Influencer marketing คือหนึ่งในช่องทางที่เติบโตเร็วที่สุดของวงการโฆษณา เฉพาะปี 2017 มีเม็ดเงินที่ถูกใช้ไปกับ Influencer บน Instagram ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การแข่งขันของ Influencer ทั้งหลายบนโลกโซเชียลเป็นไปด้วยความดุเดือดเพื่อหวังโกยเงินจากแบรนด์มาที่ตัวเองให้ได้มากที่สุด นำไปสู่ความไม่โปร่งใสมากมาย
ผู้ก่อตั้ง Mediakix บริษัท influencer marketing agency เปิดตัวตั้งแต่ปี 2011 และเห็นการเติบโตของวงการนี้ รวมไปถึงการฉ้อฉลมากมายที่ Influencer หลายคนสรรหามามเพื่อทำกับ Instagram ในการเพิ่มยอด Follower และ Engagement ทั้งการซื้อแบบไม่ถูกต้องจากการโกงระบบ และสร้างแอคเคาท์ปลอม แม้ว่าจะไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า Influencer คนไหนซื้อหรือไม่ซื้อ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปได้ที่จะคาดการณ์ ประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมา Mediakix จับตาดูบางแอคเคาท์เพื่อนำมาใช้กับบางแคมเปญ และพบว่า Influencer หญิงคนหนึ่งมียอดฟอลโลเพวอร์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากเดิมภายในหนึ่งสัปดาห์ และเพิ่มเป็นสามเท่าในสัปดาห์ถัดมา แม้เรื่องนี้จะไม่ได้ยืนยัน 100% ว่าเธอซื้อฟอลโล่เวอร์หรือไม่ แต่ก็เป็นสัญญาณอันตรายที่ควรระวังในการจ่ายเงินจ้าง Influencer ประเภทนี้
และเรื่องนี้นี่เองที่ทำให้แบรนด์และนักโฆษณามากมายเสียเงินจมไปกับ Influencer ปลอมๆ ที่ไม่ได้ป๊อปปูล่าจริง Mediakix จึงต้องการทำให้ปัญหานี้เป็นที่กระจ่างชัดมากขึ้น พวกเขาครีเอทแอคเคาท์ Instagram ปลอมขึ้นมา 2 อัน แล้วตั้งตัวเป็น Influencer วางกับดักล่อรอให็แบรนด์หลวมตัวมาจ้าง
โดยแอคเคาท์ทั้งสองโพสต์รูปและซื้อฟอลโลเวอร์ให้เหมือนมีตัวตนจริงๆ แอคเคาท์แรกปลอมเป็นนางแบบจาก LA ชื่อแอคเคาท์ว่า Calibeachgirl310 โพสต์รูปนางแบบ และอีกแอคเคาท์หนึ่งชื่อว่า Wanderringgirl โพสต์ภาพไลฟ์สไตล์และท่องเที่ยวที่หาซื้อได้ตามสต็อกโฟโต้ทั่วไป ส่วนฟอลโล่เวอร์ที่ซื้อมาก็มี 50,000 และ 30,000 คนตามลำดับ รวมไปถึงซื้อเอนเกจได้ด้วย โดยใช้เงินไปทั้งหมด 300 เหรียญ และ 800 เหรียญ จากนั้นก็เอาตัวเองไปโพสต์ตามที่ที่รับสมัคร Influencer ไม่กี่สัปดาห์ก็มีแบรนด์ติดต่อมา เพื่อเสนอสินค้าให้ลองใช้ฟรี แถมเงินให้อีก 500 เหรียญ
ข้อมูลจาก eMarketet บอกว่าปีที่แล้วนักการตลาดลงเงินไปกับ Influencer บน Instagram ไปทั้งหมด 570 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไม่รู้เท่าไหร่ที่เสียไปให้กับ Influencer จอมปลอมเหล่านั้น เพราะมันง่ายมากที่สร้างตัวเองขึ้นมาเป็น Influencer ในเลเวลตั้งต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แบรนด์เล็กๆ มักมองหา เพื่อใช้เป็น Micro Influencerc และมักจะไม่ได้มีเวลามากนักในการกลั่นกรอง ทำให้เป็นปัญหาใหญ่อันใหม่ของวงการโฆษณาที่บอกเลยว่าไม่ได้หาทางออกได้ง่ายๆ และยากที่จะทำระบบขึ้นมาตรวจสอบ แม้บางแพลตฟอร์มจะพยายามทำ Algorithm เพื่อกลั่นกรองการปั่นยอดเอนเกจต่างๆ แต่ก็เป็นไปแบบหยาบๆ ทางที่ดีที่ป้องกันได้มากที่สุดตอนนี้อาจต้องเป็นการกลั่นกรองด้วยตัวเอง ก่อนจ้างใครลองย้อนดูประวัติการรับงานและเน้นที่มีตัวตนจริงๆ จับต้องได้จะดีที่สุด
แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM