด “มาตรการริเริ่มเชียงใหม่” (CMI) และเมื่อวิกฤตการณ์นี้ผ่านไป 10 ปี ภาคธนาคารในประเทศเอเชียได้ขยายขนาดในการปฏิรูประบบธนาคาร สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐและธนาคารกลางต่อธนาคารกลางมากยิ่งขึ้น จนถึงปี 2008 ปัญหาวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ (วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์)ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดขึ้น ซึ่งประเทศต่างๆ แถบเอเชียได้เตรียมรับมือไว้แล้ว และร่วมกันออกนโยบายที่มีความเชื่อมโยงสอดประสานกัน ส่งผลให้ลดผลกระทบเชิงลบ สร้างหลักประกันให้เศรษฐกิจเอเชียสามารถขยายตัวอย่างมั่นคง

ตามที่ คุณหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวไว้ในพิธีเปิดของเวที BOAO Forum Conference ที่จัดขึ้นในประเทศจีนเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา ท่านกล่าวภายใต้สถานการณ์ใหม่และปัญหาใหม่ๆ เหล่านี้ ประเทศต่างๆ ในเอเชียต้องร่วมทุกร่วมสุขอยู่บนเรือลำเดียวกัน และจับมือฝ่าฟันความยากลำบากไปด้วยกัน การใช้กลไกสร้างเสริมซึ่งกันและกันเป็นจุดแข็งในการเสริมแรงให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ขยายจุดเชื่อมโยงทางผลประโยชน์ภาคเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความร่วมมือในลักษณะเอื้อเฟื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความร่วมมือในระดับ Win-Win

อนาคตแห่งความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชีย- รับมือการปกป้องทางการค้า (Protectionism)

อาวุธหลักของขบวนการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์คือ “การปกป้องทางการค้า (Protectionism)” หลายประเทศเห็นตรงกันว่า กระแสโลกาภิวัฒน์นำมาซึ่งระบบการค้าที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ประชาชนในประเทศตกงาน นี่ถือเป็นบทสรุปที่ถูกต้องหรือไม่? ผลการวิจัยต่างๆ กลับชี้ว่า อินเตอร์เน็ต ระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมและการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีต่างหากที่เป็นต้นเหตุสำคัญในการสร้างปัญหาว่างงาน

เมื่อวันที่ 21 เมษายนปี 2560 นี้ คุณ Jim Yong Kim ผู้ว่าการธนาคารโลก และ คุณ Christine Lagarde ผู้อำนวยการองค์กรการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ต่างออกมาเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกร่วมกันเปิดเสรีและสร้างความเสมอภาคทางการค้าระหว่างประเทศ ต่อต้านการปกป้องทางการค้า โดยคุณ คุณ Jim Yong Kim ชี้ว่า ไม่ควรด่วนสรุปว่าปัญหาว่างงานเกิดจากผลกระทบของระบบการค้าเสรี โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ควรเพิ่มการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ เพื่อรองรับกระแสการพัฒนาของเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการประกอบอาชีพ

ทำอย่างไรถึงจะสามารถต่อต้านแนวคิดที่ทวนกระแสโลกาภิวัฒน์นี้? คุณ Stephen P. Groff รองผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้เขียนบทความไว้ว่า สามารถใช้กลไกการสร้างสหภาพระหว่างประเทศต่างในภูมิภาค เพื่อลบล้างบทบาทของแนวคิดการปกป้องทางการค้า โดยท่านเห็นว่า ในภูมิภาคใดถ้าหากประเทศต่างๆ สามารถจับมือกันเป็นสหภาพการค้าที่เป็นเอกภาพ ก็ยิ่งสามารถลดปัญหาการปกป้องทางการค้าได้ ภายใต้สถานการขาดเสถียรภาพในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

ในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2016 ที่ผ่านมา การเสวนา BOAO Forum Conference ที่จัดขึ้นที่เมืองเมลเบิร์นได้มีการพูดถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านการค้า โดยคุณเฉินเต๋อหมิง รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีนได้คาดการว่า ในอีกสองปีข้างหน้า แนวโน้มกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับทวิภาคี จะมีปัญหาชะลอตัวไปสู่จุดต่ำ ซึ่งท่านเห็นว่า สถานการณ์นี้น่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แต่จะทำให้ผู้คนเริ่มหันมาตระหนักถึงผลกระทบนี้ แล้วเริ่มหันกลับไปผลักดันกระแสโลกาภิวัฒน์และระบบการค้าเสรีอีกครั้ง

ปัจจุบันถือว่าเป็นโอกาสที่เหมาะสมหรือยัง ที่จะเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน ผู้เข้าร่วมเสวนาต่างร่วมกันพูดคุยถึงหัวข้อการค้าระหว่างประเทศ และภาพอนาคตของความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย

ความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งสาธาณูปโภคและกำลังการผลิต – การเชื่อมโยง จะส่งผลดีต่อความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียได้อย่างไร?

