HomePR Newsก.ล.ต. อัพเดตยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แนะแนวทางวางแผนการเงินหลังเกษียณ ผ่านแอปพลิเคชั่น “Start to Invest” ในยุคไทยแลนด์ 4.0[PR]

ก.ล.ต. อัพเดตยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แนะแนวทางวางแผนการเงินหลังเกษียณ ผ่านแอปพลิเคชั่น “Start to Invest” ในยุคไทยแลนด์ 4.0[PR]

แชร์ :

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  เผยความคืบหน้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2560 มีจำนวนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 171 กอง โดยมีนายจ้างที่มี employees’ choices จำนวนทั้งสิ้น 7,971 ราย พร้อมเผยผลงานของ ก.ล.ต. ในปี 2560 ที่บรรลุเป้าหมาย 5 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างมาตรฐานการกำกับดูแลที่เป็นสากล เชื่อมโยงตลาดทุนในภูมิภาค วางรากฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการสร้างผู้ลงทุนคุณภาพ และสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เข้าใจระบบนิเวศในตลาดทุน ชี้แนวทางแผนการเงินสำหรับผู้เกษียณอายุ 2561 แนะผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลการวางแผนทางการเงินผ่าน mobile application “Start-to-Invest” ประกอบการตัดสินใจลงทุนในยุคไทยแลนด์ 4.0

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   เผยว่า  ก.ล.ต. ส่งเสริมและให้ความรู้สำหรับผู้ลงทุนให้ลงทุนอย่างมีคุณภาพ ตระหนักถึงการวางแผนการเงินและเลือกลงทุนให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมคนวัยทำงานให้เตรียมพร้อมในเรื่องเงินออมให้เพียงพอ และออมให้เป็นเพื่อรองรับการใช้จ่ายในวัยเกษียณ  เนื่องจากปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มมากขึ้น และกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี  2568  ซึ่งจะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวน 20% ของประชากรทั้งหมด  ตัวเลขสถิติ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2560 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ PVD มีจำนวนทั้งสิ้น 397 กอง มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิจำนวน 1.01 ล้านล้านบาท มีสมาชิก PVD ทั้งหมด 2,938,764 ราย เพิ่มขึ้น 1.1% และนายจ้างที่มี PVD จำนวน 17,093 ราย เพิ่มขึ้น 4.2% จากสิ้นปี 2559

ก.ล.ต. ได้จัดโปรแกรมแนะแนวการลงทุนที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อาทิ โปรแกรม Suitability Test ช่วยวางแผนจัดสรรการลงทุน  โปรแกรม Retirement-Checkup สำหรับประเมินจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้หลังเกษียณ  รวมถึงให้ทดลองใช้และดาวน์โหลด mobile application “Start to Invest” เครื่องมือที่ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ สอดคล้องกับเป้าหมายของ ก.ล.ต. ที่มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ลงทุน ต้องการให้ผู้ลงทุนรู้จักทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย และเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุนประเภทต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งยังมีคลิปความรู้การเงินการลงทุนที่นำเสนอให้เข้าใจง่ายอีกด้วย

นอกจากนี้ ก.ล.ต มุ่งให้ความรู้แก่กลุ่มนายจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องกับ PVD โดยกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการสะสม PVD ของสมาชิกเพื่อรองรับการเกษียณอย่างเพียงพอ และจัดทำเครื่องมือสำหรับอธิบายความสำคัญของ PVD เพื่อให้นายจ้างนำไปสื่อสารหรือให้ความรู้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่ง ควบคู่ไปกับการสื่อสารกับประชาชนทั่วไป กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการออม โดยออมให้พอ ออมให้เป็น และออมให้นาน โดยร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรหลายแห่ง อาทิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

โดยล่าสุดได้ให้ความรู้แก่ผู้ที่ไปร่วมงาน SET in the City กรุงเทพมหานคร 2017 กับ บูธ ก.ล.ต. ในคอนเซ็ปต์พร้อมเช็คความฟิต คิดก่อนลงทุนในงาน  ตั้งแต่วันนี้ – 19 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00 – 20.00 น.  ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ภายในบูธมีเจ้าหน้าที่สำหรับให้คำปรึกษาและตอบข้อซักถามตลอดงาน

สำหรับผลงาน ก.ล.ต. ในรอบปีที่ผ่านมา นอกจากการส่งเสริมความรู้ให้ผู้ลงทุนแล้ว ได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาและกำกับดูแลตลาดทุนใน 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ (1) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี โดย ก.ล.ต. มีนโยบายในการเปิดรับเทคโนโลยีฟินเทคเพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนในยุคดิจิทัล (2) การสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลที่เป็นสากลเตรียมความพร้อมสู่การประเมิน FSAP และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนทั่วโลก ออกเกณฑ์รองรับการระดมทุนของสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านพร้อมกับออกแนวปฏิบัติ CG Code และ I Code เพื่อยกระดับสินค้าในตลาดทุนไทยและคุณภาพผู้ลงทุนที่เน้นการกำกับดูแลกิจการที่ดี (3) การสร้างระบบนิเวศการกำกับดูแลให้มีความเป็นมืออาชีพทั้งในเรื่องของแนวปฏิบัติที่เหมาะสมของกรรมการบริษัทจดทะเบียน ที่ปรึกษาทางการเงิน ผลักดันการออกกฎหมายเพื่อพิจารณาลงโทษด้วยวิธีทางแพ่ง (4) การสร้างผู้ลงทุนที่มีคุณภาพโดยปรับปรุงเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ smart disclosure (5) การสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เข้าใจระบบนิเวศในตลาดทุน และพัฒนาบุคลากรบนพื้นฐานของค่านิยม เปิดใจ รู้จริง ร่วมมือ ซื่อตรง


แชร์ :

You may also like