HomeSponsoredกรณีศึกษา “แบรนด์ไทย” จับเทรนด์โลก ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมด้วย “ดีไซน์”

กรณีศึกษา “แบรนด์ไทย” จับเทรนด์โลก ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมด้วย “ดีไซน์”

แชร์ :

ในยุคสมัยที่เรียกว่า “โลกดิจิทัล” แบรนด์ต่างๆ ต่างก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ก้าวล้ำเหมาะสมกับยุคสมัย แต่ในขณะเดียวกันก็จะคำนึงถึงสังคม เรื่องของสิ่งแวดล้อม และคุณค่าที่ได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆมากขึ้นด้วย ซึ่งการ “ดีไซน์” ผลิตภัณฑ์ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในกระบวนการผลิต

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ซื้อหนึ่งเราคืนให้สังคมหนึ่ง” หรือ One for One Concept ปณิธาน ของแบรนด์ TOMS รองเท้าสัญชาติอเมริกัน ที่ถือกำเนิดขึ้นในขณะที่ Blake Mycoskie ผู้ก่อตั้งแบรนด์  ไปเที่ยวที่อาร์เจนตินาและได้พบเห็นเด็กๆ ที่นั่นเดินด้วยเท้าเปล่าเนื่องจากยากจนจนไม่มีรองเท้าใส่ จึงเกิดเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายที่นำผลประกอบการจากการผลิตรองเท้าไปช่วยเหลือเด็กๆ ที่ขาดแคลน ด้วยดีไซน์รองเท้าอันเป็นเอกลักษณ์ ได้รับแรงบันดาลใจจากรองเท้าทรง alpargata ซึ่งเป็นรองเท้าพื้นเมืองจากอาร์เจนติน่านั่นแหละ โดยลูกค้าที่ซื้อสินค้าแบรนด์ TOMS รู้ดีว่ารองเท้าทุกคู่ที่ตัวเองซื้อ จะมีส่วนช่วยให้กับเด็กๆ ในประเทศกำลังพัฒนาได้มีรองเท้าใส่ตามไปด้วย

ยังมีเคสของกระเป๋า Freitag ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น กระเป๋ารักษ์โลกของคน Cool มีต้นกำเนิดน่าสนใจไม่แพ้กัน แบรนด์นี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1993 ด้วยความคิดของสองพี่น้องตระกูล Freitag ซึ่งจู่ๆ ก็ปิ๊งไอเดียขึ้นว่าผ้าใบคลุมรถบรรทุกในซูริคมีสีสันสดใส แต่ส่วนมากจะให้ประโยชน์ได้แค่คลุมรถบรรทุกไม่กี่ครั้งแล้วก็ไม่ได้นำกลับมาใช้อีก เขาทั้งสองคนจึงนำมันมาตัดเย็บเป็นกระเป๋า ที่นอกจากจะทนทานแล้ว แต่ละใบยังมีลายไม่เหมือนกัน กลายเป็นคาแร็กเตอร์ที่โดนเด่นของแบรนด์ ส่งผลให้ลูกค้าภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระเป๋าที่ถือยังมีลายนั้นๆ เพียงหนึ่งเดียวในโลกอีกด้วย

 

“แบรนด์เพื่อสังคม” เทรนด์โลกที่ต้องลงมือทำ “วันนี้”

ทั้งสองแบรนด์ตัวอย่างที่หยิบยกมาในตอนต้น สะท้อนให้เห็นว่า ความคิดของการทำการตลาด ออกแบบธุรกิจ และสินค้าหรือบริการ โดยคำนึงถึง “ประโยชน์ของสังคม” ไม่ใช่เรื่องไกลตัววงการการตลาดอีกต่อไปแล้ว และยิ่งแบรนด์สามารถนำเสนอไอเดียที่จะช่วยให้สังคมได้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะกลายเป็นประเด็นที่ “จับใจ” ผู้บริโภคมากขึ้นเท่านั้น เมื่อปัญหาของสังคมโลกเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องของชาติพันธุ์ เพศ เสียงเรียกร้องของคนที่ด้อยกว่ากำลังดังกึกก้อง จนคนทั่วไปต้องฟังเสียง ถ้าหากว่าแบรนด์สินค้าสามารถแสดงออกให้เห็นได้ว่า “คุณค่า” ของแบรนด์สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาตามเสียงเรียกร้องได้อย่างเหมาะเจาะ แบรนด์นั้นๆ ก็จะกลายเป็น Brand Hero ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้ และสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสังคมไทยอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

