HomePR Newsก้าวปัจจุบันของโครงการ Talent Thai & Designers’ Room 2017 ในตลาดโลกไร้พรมแดน [PR]

ก้าวปัจจุบันของโครงการ Talent Thai & Designers’ Room 2017 ในตลาดโลกไร้พรมแดน [PR]

แชร์ :

ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่โครงการ Talent Thai & Designers’ Room ถือกำเนิดขึ้นจากความตั้งใจของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักออกแบบไทยให้สามารถสร้างแบรนด์ที่มีคุณภาพทัดเทียมกับแบรนด์ระดับโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยแต่ละปีโครงการได้มีการปรับและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกเช่นเดียวกับโครงการ Talent Thai & Designers’ Room 2017 ที่จัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ CREATIVITY BEYOND BORDERS ที่พร้อมผลักดันให้นักออกแบบไทยใช้ความคิดสร้างสรรค์นำพาแบรนด์ของตัวเองก้าวออกไปสู่ตลาดงานออกแบบโลกที่ไร้พรมแดนโดยนำหัวข้อ “Cross Culture – Cross Generation – Cross Platform” มาใช้เป็นแนวทางสร้างกิจกรรมตามแนวทางการบริโภคสินค้าและบริการที่ไม่แบ่งแยกวัฒนธรรมและช่วงอายุอีกต่อไปผ่านรูปแบบการสื่อสารและการสร้างแบรนด์ที่หลากหลายไม่จำกัดทำให้ 66 แบรนด์ที่ได้รับคัดเลือกแบรนด์ที่เข้าร่วมโครงการในปีนี้มีความแตกต่างจากปีที่ผ่านๆมา

ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้ากรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงแนวทางการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการในปีนี้ที่เปลี่ยนไปจากปีที่ผ่านมาว่า “ที่ผ่านมาเราจะเน้นถึงสินค้าของนักออกแบบว่ามีความแปลกใหม่ในการใช้วัสดุเทคนิคด้านการผลิตหรือนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างไรส่วนปีนี้ทางคณะกรรมการให้ความสำคัญต่อตัวนักออกแบบยิ่งขึ้นโดยปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่เราให้นักออกแบบทำวิดีโอพรีเซนเทชันขึ้นมาเพื่อนำเสนอตัวเองนำเสนอสินค้าและนำเสนอเรื่องราวของแบรนด์ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการเข้าถึงผู้บริโภคเนื่องจากสินค้าในตลาดโลกทุกวันนี้ไม่มีอะไรใหม่แต่สิ่งที่ทำให้สินค้าของแบรนด์แตกต่างคือเรื่องราวหรือแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดชิ้นงานออกมาเรื่องราวเหล่านี้โดนใจผู้บริโภคมากกว่าตัวสินค้าซึ่งเราเห็นว่านักออกแบบเริ่มมีทักษะในการนำเสนอมากขึ้นเพราะคนรุ่นใหม่เห็นโลกกว้างขึ้นและมีตัวอย่างงานส่งเสริมแบรนด์ในแง่ตลาดออนไลน์มากขึ้นที่สำคัญคือเริ่มที่จะเข้าใจความหมายของแบรนด์ตัวเองว่าคืออะไรทำให้สามารถเล่าเรื่องราวที่มาของการสร้างแบรนด์ได้อย่างชัดเจนกว่าที่ผ่านมา”

