HomeBrand Move !!“โครงการบ้านปลา” Beyond CSR ของเอสซีจี เคมิคอลส์ จากอุปกรณ์สร้างบ้านคน สู่บ้านของ “ปลา”

“โครงการบ้านปลา” Beyond CSR ของเอสซีจี เคมิคอลส์ จากอุปกรณ์สร้างบ้านคน สู่บ้านของ “ปลา”

แชร์ :

“เมื่อเข้าไปอยู่ในพื้นที่หรือชุมชนใด การได้รับการยอมรับจากผู้คนในแต่ละชุมชนที่เราเข้าไปเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน การได้ใจคนในชุมชนให้ยอมรับว่าเราคือส่วนหนึ่งของชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เพียงแค่การเป็นส่วนหนึ่งเพราะเราตั้งโรงงานอยู่ที่นั่น” จากคำพูดของ คุณชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ละโครงการที่เอสซีจี เคมิคอลส์ พัฒนาขึ้นจึงมุ่งหวังในการแก้ปัญหาและตอบโจทย์ในสิ่งที่ชุมชนต้องการ รวมทั้งเน้นทำโครงการที่สามารถต่อยอดและพัฒนาต่อได้อย่างยั่งยืน ช่วยสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับผู้คนในชุมชน มากกว่าแค่การเข้าไปบริจาคสิ่งของ หรือให้ความช่วยเหลือแบบครั้งคราว โดยทางเอสซีจีจะเรียกการขับเคลื่อนโครงการในลักษณะนี้ว่า “Beyond CSR

โจทย์หลักคือปัญหาของท้องถิ่น

คุณชลณัฐ กล่าวถึงแนวทางในการสร้าง Engage กับแต่ละชุมชนที่ทางบริษัทให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมอบหมายให้พนักงานในระดับผู้จัดการแต่ละคนจะต้องมีชุมชนที่อยู่ในความดูแลของตัวเองคนละ 1 แห่ง (OMOC : One Manager One Community) เพื่อรับทราบถึงปัญหาหรือความขาดแคลนของแต่ละชุมชน เพื่อนำมาออกแบบและสร้างสรรค์เป็นโครงการต่างๆ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือแต่ละชุมชนได้อย่างตรงจุด รวมทั้งการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและบริษัทอีกด้วย ภายใต้งบประมาณเพื่อใช้ในการดูแลสังคมของ เอสซีจี เคมิคอลส์ ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท

“ปัญหาที่แต่ละชุมชนเจอนั้นไม่เหมือนกัน บางแห่งต้องการให้เข้าไปช่วยดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม บางที่ขาดแคลนอุปกรณ์ต่างๆ  บางพื้นที่ขาดโรงเรียน โดยเราจะทำแต่ละโครงการควบคู่ไปกับกิจกรรมซีเอสอาร์ทั้งในเรื่องของการบริจาค หรือมอบทุนการศึกษา แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มาจากความต้องการของชุมชนจริงๆ ไม่ใช่การนั่งวางแผนงานในเรื่องซีเอสอาร์หรือการพัฒนาชุมชนจากส่วนกลาง แต่มาจากการลงพื้นที่และการเก็บข้อมูล โดยเฉพาะการสนับสนุนโครงการที่สามารถพัฒนาและต่อยอดไปสู่การสร้างความยั่งยืน เน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ความรู้เพื่อไปต่อยอดมากกว่าเพียงแค่การให้เงิน หรือการบริจาคอย่างเดียว”

ไม่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่เอสซีจี เคมิคอลส์ ยังมีแนวคิดในการขับเคลื่อนโครงการในลักษณะที่เป็น Beyond CSR ไปในประเทศอื่นๆ ที่มีการขยายการลงทุนไปด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ภูมิภาคอาเซียน อาทิ เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย โดยเฉพาะการสร้างความคุ้นเคยและได้รับการยอมรับจากภาคประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเข้าไปสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในพื้นที่  การเข้าไปดูแลในเรื่องของความเป็นอยู่และสุขภาพ หรือการเข้าไปสนับสนุนในเรื่องของการศึกษา เป็นต้น โดยพยายามตั้งโจทย์เพื่อการพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ

บ้านปลา โครงการพัฒนาจากภูมิปัญาสู่ความยั่งยืน

หนึ่งโครงการที่ถือว่าเป็น  Role Model ของเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือต้นแบบของแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของคนในชุมชน รวมทั้งต่อยอดไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับผู้คนในพื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นฐานธุรกิจหลักของเอสซีจี เคมิคอลส์

ย้อนไปเมื่อ 10-20 ปีก่อนหน้า ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง ต้องประสบปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ลดจำนวนลง ทำให้ประชาชนขาดรายได้ รวมทั้งต้องมีต้นทุนในการออกไปจับปลาแต่ละครั้งสูงขึ้น และในบางครั้งที่แม้จะต้องออกเรือไปไกลกว่าเดิม แต่ก็ได้ปลามาในจำนวนที่ไม่มากนัก