จากประสบการณ์ของประเทศที่มีฐานะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ชี้ว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาถ้าหากต้องการสร้างการก้าวกระโดนในพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จะต้องทุ่มการลงทุนภาคสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ได้ ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาคอขวดด้านระบบคมนาคมให้เขตเมืองและการผลิตไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ เป็นปัญหาเดียวกันที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศเอเชียตะวันตก เอเชียกลางและเอเชียใต้

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ธนาคารพัฒนาเอเชียได้เปิดเผยรายงานเรื่อง “การสนองตอบอุปสงค์การสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศเอเชีย” ชี้ว่า ถ้าหากในภูมิภาคเอเชียและโอเชียนเนียจะรักษาอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2030 จะมีความต้องการในการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานมากกว่า 22.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากว่าตัวเลขที่ประมาณการณ์ในปี 2009 ถึงสองเท่าตัว

การพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานและความร่วมมือในการบูรณาการกำลังการผลิต ถือเป็นเครื่องจักรยนต์ตัวใหม่ในการขับเคลื่อนความร่วมมือภาคเศรษฐกิจของทวีปเอเชียน โดยประเทศจีนได้มียุทธศาสตร์ริเริ่ม One Belt One Road เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับองค์กรด้านเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ และภูมิภาคอื่นๆ ในภาคการเงิน ธนาคารลงทุนสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน (AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม กำลังเร่งให้เงินทุนสนับสนุนโครงการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ และเริ่มเชื่อมโยงขยายวงเข้าหาธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินรุ่นพี่

คุณจินลี่ฉวิน ผู้ว่าการธนาคาร AIIB ได้กล่าวหลายครั้งในเวทีเสวนา BOAO Forum Conference ในเรื่องบทบาทสำคัญของการพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยท่านชี้ว่า ในระบบเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัฒน์นั้น ไม่มีประเทศผู้แพ้

มีแต่ผู้ได้ประโยชน์ เพียงแต่ได้ประโยชน์ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้น ธนาคาร AIIB จึงมุ่งค้นหาโอกาสที่จะให้การสนับสนุนโครงการสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อยกระดับการเชื่อมโยงภาคการเงินในประเทศต่างๆ และกระตุ้นให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ เร่งพูดคุยกัน เพื่อให้ผู้คนได้รับประโยชน์เป็นวงกว้างมากขึ้น

ภาคการค้า การลงทุนและการเงิน 10+1 — ทำอย่างไรให้ 10+1 มากว่า 11

ในเดือนสิงหาคม ปี 2560 นี้ อาเซียนจะฉลองการก่อตั้งครบรอบ 50 ปี ตลอดกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อาเซียนมาความร่วมมือเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศจีนอย่างแน่นแฟ้น การประชุมผู้นำจีน-อาเซียน (10+1) และการประชุมผู้นำอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่นและเกาหลี (10+3) รวมถึงประชุมสุดยอดเอเชียนตะวันออก (10+8) ล้วนเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ภูมิภาคเอเชียก้าวขึ้นสู่
การเป็นหนึ่งสหภาพทางเศรษฐกิจ

ประเทศจีนได้สร้างกลไกการเจรจากับกลุ่มอาเซียนมานานถึง 25 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุค 10 ปีทองจนถึง 10 ปีเพชร ภายใน 25 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนเพิ่มขึ้นมากกว่า 60 เท่าตัว ประเทศจีนได้กลายเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 อาเซียนติดต่อกันเป็นเวลา 7 ปี และอาเซียนได้กลายเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของประเทศจีนติดต่อกัน 5 ปี เมื่อข้อตกลงฉบับยกระดับความสัมพันธ์เขตเศรษฐกิจเสรีจีน-อาเซียนเริ่มมีผลบังคับใช้ ก็ตรงกับปีที่สหภาพอาเซียนเริ่มก่อตั้ง และการเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน (RCEP) กำลังเร่งดำเนินการอย่างเข้มข้น ซึ่งจะขับเคลื่อนให้เกิดเวทีใหม่ของการพัฒนาความร่วมมือในระดับเอเชียต่อไป

ในเวทีการเสวนา BOAO Forum Conference เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้แสดงปาฐกถาว่า อนาคตอันสดใสโชติช่วงของเอเชีย หนึ่งในสาเหตุหลักที่สำคัญคือการสร้างสรรค์สหภาพอาเซียนและการเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาการค้าให้มีความแน่นแฟ้น ซึ่งภาคีคู่เจรจาของเราล้วนเป็นกำลังสำคัญในเอเชีย เราต้องมุ่งมั่นที่สร้างสรรค์เอเชียให้มีสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญมั่งคั่ง

ความร่วมมือระหว่างประเทศจีนกับอาเซียน ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในบรรดากลไกความร่วมมือต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนฉบับใหม่ และยุทธศาสตร์ One Belt One Road รวมถึงการค้าด้านพาณิชย์อิเล็คทรอนิก (E-commerce) ล้วนเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันถือเป็นวาระสำคัญที่ความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียนได้เข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ซึ่งต้องพบกับโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทุกฝ่ายควรมุ่งใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกภาคส่วนให้เกิดผลงานอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่กันด้านบุคลากร สร้างกลไกและจักรกลใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ กระชับความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ยกระดับความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อก่อให้เกิดพลังบวกใหม่สู่

การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ทั้งสองฝ่ายควรร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างกลไกความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับอาเซียนให้มีระดับที่สูงขึ้น จัดวางแผนภูมิการพัฒนาร่วมกันในอนาคต เพื่อให้กลไกความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน 10+1 มีผลลัพธ์มากกว่า 11

 


แชร์ :