เขายังพูดถึงบทบาทของโครงการที่สามารถชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิตอลที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างธุรกิจของนักออกแบบในยุคไทยแลนด์ 4.0 นี้ “นักออกแบบรุ่นใหม่อาจจะมีความรู้ด้านเทคโนโลยีมาบ้างแต่ยังไม่ได้นำมาใช้สิ่งที่เราพยายามส่งเสริมคือผลักดันให้นักออกแบบเข้าไปอยู่ในระบบนิเวศน์นี้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการยุคใหม่หรือสตาร์ทอัพมากมายในประเทศไทยที่พัฒนาระบบหรือโปรแกรมซึ่งสามารถให้บริการด้านการจัดการอย่างเช่นระบบบัญชีการขนส่งซึ่งรองรับความต้องการทำธุรกิจของนักออกแบบไทยได้เป็นอย่างดีหน้าที่ของเราคือเป็นแกนกลางที่จะเชื่อมต่อนักออกแบบกับสตาร์ทอัพให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุดดังนั้นนักออกแบบได้โอกาสพบผู้ให้บริการใหม่ๆที่เอื้อต่อการทำงานของเขาและสตาร์ทอัพเองได้โอกาสในการหาลูกค้าเพราะฉะนั้นนอกจากหลักสูตรมากมายที่จัดขึ้นเพื่ออบรมพวกเขาแล้วนี่คือสิ่งที่ทำให้โครงการนี้แตกต่าง

Talent Thai นักออกแบบกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์กลุ่ม NOW

MOREOVER

นวัตศักดิ์ศิริศิลป์นักออกแบบและกรวุฒิกาญจนาบุญมาเลิศครีเอทีฟร่วมกันสร้างแบรนด์ MOREOVER ขึ้นจากความเชื่อในพลังความคิดสร้างสรรค์ภายใต้คอนเซปต์ Creative is More โดยชิ้นงานเปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมเติมเต็มเรื่องราวที่สะท้อนตัวตนและวิถีชีวิตได้อย่างไม่สิ้นสุด

กรวุฒิพูดถึงเป้าหมายของแบรนด์ว่า “มีตลาดที่เราอยากบุกเองคือตลาดเอเชียตอนนี้ตลาดเอเชียกำลังเติบโตเพราะประชากรมากและรูปแบบการใช้ชีวิตคือมีครอบครัวใหม่เกิดขึ้นเทรนด์รูปแบบการอยู่อาศัยถูกเปลี่ยนให้เป็นออฟฟิศมากขึ้นด้วยเมื่อรูปแบบวิถีชีวิตเปลี่ยนไปเราจึงอยากได้องค์ความรู้เพิ่มเติมเพื่อลุยในตลาดนี้ครับ”

นอกจากนั้นนวัตยังเล่าถึงประโยชน์ที่ได้รับและวัตถุประสงค์ของการสมัครเข้าโครงการว่า “แบรนด์ของเราถือว่าโตเร็วเพราะได้รับคำแนะนำจากพี่น้องในวงการออกแบบหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นทางลัดที่ทำให้เราเรียนรู้เร็วถ้าไม่มีพี่ๆเหล่านี้ผมก็อาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาสินค้าหลายปีจุดเด่นอีกข้อหนึ่งคือการที่ดีไซเนอร์มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคนิคในการออกแบบการทำธุรกิจหรือนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันมีการพัฒนาไปด้วยกันโตไปด้วยกันทั้งเครือข่ายเป็นจุดเด่นที่โครงการนี้ทำให้เราอยากเข้ามาร่วมด้วยครับผมเชื่อว่าการเป็นดีไซเนอร์พัฒนาแบรนด์ได้ไม่ยากแต่จะทำอย่างไรให้ยั่งยืนคือต้องมีเรื่องของธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการร่วมโครงการของเราจึงเป็นการต่อยอดเชิงธุรกิจในฐานะผู้ประกอบการ”

OOPPAMA

การเป็นนักออกแบบที่มีพื้นฐานจบด้านสถาปัตยกรรมมาทำให้ฤดีศราวุฒิไพบูลย์มีความสนใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่และหมั่นเดินสำรวจเมืองอยู่เสมอระหว่างที่ค้นหาอัตลักษณ์ร่วมสมัยของไทยเธอมองเห็นการทับซ้อนที่ไม่สนิทของความเป็นไทยแบบดั้งเดิมกับสิ่งใหม่ๆที่เติมเข้ามาในวิถีชีวิตผ่านรูปทรงพื้นผิวและสีสันก่อนที่จะนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของแบรนด์ OOPPAMA ที่นำเศษหนังที่เป็นวัสดุหลักมาตัดด้วยเทคโนโลยีร่วมกับเทคนิคการสานลายโดยไม่ใช้การเย็บกลายเป็นชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์ทุกใบ

