HomeFeaturedยุทธศาสตร์ Shopee เจาะตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยเริ่มที่เอาชนะใจคนท้องถิ่น ทั้งลูกค้าและพนักงาน

ยุทธศาสตร์ Shopee เจาะตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยเริ่มที่เอาชนะใจคนท้องถิ่น ทั้งลูกค้าและพนักงาน

แชร์ :

จากตัวเลขของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ระบุว่า E-Commerce ในประเทศไทยเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีอัตราเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% มาโดยตลอด และคาดว่าสิ้นปี 2560 ที่ผ่านมา จะเติบโตได้สูงสุดถึง 14% หรือมีมูลค่าประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท เพิ่มจากมูลค่าใน 2 ปีก่อนหน้าที่มียอดขาย 2.5 ล้านล้านบาท และ 2.2 ล้านล้านบาท ตามลำดับ นั่นทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่างหอมหวล ยักษ์ใหญ่หลายรายเข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงเม็ดเงินช้อปปิ้งของคนไทย โดยแต่ละรายก็ขนเอาเทคโนโลยีและอำนาจในการลงทุนมาเต็มสูบShopee (ช้อปปี้) แพลตฟอร์ม E-Commerce ที่ถือว่าเป็นมหาอำนาจใกล้คนไทยมากที่สุดจากสิงคโปร์ เป็นผู้เล่นรายใหญ่อีกรายที่มีความน่าสนใจ วันนี้ BrandBuffet ขอนำเสนอแนวคิดของช้อปปี้ในการบุกตลาดเมืองไทย ที่งานนี้มาพร้อมกับไอเดียที่น่าสนใจทั้งการลุยตลาด และการสร้างบุคลากรจากภายในให้พร้อมรบในสนามการแข่งขัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Localization เข้าใจมากกว่าก็เข้าถึงมากกว่า

Shopee เริ่มต้นธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วง เดือนตุลาคม 2557 ในเวลาไล่เลี่ยก็ขยายตลาดเข้าสู่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7 ประเทศ รวมทั้งไต้หวัน โดยกลยุทธ์หลักที่ทางช้อปปี้เชื่อมั่น 2 เรื่อง ก็คือ 1. ความเข้าใจอินไซต์ลูกค้าแต่ละพื้นที่ ดังนั้น จึงใส่ใจกับการศึกษาและอัพเดทความเปลี่ยนแปลงของตลาดอยู่ตลอดเวลา 2. การพัฒนาประสบการณ์ให้การช้อปปิ้งผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องง่าย

Agatha Soh Head of Regional Marketing เปิดเผยว่า “ช้อปปี้ให้ความสำคัญกับเรื่องประสบการณ์การ ช้อปปิ้งอย่างมาก ดังนั้นเราศึกษาโดยอาศัยทาเลนต์ในแต่ละประเทศ เพราะเราเชื่อว่าผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่มีความต้องการที่ต่างกัน แล้วคนที่เข้าใจผู้บริโภคได้ดีที่สุดก็คือคนในพื้นที่นั้นๆ “ดังนั้นพนักงานของเราส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ และผู้ที่มีประสบการณ์ ซึ่งเปิดกว้าง พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ อีกทั้งยังพัฒนาและปรับตัว สนุกที่จะเรียนรู้ เพราะธุรกิจของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คนที่จะทำงานในองค์กรที่มีเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานได้ จึงต้องพร้อมอยู่ตลอด และถึงแม้ว่าทุกวันนี้เราจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เติบโตเร็วมาก แต่เราก็พยายามจะรักษา DNA ของความเป็นสตาร์ทอัพไว้อยู่เสมอ”

ด้วยเหตุนี้ ช้อปปี้ จึงมีพนักงานเป็นคนไทยราว 90-95% ขององค์กร และเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพ สามารถเข้าใจและตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นที่มาของอินไซต์เด็ด ซึ่งออกแบบระบบ รวมทั้งหน้าตาของแอปพลิเคชั่นเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ

คนไทยต้องรูปโดนๆ และใช้งานง่าย

จากนโยบายของบริษัทแม่ ที่เชื่อว่า ประเทศที่อีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตอย่างในเอเชีย มีพฤติกรรมเริ่มต้นในการช้อปปิ้งออนไลน์ ต่างจากประเทศแถบตะวันตก หรือสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ คนในเอเซียจะก้าวข้ามการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ในคอมพิวเตอร์ ไปสู่การซื้อ-ขายผ่านสมาร์ทโฟนเลย ดังนั้น ช้อปปี้ จึงให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานช่องทางนี้มากเป็นพิเศษโดยหัวใจหลักอยู่ที่ความ ง่าย ของทั้งฝั่งผู้ซื้อ และผู้ขาย รูปแบบการออกแบบ User Experience และ User Interface ก็เป็นอีกเรื่องที่ช้อปปี้เรียนรู้ พร้อมจัดให้คนไทย

