ปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนนักศึกษาจบใหม่ทั่วประเทศกว่า 468,000 คน (ที่มา: กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน) ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานที่มีจำนวนมาก ดังนั้น เว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม (JobThai.com) ที่ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้งานกว่า 1.2 ล้านคน ได้ทำการรวบรวมข้อมูล “โอกาสในโลกการทำงานของปีการศึกษา 2559” ทั้งระดับปริญญาตรีและอาชีวศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนกว่า 138,630 คน ที่มาใช้งานบน JobThai.com แบ่งเป็น ระดับปริญญาตรี 120,000 คน และระดับอาชีวศึกษา 18,630 คน โดยพบว่ามีสถิติหลายหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้
5 อันดับสาขาการศึกษาของนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรีมากที่สุด ได้แก่
1. การบริหาร/การจัดการ/บุคคล คิดเป็นร้อยละ 10
2. บัญชี/การเงิน/การธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 9
3. วิทยาศาสตร์/ฟิสิกส์/เคมี คิดเป็นร้อยละ 7
4. อักษรศาสตร์/ศิลปะศาสตร์/มนุษยศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 6
5. วิศวกรรม สาขาอุตสาหการ/เครื่องกล คิดเป็นร้อยละ 5.9
สาขาอาชีพที่นักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรีสมัครมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
1. งานธุรการ/จัดซื้อ คิดเป็นร้อยละ 15.3
2. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 9.2
3. งานวิศวกรรม คิดเป็นร้อยละ 9.2
4. งานบัญชี/การเงิน คิดเป็นร้อยละ 8.2
5. งานทรัพยากรบุคคล คิดเป็นร้อยละ 7.3
6. งานโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน คิดเป็นร้อยละ 6.9
7. งานขาย คิดเป็นร้อยละ 6.9
8. งานวิทยาศาสตร์/วิจัยพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 5.7
9. งานบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 5.5
10. งานการตลาด คิดเป็นร้อยละ 4.2
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้คนหันมาสนใจ “งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน” มากขึ้น เพราะยุคนี้เป็น Globalization ที่ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน ทั้งด้านเทคโนโลยี และการค้าขายในรูปแบบ E-Commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้นักศึกษาจบใหม่นิยมสมัครอาชีพนี้มากขึ้น
เช่นเดียวกัน “งานการตลาด” ที่คนสมัครมากขึ้น โดยปัจจุบันสายงานด้านนี้ได้แตกแขนงออกไปหลากหลายสาขา เช่น พีอาร์, สื่อสารการตลาด, ด้านพัฒนาธุรกิจ และที่กำลังเป็นอาชีพมาแรง คือ Digital Marketing
สาขาอาชีพที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรีมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
1. งานขาย คิดเป็นร้อยละ 25.7
2. งานบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 9.9
3. งานอาหาร/เครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 8
4. งานวิศวกรรม คิดเป็นร้อยละ 7.2
5. งานช่างเทคนิค คิดเป็นร้อยละ 6.5
6. งานธุรการ/จัดซื้อ คิดเป็นร้อยละ 5.8
7. งานบัญชี/การเงิน คิดเป็นร้อยละ 5.8
8. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 5.1
9. งานคอมพิวเตอร์/ไอที คิดเป็นร้อยละ 3.3
10. งานโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน คิดเป็นร้อยละ 2.3
สาขาอาชีพที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรี 5 อันดับแรก ได้แก่
1. งานทรัพยากรบุคคล จำนวน 1 อัตรา ต่อ 44 คน
2. งานสื่อสารมวลชน จำนวน 1 อัตรา ต่อ 25 คน
3. งานวิทยาศาสตร์/วิจัยพัฒนา จำนวน 1 อัตรา ต่อ 24 คน
4. งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำนวน 1 อัตรา ต่อ 15 คน
5. งานอาจารย์/วิชาการ จำนวน 1 อัตรา ต่อ 13 คน
ขณะที่สาขาอาชีพที่มีอัตราการแข่งขันต่ำที่สุดในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรี โดยมีอัตราการแข่งขัน ไม่เกิน 1 : 5 ได้แก่
1. งานอาหาร/เครื่องดื่ม
2. งานขาย เนื่องจากเป็นสายอาชีพที่เปิดรับจำนวนมาก จึงทำให้อัตราการแข่งขันต่ำตามมา
3. งานช่างเทคนิค
4. งานสุขภาพ/โภชนาการ
5. งานโยธา/สถาปัตย์
งานวิทยาศาสตร์-วิจัยพัฒนา แชมป์อัตราค่าจ้างสูงสุด
สาขาอาชีพยอดนิยมของนักศึกษาจบใหม่ที่ทางบริษัทเสนอเงินเดือนให้ พบว่านักศึกษาจบใหม่ในระดับปริญญาตรีได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 11,000-25,000 บาท โดยงานวิทยาศาสตร์/วิจัยพัฒนา คว้าแชมป์ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 16,000-25,000 บาท รองลงมาคือ งานวิศวกรรม 15,000-25,000 บาท ส่วนงานผลิต/ควบคุมคุณภาพ งานบริการลูกค้า และงานการตลาด มีจำนวนเท่ากันอยู่ที่ 15,000-20,000 บาท
เผยแนวโน้มตลาดงานสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา
5 อันดับสาขาการศึกษาของนักศึกษาจบใหม่ระดับอาชีวศึกษา ได้แก่
1. ช่างอิเลคทรอนิกส์/ไฟฟ้า/คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 21