“เรารู้สึกว่าโครงการนี้เป็นโอกาสหนึ่งมามาเติมเต็มสิ่งที่เราขาดได้มีความรู้ที่น่าสนใจเรื่องการตลาดที่เราไม่ได้เรียนด้านนี้มาและการได้เห็นแบรนด์อื่นๆที่ประสบความสำเร็จซึ่งเป็นทั้งแรงบันดาลใจและเป็นตัวอย่างที่ดีมากแบรนด์ที่ทำมานานแล้วมีประสบการณ์หลากหลายที่เราไม่เคยรู้มาก่อนที่เราสามารถนำมาใช้ได้”

PITAK

PITAK เป็นแบรนด์ที่ใช้งานออกแบบมาเพิ่มมูลค่าให้กับงานหัตถกรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชุมชนโดยรัฐชาติพลแสนและภานุทัตศุภกิจการุณย์ที่เป็นนักออกแบบเจ้าของแบรนด์หวังว่าเมื่อผลงานเป็นที่รู้จักแล้วจะสามารถสร้างอาชีพที่ยั่งยืนและรักษาอัตลักษณ์ด้านการจักรสานของชุมชนให้คงอยู่ได้ขณะที่รัฐชาติมองว่าโครงการนี้จะเพิ่มทักษะที่นักออกแบบอย่างเขาไม่ถนัดได้เป็นอย่างมาก “ตอนนี้เรายังขาดองค์ความรู้ด้านการประกอบการธุรกิจครับ” ก่อนที่ภานุทัตพูดถึงเป้าหมายของแบรนด์ที่ชัดเจนว่า “เราอยากทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อเราจะได้กลับไปตอบจุดมุ่งหมายของแบรนด์ที่ต้องการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืนได้ครับ”

PLAY

การนำเทคนิคต่างๆมาเล่นกับวัสดุในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของพงศ์สิทธิดำรงพานิชชัยเป็นจุดที่สะท้อนตัวตนและสร้างเอกลักษณ์ให้กับทุกชิ้นงานของแบรนด์เครื่องประดับ PLAY เช่นเดียวกับผลงานชุดล่าสุดที่นำเทคนิคMokumeของญี่ปุ่นมาสร้างลวดลายให้กับเครื่องประดับเงินซึ่งเขาหวังว่าการนำผลงานของ PLAY ที่ใช้เทคนิคนี้ในงานแสดงระดับนานาชาติจะทำให้แบรนด์ไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น

“คนทั่วไปยังไม่มีการนำชิ้นงานจากการใช้เทคนิคนี้มาใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่จะใช้ในโอกาสพิเศษเช่นแหวนแต่งงานเป็นต้นดังนั้นเราอยากให้ต่างประเทศรับรู้ว่าคนไทยสามารถทำชิ้นงานจากเทคนิคนี้ร่วมกับการออกแบบใหม่ที่เขารับรู้ถึงกลิ่นอายของงานออกแบบไทยได้” ซึ่งการเข้าร่วมโครงการนอกจากจะเปิดโอกาสให้ร่วมแสดงงานในระดับนานาชาติแล้วยังมีความรู้ด้านการตลาดที่จะช่วยส่งเสริมการนำเสนองานออกแบบของแบรนด์ด้วย

Geometries

เฟอร์นิเจอร์ที่มีเอกลักษณ์และฟังก์ชั่นไม่ซ้ำใครของ Geometries เกิดขึ้นจากความชื่นชอบของธราดลสุจริตวรกุลที่มีต่อพื้นผิวเส้นและจุดเชื่อมซึ่งสามารถสร้างมิติและแสงเงาให้กับผลงานเมื่อประกอบกับกระบวนการผลิตที่ใช้ Digital Fabrication ที่สามารถรองรับลักษณะเฉพาะด้านการออกแบบของเขาได้ทำให้ชิ้นงานของเขาสร้างความรู้สึกต่อเนื่องและให้ความรู้สึกที่หลากหลายเมื่อจัดวางอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างไป