จนเมื่อ 5 ปีก่อน เอสซีจี เคมิคอลส์ เข้ามาสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อให้ชาวบ้านนำไปทำเป็นประการังเทียม ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการก่อสร้างบ้านปลาให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยของปลาในทะเล โดยเอสซีจี เคมิคอลส์ ได้วางบ้านปลาหลังแรกในปี 2555 จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 1,100 หลัง ให้กับ 29 กลุ่มประมง ในจังหวัดระยองและชลบุรี สามารถสร้างพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลได้กว่า 30 ตารางกิโลเมตร

โครงการ บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์ เริ่มวางบ้านปลาครั้งแรกในปี 2555 จากการรับรู้ปัญหาของกลุ่มประมงพื้นบ้านในจังหวัดระยองว่า ปริมาณปลาและสัตว์น้ำมีจำนวนลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของกลุ่มประมงพื้นบ้าน เอสซีจี เคมิคอลส์ จึงได้หารือกับสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (สบทช.) และได้ออกแบบบ้านปลาที่ทำมาจากท่อน้ำที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทีลีนเกรดพิเศษ PE 100 โดยเป็นท่อ PE 100 ที่เป็นของเหลือใช้จากกระบวนการทดสอบขึ้นรูป เพื่อให้ชาวประมงนำไปวางในพื้นที่เหมาะสม ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ และกลายเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์ทะเลต่างๆ

คุณชลณัฐ กล่าวว่า  ท่อ PE 100 เป็นท่อที่ใช้สำหรับงานประปาและท่อส่งก๊าซ ซึ่งผ่านการรับรองจากสถาบันชั้นนำในต่างประเทศว่า ไม่มีสารปนเปื้อน จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี  เหมาะกับการนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับทำบ้านปลา และเมื่ออยู่ในทะเลจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการัง เพรียง และสัตว์ทะเลต่างๆ จึงมีส่วนช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลได้กว่า 120 ชนิด และเป็นเสมือนคลังทรัพยากรในทะเลที่ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้อย่างยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลาน

“ตลอด  5  ปีที่ผ่านมา เอสซีจี เคมิคอลส์ ให้การสนับสนุนโครงการนี้มาอย่างตอเนื่อง ภายใต้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 17 ล้านบาท โดยโครงการนี้ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างชุมชน ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน และเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการเพิ่มปริมาณและความหลากหลายของสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่ง ช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่มประมงพื้นบ้านตามแนวชายฝั่งจังหวัดระยอง จึงเหมาะที่จะเป็นต้นแบบในการต่อยอดการพัฒนาไปยังพื้นที่ชายฝั่งอื่นๆ ได้ทั่วประเทศ ซึ่งในปีหน้า เอสซีจี เคมิคอลส์ มีแผนงานขยายโครงการบ้านปลาไปสู่จังหวัดจันทบุรีและตราดจำนวนอีก 1,000 หลัง เพื่อให้ครอบคลุมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกทั้งหมด”

ด้าน คุณภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1  กล่าวว่า บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์ ถือเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มประมงพื้นบ้านอย่างมาก เห็นได้จากการขยายพื้นที่ไปในกลุ่มประมงพื้นบ้านถึง 29 กลุ่มทั้งในระยองและชลบุรี เนื่องจากได้สร้างความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่ใกล้ชายฝั่ง เป็นที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตวัยอ่อนในทะเล ทำให้บริเวณรอบๆ มีปลาเศรษฐกิจเข้ามาอยู่อาศัยอย่างชุกชุม และผลสัมฤทธิ์ที่ตามมาคือ เกิดจิตอนุรักษ์ในเครือข่ายกลุ่มประมง ที่มีข้อตกลงกันว่า จะไม่จับปลาในพื้นที่ที่วางบ้านปลา เพื่อให้พื้นที่นั้นเป็นเสมือนบ้าน ที่พักพิง ที่อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งจิตอนุรักษ์นี้จะส่งผลให้ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์  กลุ่มประมงมีอาชีพมีรายได้ที่ยั่งยืน

ขณะที่เสียงตอบรับจากกลุ่มชาวประมงในพื้นที่ ต่างยืนยันถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในแง่ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 10 เท่า การประหยัดต้นทุนที่ไม่ต้องออกเรือไปหาปลาจากพื้นที่ไกลชายฝั่ง ทำให้มีเวลาได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น รวมทั้งการมีโครงการนี้ทำให้กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ได้รู้จักกับบทบาทหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้น เพราะจากเดิมที่เคยเป็นเพียง “นักล่า”  มาสู่การเป็น “นักอนุรักษ์” ได้ด้วย


แชร์ :

You may also like