HomeFeaturedอิชิตันเปลี่ยนกล่องชาเขียว สู่คลังความรู้ล้ำค่าบนยอดดอย

อิชิตันเปลี่ยนกล่องชาเขียว สู่คลังความรู้ล้ำค่าบนยอดดอย

แชร์ :

แต่ละปี คนไทยดื่มเครื่องดื่มจากกล่องยูเอชที มากกว่า 80,000 ตัน มีเพียง 7.5% ที่มีการนำไปรีไซเคิล จึงเป็นที่มาของโครงการ “อิชิตันชาคืนต้น ปี 2 : ห้องสมุดชาคืนต้นจากอีโค่บอร์ด” ต่อยอดผลผลิตใบชา สู่ต้นแห่งปัญญา ด้วยการนำนวัตกรรมรีไซเคิลกล่องผลิตภัณฑ์อิชิตันแบบยูเอชที ซึ่งประกอบด้วยวัสดุ 3 ชนิด คือ กระดาษ พลาสติก และอลูมิเนียมฟอยด์ ระหว่างที่กล่องยูเอชที ทำหน้าที่บรรจุจะปกป้องเครื่องดื่มให้คงคุณค่าสารอาหารโดยไม่ต้องใส่สารกันเสีย เมื่อดื่มเครื่องดื่มหมดไปแทนที่จะทิ้งกล่องเป็นขยะ อิชิตันนำกล่องยูเอชทีเข้ากระบวนการแยกชิ้นส่วนวัสดุ แล้วขึ้นรูปใหม่กลายเป็น “อีโค่บอร์ด” มีคุณสมบัติแข็งแรงกว่าไม้ ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย กันความชื้นและปลวกได้ 100% มีอายุการใช้งานกว่า 20 ปี แล้วคืนกลับสู่สังคมในรูปแบบของการบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อธรรมชาติ กลายเป็น “ห้องสมุดชาคืนต้น”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ใบชาทุกใบเดินทางจากชุมชนเกษตรกรชาวอาข่า บนดอยพญาไพร อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แหล่งปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เข้าสู่โรงงานอิชิตัน กลายเป็นชาพร้อมดื่มบรรจุกล่องเพื่อส่งถึงมือผู้บริโภค หลังใช้งานเราทำให้กล่องมีคุณค่าอีกครั้ง ด้วยการนำมารีไซเคิลเป็นแผ่นวัสดุอีโค่บอร์ด แล้วนำกลับมาสร้างการพัฒนาให้กับชุมชนด้วยการสร้างห้องสมุดชาคืนต้น พร้อมระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” คุณตัน ภาสกรนที กล่าว

“ห้องสมุดชาคืนต้น” คือพันธสัญญาแห่งการเชื่อมโยงความผูกพันระหว่างธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ที่อิชิตัน กรุ๊ป ยึดถือในการดำเนินนโยบายการสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกชาได้เติบโตอย่างมั่นคงไปพร้อมอิชิตัน การต่อยอดใบชาสู่ต้นแห่งปัญญา จนกลายมาเป็นห้องสมุดหลังนี้ย่อมก่อให้เกิดขุมปัญญาและความรู้อีกมากมายในอนาคต ยิ่งห้องสมุดมีความสวยงามยิ่งดึงดูดให้นักเรียนสนใจและรักการอ่านมากยิ่งขึ้น

สอดคล้องกับความเห็นของ ดร.สายสวาท วิชัย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 ที่ได้กล่าวว่า “ปีนี้อิชิตันกลับมาสร้างห้องสมุดให้นักเรียนและชุมชน ความช่วยเหลือจากอิชิตันเป็นการช่วยเหลือที่มีคุณค่าประมาณค่าไม่ได้ เพราะนอกจากห้องสมุดหลังนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนได้ศึกษาว่าขยะมีประโยชน์ ถ้ารู้จักใช้ ชีวิตใหม่ของขยะจากกล่องยูเอชที มีคุณค่ามากกว่าครั้งแรกที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มเสียอีก ยังเป็นห้องสมุดที่สวยที่สุดในอำเภอ ซึ่งจะดึงดูดนักเรียนให้สนใจการอ่านมากขึ้น ยังบรรจุความรู้ทันสมัยจากหนังสือ และระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่จะทำให้เด็กและชุมชน มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมมากขึ้น นำมาใช้หาข้อมูลสำหรับพัฒนาชีวิตและอาชีพต่อไป”

โครงการชาคืนต้น มุ่งสร้างการพัฒนาอย่างมั่นคงให้เกษตรกรชาชาวอาข่า หลังจากปีแรกที่ได้พัฒนาสุขอนามัยพื้นฐานด้วยการใช้ระบบดาวเทียมค้นหาแหล่งน้ำใต้ดิน แล้วจึงเจาะชั้นหินลึกถึง 80 เมตร ดึงน้ำบาดาลขึ้นมาให้โรงเรียนมีน้ำอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี ทั้งยังเผื่อแผ่ให้ความช่วยเหลือชุมชนกว่า 400 ครัวเรือนให้บรรเทาภาวะการขาดแคลนน้ำได้ถาวร มุ่งหวังให้ชุมชนต้นน้ำแห่งนี้ เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับอิชิตัน

นางมีนู ลาเชกู เกษตรกรชาวอาข่า เล่าว่า “เมื่อก่อนชาวอาข่าปลูกฝิ่นไปแลกข้าว คนในหมู่บ้านก็กินฝิ่น ร่างกายไม่แข็งแรง พอทำไร่เลื่อนลอยหมดฤดูก็ต้องเผาเพื่อให้ได้หน้าดินใหม่ ต้องย้ายที่อยู่เรื่อยๆ  ลำบากมากรายได้ไม่พอกิน แต่ตอนนี้มาปลูกชาดีขึ้นมาก สบายใจไม่ต้องหลบซ่อน สุขภาพดีขึ้น อยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะชาปลูกครั้งเดียว ก็เก็บขายได้ไปนานหลายสิบปี ทุก 15 วันพอยอดชาแตกใบก็เก็บไปขายได้ใหม่ วันนี้เราไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ได้เพราะอิชิตันรับซื้อไปทั้งหมด ทำให้คนในหมู่บ้านมีงานทำทุกวัน มีเงินเลี้ยงครอบครัว  ลูกๆ มีที่เรียนหนังสือและได้อยู่พร้อมหน้ากันไม่ต้องไปทำงานที่อื่น”


แชร์ :

You may also like