“จริงๆผมตั้งใจร่วมโครงการตั้งแต่ 2 ปีที่แล้วแต่คุณสมบัติยังไม่พร้อมปีนี้เลยดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการเข้ามาซึ่งผมพร้อมเตรียมตัวที่จะพัฒนาตัวเองและแบรนด์ต่อไปในทิศทางที่วางไว้ซึ่งเราเรียนมาทางด้านออกแบบแต่เรื่องธุรกิจเป็นศูนย์ความหวังครั้งนี้จึงอยากพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐานพัฒนาด้านธุรกิจและสามารถสร้างแบรนด์ให้เติบโตไปในระดับโลกได้ครับ”

Talent Thai นักออกแบบกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์กลุ่ม NEXT

’CARPENTER

ประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่กับธุรกิจของครอบครัวที่เป็นผู้ผลิตงานไม้อยู่ก่อนทำให้วีรดาศิริพงษ์จึงจุดประกายความคิดว่าการออกแบบสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเศษไม้ที่เหลือจากการทำวงกบประตูหน้าต่างซึ่งมีความสวยงามได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ’CARPENTER ที่ผลิตสินค้าประเภทเครื่องเขียนก่อนที่จะขยายให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้นซึ่งสินค้าได้เสียงตอบรับที่ดีจนมีโอกาสส่งออกไปขายในประเทศญี่ปุ่นแล้ว

ศักยภาพของแบรนด์ทำให้เธอสนใจความรู้จากโครงการที่สามารถนำมาต่อยอดธุรกิจมากขึ้น “จริงๆมาถึงระดับนี้ก็เกินความคาดหมายแล้วค่ะแต่คิดว่าจะยังคงพัฒนาทุกสินค้าไปเรื่อยๆเพราะทุกชิ้นงานที่เราทำออกมาจะเป็นการเพิ่มมูลค่าอย่างยั่งยืนนอกจากจะต่อยอดธุรกิจครอบครัวแล้วก็ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยเราทำแบรนด์จากการลองผิดลองถูกมาไม่นานมากนะคะถ้าเข้ามาในโครงการนี้น่าจะได้ข้อมูลความรู้จากแบรนด์รุ่นพี่ๆที่มีประสบการณ์เยอะซึ่งเราเอาสิ่งเหล่านี้มาต่อยอดกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น”

POSTCARDCUBE

ความชอบส่วนตัวของธฤตเกตุประภากรที่มีต่อหุ่นกระดาษเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด Foldable Memory ของแบรนด์POSTCARDCUBE โดยเขานำศิลปะสมัยใหม่มาผสมผสานกับศิลปหัตถกรรมไทยมาออกแบบให้ผลิตภัณฑ์โปสการ์ดที่มีลูกเล่นสามารถพับเป็นตัวหุ่นได้นับเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถส่งต่อถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้กับชาวต่างชาติได้รู้จัก

“ตัวสินค้าได้ผลตอบรับดีทั้งจากคนไทยที่ซื้อส่งให้เพื่อนที่อยู่ในยุโรปอเมริกาหรือญี่ปุ่นและชาวต่างชาติด้วยนะครับจริงๆผมมองว่าศักยภาพของแบรนด์น่าจะไปในระดับโลกได้ทั้งที่จริงๆเราขายในประเทศไทยดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีมากที่ให้แบรนด์เรามีพื้นที่ในเวทีโลกและตัวโครงการเองยังให้ข้อมูลที่ทำให้เรามีความพร้อมมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำสัญญาการขนส่งสินค้าหรือกระทั่งการสื่อสารกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติได้”