เมื่อสังคมไทย…กำลังเผชิญหน้ากับภาวะที่เรียกว่า “สังคมไทยกำลังแก่”

จากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า หลังจากปี พ.ศ. 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี พ.ศ. 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กมีจำนวนน้อยกว่าผู้สูงอายุ นั่นเป็นสัญญาณว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแนวโน้มนี้สอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่ว่า “คนแก่” กำลังจะกลายเป็นประชากรหลักของสังคม

แต่ทว่า เมืองที่เรากำลังอาศัยอยู่ ณ ขณะนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานของคนวัยทำงานเป็นหลัก และเป็นคนวัยทำงานที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกายด้วย ที่สังเกตได้ชัดคือห้องน้ำสาธารณะหลายแห่งในประเทศไทยยังเป็นส้วมแบบนั่งยอง ที่เหมาะสำหรับคนหนุ่มสาวที่สามารถพยุงตัวลุกนั่งได้เองเท่านั้น หรือทางเดินยกระดับรวมไปถึงบันได ก็ล้วนรองรับการใช้งานของคนที่ร่างกายสมบูรณ์ ส่วนผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นกลับหมดสิทธิ์โดยสิ้นเชิง

 

เมื่อการออกแบบไม่สอดคล้องกับผู้ใช้งาน จึงนำไปสู่การตั้งคำถามที่ว่า

ทำอย่างไร คนแก่ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้จึงจะได้รับความเท่าเทียม?

 

“Friendly Design” เทรนด์การออกแบบเพื่อความเท่าเทียมของทุกคน

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัด Thailand Friendly Expo 2016 มหกรรมอารยสถาปัตย์ และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 1 ทั้งนี้ จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงความสำคัญในการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย อย่างเท่าเทียมกัน

หลายแบรนด์เริ่มหันมาใส่ใจเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง เช่น ปตท. เริ่มต้นออกแบบ ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในสถานีบริการน้ำมัน เช่น ห้องน้ำ ทางเดิน และช่องจอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวก ผ่อนแรง เพิ่มความปลอดภัยแก่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ โดยเฉพาะผู้ต้องการความเอื้อเฟื้อเป็นพิเศษอย่างผู้สูงวัย ผู้พิการ เด็ก สตรีและสตรีมีครรภ์

โครงการดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด Care & Safety For All เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้บริการในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย สามารถได้รับความช่วยเหลือได้ทันท่วงที

 

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดจ้างผู้พิการ เพื่อเป็นผู้ทดสอบการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. อีกทั้งยังช่วยรณรงค์และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมพฤติกรรมเมาไม่ขับ รวมไปถึงเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงจากการเมาแล้วขับและการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ ก็เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการโดยตรง และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ความสามารถของตนในการประกอบอาชีพได้เฉกเช่นคนทั่วไป สามารถสร้างรายได้เพื่อพึ่งพาตนเอง เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะการคิดอย่างครบองค์ประกอบ ไม่ใช่แค่อาศัยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นมาเฉยๆ แต่ยังติดตามผลการดำเนินงานด้วยการทดสอบจากผู้ใช้งานจริง ผลที่ได้จึงสร้างความประทับใจกับผู้ใช้งานได้มากกว่า และเมื่อบวกกับการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้การออกแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นมาได้ใช้ประโยชน์จริงกับผู้ที่ต้องการ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สะท้อนวิสัยทัศน์ของแบรนด์ไทยที่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของคนในสังคม โดยอาศัย “ดีไซน์” เป็นตัวช่วย

 

เมื่อแบรนด์ไม่ได้คำนึงถึงแต่ตัวเลข

จะเห็นได้ว่า การทำธุรกิจในช่วงหลังๆ มานี้ มีหลายแบรนด์ที่เริ่มคำนึงถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  ตัวอย่างแบรนด์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อสร้างความเท่าเทียมแก่คนกลุ่มเล็กๆ แต่ทว่าเป็นก้าวที่สำคัญของการทำธุรกิจที่ดึงสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่แค่ตัวเลขของผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น แต่คือความใส่ใจผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตให้ดีกว่า มีความสุขมากขึ้น และส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

 

 

Source:

http://www.bangkokmotorshowgroup.com/thailandfriendlydesign2016/index.html

http://www.komchadluek.net/news/ent/214561

http://www.creativemove.com/design/toms-shoes/

TNN24


แชร์ :

You may also like