2. บัญชี/การเงิน คิดเป็นร้อยละ 16.6
3. เลขา/ประชาสัมพันธ์/คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 14.2
4. ช่างกลโรงงาน/เทคนิคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 11
5. ช่างยนต์ คิดเป็นร้อยละ 8
สาขาอาชีพที่นักศึกษาจบใหม่ระดับอาชีวศึกษาสมัครมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
1. งานช่างเทคนิค คิดเป็นร้อยละ 23.3
2. งานธุรการ/จัดซื้อ และ งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 15.8
4. งานบัญชี/การเงิน คิดเป็นร้อยละ 10.9
5. งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คิดเป็นร้อยละ 7.1
6. งานขาย คิดเป็นร้อยละ 4.7
7. งานทรัพยากรบุคคล คิดเป็นร้อยละ 4.0
8. งานวิศวกรรม คิดเป็นร้อยละ 3.2
9. งานบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 3.0
10. งานคอมพิวเตอร์/ไอที คิดเป็นร้อยละ 2.1
สาขาอาชีพที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่ระดับอาชีวศึกษามากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
1. งานขาย คิดเป็นร้อยละ 29.7
2. งานช่างเทคนิค คิดเป็นร้อยละ 16.8
3. งานอาหาร/เครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 12.9
4. งานบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 7.5
5. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 6.6
6. งานธุรการ/จัดซื้อ คิดเป็นร้อยละ 2.7
7. งานสุขภาพ/โภชนาการ คิดเป็นร้อยละ 2.5
8. งานโลจิสติกส และซัพพลายเชน คิดเป็นร้อยละ 2.1
9. งานวิศวกรรม คิดเป็นร้อยละ 1.9
10. งานบัญชี/การเงิน คิดเป็นร้อยละ 1.7
สาขาอาชีพที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ระดับอาชีวศึกษา 5 อันดับแรก ได้แก่
1. งานบัญชี/การเงิน จำนวน 1 อัตรา ต่อ 11 คน
2. งานธุรการ/จัดซื้อ และ งานเลขานุการ จำนวน 1 อัตรา ต่อ 10 คน
3. งานคอมพิวเตอร์/ไอที จำนวน 1 อัตรา ต่อ 7 คน
4. งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำนวน 1 อัตรา ต่อ 6 คน
5. งานการตลาด จำนวน 1 อัตรา ต่อ 5 คน
ขณะที่สาขาอาชีพที่มีอัตราการแข่งขันต่ำที่สุดในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ระดับอาชีวศึกษา อัตราการแข่งขันไม่เกิน 1 : 3 ได้แก่
1. สุขภาพ/โภชนาการ
2. อาหาร/เครื่องดื่ม
3. ขาย
4. ล่าม/นักแปลภาษา
5. ออกแบบเว็บไซต์
ส่วนสายอาชีวศึกษาได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 11,000-15,000 บาท อาทิ งานช่างเทคนิค งานธุรการ/จัดซื้อ งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามถ้านักศึกษาอาชีวศึกษาจบใหม่ มีประสบการณ์การทำงานในสายงานนั้นๆ มาก่อน หรือมีทักษะด้านภาษา จะสามารถเรียกเงินค่าจ้างได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าว
เผยงานด้าน “Data” เทรนด์อาชีพในอนาคต
การแข่งขันของโลกธุรกิจทั้งในวันนี้ และอนาคต คือ “Big Data” องค์กรไหนมีฐานข้อมูลต่างๆ เช่น พฤติกรรมลูกค้า สภาพตลาด คู่แข่ง และสามารถวิเคราะห์คลังข้อมูลได้แม่นยำ เพื่อคาดการณ์เทรนด์ในอนาคต จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ทำให้ปัจจุบัน 3 สายงานด้าน Data จึงเป็นอาชีพที่ตลาดงานต้องการสูง และนับวันมีแนวโน้มต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่
1. Data Analysis
2. Data Scientist
3. Data Engineer
5 ปัญหาที่องค์กรเจอบ่อยในการทำงานกับคนรุ่นใหม่
นอกจากนี้ จ๊อบไทยดอทคอม ยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของฝ่ายทรัพยากรบุคคลจากองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 480 คน ในหัวข้อปัญหาที่พบเจอจากการทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ พบว่ามี 5 ข้อที่หลายองค์มีความเห็นตรงกัน ดังนี้
1) เปลี่ยนงานบ่อย
2) ไม่มีความอดทนต่อแรงกดดันในการทำงานและคำวิจารณ์
3) การปรับตัวเข้าสู่โลกการทำงาน
4) มีความมั่นใจในตัวเองเกินไป
5) การทำตามกฎระเบียบ
ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองปัญหาที่หลายองค์ส่วนใหญ่มีต่อคนรุ่นใหม่ ฉะนั้น นักศึกษาจบใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกการทำงาน นอกจากข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการหางานแล้ว ควรให้ความสำคัญกับทั้ง 5 ปัญหาที่กล่าวมาและพร้อมที่จะนำไปพัฒนาปรับปรุงต่อไป
คุณแสงเดือน ตั้งธรรมสถิต ผู้ร่วมก่อตั้ง และหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม (JobThai.com) กล่าวว่า สถิติต่างๆ และผลสำรวจตามข้อมูลข้างต้นเป็นการวิเคราะห์ในเชิงภาพรวมที่จะช่วยสะท้อนถึงสถานการณ์การหางานของนักศึกษาจบใหม่ ตลอดจนความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดจะช่วยให้นักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบได้มีแนวทางในการเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสในการได้งานทำมากยิ่งขึ้น
“ทักษะและความสามารถที่องค์กรต่างๆ ต้องการเพิ่มเติมจากผู้สมัครงาน คือ 1. มีความรู้-ความสามารถด้านเทคโนโลยี 2. ทักษะด้านภาษา และ 3 มีความคิดสร้างสรรค์”