Designers’ Roomนักออกแบบกลุ่มสินค้าแฟชั่น

ARTY&FERN

พื้นฐานด้านการออกแบบและความชอบแว่นตาเป็นแรงบันดาลใจให้ชนกันต์อุโฆษกุลเดินทางไปศึกษาด้านการออกแบบแว่นโดยเฉพาะก่อนที่จะกลับมาจับมือกับอานิกนันท์เอี่ยมอ่องซึ่งครอบครัวมีประสบการณ์ทำธุรกิจร้านแว่นที่มีความชำนาญเป็นอย่างดีจนเกิดเป็นแบรนด์ ARTY&FERN ที่รองรับการผลิตแว่นแฟชั่นรวมถึงการออกแบบและผลิตแว่นเฉพาะบุคคลหรือ Custom-Made เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ที่มีความหลากหลายซึ่งยังไม่มีแบรนด์ใดในประเทศไทยให้บริการด้านนี้มาก่อน

เมื่อ ARTY&FERN มีความพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้แล้วจึงต้องการเพิ่มเติมความรู้ด้านการจัดการที่ยังขาดอยู่ซึ่งชนกันต์หวังว่าจะได้รับจากโครงการนี้ “เวลาทำงานเป็นฝ่ายออกแบบในบริษัทเราไม่ต้องทำด้านการตลาดด้วยตัวเองเมื่อตอนนี้ออกมาทำแบรนด์เองแล้วโครงการจะอบรมเกี่ยวกับด้านการตลาดให้เรามากขึ้น” ขณะที่อานิกนันท์เสริมว่า “เราถนัดคิดงานเป็นคอนเซปต์ไอเดียมันเหมือนเยอะค่ะอยากจะถูกจัดระเบียบให้มันถูกที่ถูกทางมากกว่าอีกเรื่องคืองานแสดงต่างประเทศต่างประเทศมีงานแฟร์ของแว่นโดยเฉพาะซึ่งไม่มีแบรนด์ไทยที่เคยได้ไปออกจริงๆเราเคยไปในฐานะผู้เข้าชมแล้วรู้สึกว่าการที่ดีไซเนอร์ได้ไปอยู่ในฐานะแบรนด์นั้นเป็นอะไรที่เปิดกว้างมากค่ะ”

KALIS

เทรนด์ออกกำลังกายที่มาพร้อมกับการดูแลสุขภาพของคนยุคปัจจุบันทำให้กัลยดาโลหเจริญวนิชและศิรดางามนรารัตสร้างแบรนด์ KALIS ขึ้นมาด้วยความตั้งใจว่าจะสามารถผลักดันชุดออกกำลังแบรนด์ไทยให้เป็นที่รู้จักเทียบเท่ากับแบรนด์ต่างประเทศได้โดยนำเสนอจุดเด่นด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยการพัฒนาเนื้อผ้าการตัดเย็บที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับโลกผนวกกับการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของลายเส้นที่ทะมัดทะแมง

กัลยดาหวังว่าโอกาสที่ได้รับจากโครงการนี้จะพาแบรนด์ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ในอนาคต “เราต้องการให้แบรนด์ไทยทัดเทียบกับแบรนด์นานาชาติเพราะเดี๋ยวนี้หลายประเทศมีสปอร์ตแวร์ของตัวเองเกิดขึ้นเยอะขณะที่ประเทศไทยมีแหล่งผลิตสินค้าประเภทนี้อยู่แล้วเราเป็นดีไซเนอร์ก็อยากสร้างผลงานให้เห็นว่ามีแบรนด์ไทยนะซึ่งมันสำคัญมากที่เรามีหน่วยงานของทางรัฐบาลมาสนับสนุนแบรนด์ไทยทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในสายตาชาวต่างชาติ”

MUSLEENA

ธิดาวรรณไวถนอมสัตย์สร้างแบรนด์ MUSLEENA เสื้อผ้าสำหรับสตรีมุสลิมด้วยการผสมผสานความศรัทธาที่มีต่อคำสอนของศาสนากับศิลปะด้านการออกแบบเข้าด้วยกันซึ่งเสื้อผ้าของแบรนด์นอกจากจะมีความสวยงามแล้วยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสตรีมุสลิมที่ต้องสวมชุดยาวสามารถยกแขนเสื้อเวลาละหมาดได้ใส่ง่ายไม่รัดรูปมีรายละเอียดและลูกเล่นในการออกแบบรวมถึงนำผ้าไทยมาใช้จึงมีความสบายเมื่อสวมใส่ทำให้ได้รับความนิยมของชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยเป็นอย่างมาก

