HomeFinancial“ปีนี้ไม่สำเร็จตามเป้า ผมขอไล่ตัวเองออก” อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอ SCB #SCBVISION2020

“ปีนี้ไม่สำเร็จตามเป้า ผมขอไล่ตัวเองออก” อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอ SCB #SCBVISION2020

แชร์ :

ภายในงาน SCB VISION 2020 ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ นำทัพโดยซีอีโอ อาทิตย์ นันทวิทยา และ ผู้บริหารระดับสูงทั้งหลาย ออกโรงประกาศวิสัยทัศน์  ทิศทาง ในปี 2018 และรวมไปถึงเป้าหมายใหญ่ในปี 2020 ที่จะต้องเป็น “The Most Admired Bank”(ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หลังจากได้มีการประกาศ SCB Transformantion เมื่อ 1-2 ปีผ่านมา ต้องการให้ธนาคารเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ  เนื่องด้วยการเติบโตของเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใหม่ๆที่เข้ามารุกคืบในธุรกิจธนาคารไปทีละน้อย ทำให้ SCB ผู้นำด้านการเงินและธนาคารจึงอยู่นิ่งไม่ได้อีกต่อไป

นายอาทิตย์ นันทวิทยา กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของธุรกิจธนาคาร ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และการไหลบ่าเข้ามาของธุรกิจ Patform ระดับโลกที่กำลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของธุรกิจธนาคารในการนำเสนอบริการทางการเงินและการลงทุน กอปรกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้การบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก

ซีอีโอยังอธิบายเสริมการปรับตัวของปี 2017 ที่ผ่านมา คือ

– การยกระดับเทคโนโลยีของธนาคารเพื่อรองรับยุคดิจิทัล โดยธนาคารได้เพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมถึงการพัฒนาบริการบนNew Mobile Banking หรือ SCB Easy  โดยมุ่งเน้นให้เป็น Lifestyle Application ที่จะสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า มากกว่าเพียงการทำธุรกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสด ด้วยการพัฒนาระบบการชำระเงินผ่าน QR Code กลางของธนาคารแห่งประเทศไทย

– การปรับปรุงกระบวนการทำงานในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุน

– เปิดศูนย์บริการแห่งอนาคต เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเปิดตัว 4 ต้นแบบ “ศูนย์บริการลูกค้ารูปแบบเฉพาะ” ได้แก่ SCB Express, SCB Investment Center, SCB Business Center และ SCB Service Center

 

Going Upside Down

สำหรับปี 2018 ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าปรับทัพองค์กร รองรับกระแสดิจิทัลไหลบ่า ขับเคลื่อนแบงก์สู่แพลตฟอร์มที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ภายหลังนำ Transformation สร้างรากฐานองค์กรใหม่ลุล่วงไปกว่า 50% ในปี 2018 ธนาคารนำกลยุทธ์ “Going Upside Down”(กลับหัวตีลังกา) การทำสิ่งที่ตรงข้ามกลับสิ่งที่เคยทำมา โดยมีเป้าหมายสูงสุดในอีกสามปีข้างหน้าเพื่อเป็น Digital Platform ขนาดใหญ่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลเป็นหลัก และไม่ใช่เพียงแต่เป็นธนาคาร แต่จะต้องเป็นตัวเชื่อมสังคมและธุรกิจเข้าไปด้วยกัน Going Upside Down  มีแนวทางในการดำเนินงานที่สำคัญ 5 เรื่อง  ได้แก่

1.Lean the Bank (เพิ่มประสิทธิภาพธนาคาร) 2.High Margin Lending (ปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง) 3.Digital Acquisition (การดำเนินธุรกิจในโลกดิจิตอล) 4.Data Capabilities (เพิ่มขีดความสามารถในการใช้ข้อมูล) 5.New Business Model (ธุรกิจรูปแบบใหม่)

 

LEAN SCB

ที่ผ่านมา SCB เริ่ม Lean เพื่อสร้างความคล่องตัวมากขึ้น ด้วยการปรับลดจำนวนสาขา รวมไปถึงการเปลี่ยนช่องทางให้บริการตรงความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น SCB Express หรือ Business Center ตามจุดสำคัญต่างๆ เป็นต้น รวมไปถึงนำเอาดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาให้บริการทางการเงินด้วย  สำหรับในแง่บุคลากรมมีการโยกย้ายพนักงานจากพนักงานสาขา(ที่ปิด)ไปเป็นพนักงานบริหารความมั่งคั่งมาก รวมไปถึงการเทรนน์พนักงานให้มีทักษะด้านดิจิทัลมากขึ้น

การนำเอาดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาให้บริการกับลูกค้าแทนวิธีการ Human Process  ภายใน 3 ปี จะทำให้การลดลงของสาขาอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าสาขา Traditional จะลดลงเหลือ 400 สาขา จากปัจจุบันมีอยู่ 1,153 สาขา  ขณะเดียวกันจำนวนคาดว่าจะเหลือ 15,000 คน จากปัจจุบันมีพนักงานทั่วประเทศรวมอยู่ 27,000 คน และการลดจำนวนพนักงานไม่ใช่การปลดพนักงานหรือ Lay off แต่เป็นการโยกย้ายพนักงานเดิมไปทำตำแหน่งหรือหน้าที่อื่นที่เหมาะสม เช่น พนักงานบริหารความมั่งคั่ง Welath & Private Banking  อีกทั้งโดยเฉลี่ยจำนวนพนักงานลาออก 3,000 คนต่อปี  ทั้งหมดจะส่งผลทำให้ Cost to serve  หรือ ต้นทุนการบริการลดต่ำลงได้อีกทาง

“เดิมทีเราคิดว่าเราเป็นยักษ์ใหญ่มาก่อน แต่จริงๆแล้วคือความเชื่องช้า ตัดสินใจช้า และมี Innovation น้อย เพราะเนื่องจากระบบของธุรกิจธนาคารเดิมต้องเน้นสร้างความมีวินัยเป็นหลัก  แต่การทำธุรกิจปัจจุบันต้องขนาดองค์กรไม่ใหญ่ มีความกระชับกระเฉง มีความรวดเร็วในการตัดสินใจ เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  ดังนั้นการ Lean องค์กรจึงอยู่ในกลยุทธ์ในปี 2018”

 

ลดเพื่ออยู่รอด

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ โครงสร้างรายได้ของธนาคารเริ่มเปลี่ยนไป จากในอดีตที่ธนาคารอาจจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 30% และอีก 70% เป็นรายได้จากดอกเบี้ย  แต่จากนี้ไปรายได้จากค่าธรรมเนียมจะค่อย ๆ ลดลงจากค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเคยได้จากการให้บริการโดยการใช้คน ปัจจุบันเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่การบริการอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ต้นทุนในการให้บริการลูกค้าลดลงอย่างมาก ในปี 2561 จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง มิใช่เพียงให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่เพื่อให้ลูกค้าอยากมาใช้บริการมากขึ้น

“ถ้าเทียบกับแพลตฟอร์มอย่าง facebook , line , lazada ซึ่งมี cost to serve ต่ำกว่ามาก องค์กรใหญ่จึงต้องยิ่งลด cost to serve ลดลงเร็วเมื่อไหร่  สามารถเปิดเกมส์ได้เองเร็วเท่านั้น (เป็นผู้เขี่ยบอล) ถ้าเราไม่เปลี่ยนตัวเองเพื่อสร้างขีดความสามารถใหม่ เราจะแต่นั่งดูสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น    แต่อย่างน้อยเราต้องทำให้เราตัวเบามากที่สุด”  ธนา เธียรอัจฉริยะ กล่าวเสริม

 

รวมพลังพาร์ทเนอร์

นอกจากนี้ ธนาคารต้องสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ผ่านการจัดโครงสร้างบริการของธนาคารและบริษัทในกลุ่มทั้งหมด โดยโครงสร้างใหม่จะต้องเอื้อต่อการทดลองเรื่องใหม่ ๆ ให้เกิดได้ง่ายขึ้น เช่นที่ธนาคารได้ตั้ง ดิจิทัลเวนเจอร์ บริษัทลูกด้านเทคโนโลยี และ เอสซีบี อบาคัส บริษัท Data Tech ที่ใช้นวัตกรรมอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) รวมทั้งการแสวงหาพันธมิตร Startup ใหม่ๆที่จะช่วยเสริมขีดความสามารถและโอกาสใหม่ๆให้กับองค์อีกด้วย

 

อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอ นอกจากจะโชว์วิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจธนาคารที่อยู่ในช่วงฝุ่นตลบแล้วยังกล่าวทิ้งท้ายว่า “แผนยุทธศาสตร์ที่กล่าวภายในจะมีการประเมินผลงาน หากถ้าปีนี้ไม่มีความสำเร็จอย่างที่ตั้งเอาไว้  ผมคงต้องไล่ตัวเองออกไป ถ้าไม่ถึงเป้าหมายเราต้องมานั่งถามตัวเองว่าเราเป็นผลักดัน หรือ เป็นปัญหาขององค์กรหรือเปล่า”

 


แชร์ :

You may also like