“เสื้อผ้าของ MUSLEENA เรียกว่าเป็นแบรนด์ระดับบนของชาวมุสลิมซึ่งเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบและผู้นำกระแสของเสื้อผ้าสตรีมุสลิมทั้งของไทยและต่างประเทศด้วยดังนั้นเมื่อเราทำธุรกิจจริงจังมากขึ้นเราอยากพัฒนามาตรฐานให้เป็นระดับสากลเพราะแฟชั่นเสื้อผ้ามุสลิมแทบไม่มีผู้สนับสนุนผลักดันเลยทั้งๆที่ตลาดทั้งในอาเซียนและอาหรับมีกำลังซื้อและตลาดใหญ่มากเราอยากได้รับโอกาสนั้น”

TAKARA WONG

ฐกรวรรณวงษ์นำวัฒนธรรมย่อยหรือ Subculture ที่ผสานกับดนตรีและกีฬาประเภทต่างๆมาใช้ในทิศทางการออกแบบแบรนด์เสื้อผ้าสตรีทแวร์ของ TAKARA WONG โดยผลงานแต่ละชุดที่ไม่ยึดติดกับเทรนด์แฟชั่นการเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้แบรนด์ได้รับความนิยมจากลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ซึ่งแม้เขาจะมีเว็บไซต์ที่รองรับการสั่งซื้อจากต่างประเทศอยู่แล้วแต่ยังหวังว่าจะมีโอกาสเปิดตลาดไปยังประเทศอื่นๆหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว “ที่สนใจโครงการนี้เพราะเขามีการประสานงานกับแฟชั่นวีคของต่างประเทศซึ่งน่าจะส่งเสริมเป้าหมายของแบรนด์ได้ที่สำคัญเขายังจัดการอบรมจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้อีกหลายๆเรื่องที่เรายังขาดอยู่ครับ”

QOYA

จุดเด่นของทะเลไทยที่สวยงามคือแรงบันดาลใจให้วิริยาเตชะไพฑูรย์สร้างสรรค์แบรนด์ QOYA ที่ผลิตเสื้อผ้าและของใช้สำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนชายทะเลซึ่งนอกเหนือจากเอกลักษณ์ด้านการใช้สีในชิ้นงานแล้วยังมีแนวคิดด้านการออกแบบเสื้อผ้าด้วยแพทเทิร์นแบบเรขาคณิตที่ทำให้เสื้อผ้าของแบรนด์เป็นลักษณะฟรีไซส์เข้ากับทุกรูปร่างของผู้สวมใส่ขณะเดียวกันยังมีขยะหลงเหลือจากกระบวนการผลิตน้อยมาก

โดยเธอคาดหวังว่าเมื่อแบรนด์เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติแล้วจะทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น “อยากให้วันหนึ่งเมื่อแบรนด์สุกงอมเต็มที่แล้วต่างประเทศรู้จักพอเขาแหวกป้ายมาเห็น Made in Thailand เขาจะได้รู้ว่าสินค้ามาจากประเทศไทยซึ่งทุกคนรู้อยู่แล้วว่าทะเลที่นี่สวยแต่ตอนนี้ QOYA ไม่ได้เป็นแค่งานคราฟท์แล้วมันเป็นธุรกิจเพราะฉะนั้นในฐานะดีไซเนอร์บางทีก็ต้องแบ่งเวลาไปทำงานอีกหลายอย่างซึ่งตอนนี้เมี่ยงหวังว่าจะมีการร่วมมือในการพัฒนาสินค้าให้เติบโตมากขึ้นคุณภาพดียิ่งขึ้นเพื่อเอาไปเล่าต่อได้ว่าสินค้าเหล่านี้มาจากประเทศไทย”


แชร์ :

You may also like