“คนไทยใช้โซเชี่ยลมีเดียเยอะมาก และมีปฏิสัมพันธ์สูงชอบไลค์ ชอบคอมเมนต์ถ้าคอนเทนท์โดนใจ นอกจากนี้คนไทยยังชอบดูรูปมากๆ ดังนั้นเราจึงต้องออกแบบการนำเสนอให้ตรงกับความต้องการ มีรูปที่โดดเด่น นอกจากนี้คนไทยยังชอบแชทมากๆ ด้วย นี่คือเหตุผลที่เราต้องมีฟีเจอร์แชทระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้สื่อสารกันโดยตรง ซึ่งสถิติบอกเราว่าผู้บริโภคคนไทยใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อติดต่อสอบถามกับผู้ขายเป็นอันดับต้นๆ เลยทีเดียวเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งเราก็มีฟีเจอร์นี้ให้บริการเช่นเดียวกัน”

ไม่ใช่แค่การออกแบบประสบการณ์ตั้งแต่ First Impression ไปจนถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อ- ผู้ขายเท่านั้น การสื่อสารการตลาดก็เป็นอีกส่วนที่ถูกปรับมาให้เขากับผู้บริโภคคนไทย เมื่อช้อปปี้สร้างความฮือฮาคว้าตัว ณเดชน์ คูกิมิยะ และ ญาญ่า-อุรัสยา มาเป็นพรีเซนเตอร์คู่ คุณอากาธา อธิบายว่า “เราพยายามคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่สุดที่จะมาสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เราจึงมีแนวคิดว่า ควรเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ที่ทุกคนชื่นชอบ รวมถึงมีไลฟ์สไตล์แบบคนรุ่นใหม่อีกด้วย ทั้งคู่ก็เป็นคู่ที่น่ารัก โด่งดังอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เมื่อผู้บริโภคเห็นแล้วมีความรู้สึกว่าเขา คือ “Life Partner” ซึ่งการใช้พรีเซนเตอร์ในลักษณะนี้ไม่ได้มีในทุกประเทศเนื่องจากความแตกต่างทางด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค

นอกจากนี้ยังมีเกมส์ที่ E-Commerce ทั้งหลายอัดโปรโมชั่นกันเดือดในช่วง 9.9 หรือ 11.11 และ 12.12 Super Sale สุดฮิตที่แทบจะกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วของอุตสาหกรรมนี้ ช้อปปี้ก็ทำได้ดีไม่แพ้ใคร ในแคมเปญใหญ่ 9.9 มีผู้ใช้งานเข้าเยี่ยมชม (Visitors) เพิ่มขึ้นถึง 3.5 เท่า นับเป็นสถิติใหม่ที่งดงาม ในขณะที่แคมเปญส่งท้ายปี 12.12 ก็ช่วยดันให้มียอดสั่งซื้อถึง 2.5 ล้านครั้งภายใน 24 ชั่วโมงของวันที่ 12 ธันวาคม

ทั้งหมดนี้เพื่อเอาใจลูกค้านักช้อปออนไลน์ชาวไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาในแพลตฟอร์มโดยเฉลี่ย 23 นาที เพื่อเลือกซื้อสินค้า โจทย์ใหญ่อยู่ที่ทำอย่างไรให้ 23 นาทีนั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข และคุ้มค่าที่สุดของผู้บริโภค

E-Commerce: จากโปรโมชั่น สู่ความยั่งยืน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการแข่งขันที่เข้มข้มทำให้เจ้าของแพลตฟอร์มแต่ละราย พร้อมที่จะทุ่มทำ “โปรโมชั่น” “โปรโมชั่น” และ “โปรโมชั่น”  ชนิดที่ถ้าหากว่าสวมหมวกในฐานะ Users ละก็ต้องยิ้มแก้มปริกับส่วนลดแล้วก็กดสั่งซื้อแทบไม่ทัน แต่ในมุมนักการตลาดละทำอย่างไรจึงจะเกิดความยั่งยืน คุณอากาธา มองเป็นเรื่องใหญ่ 4 ประเด็น ประกอบด้วย

Product สินค้าที่นำเสนอขายบนแพลตฟอร์มต้องมีความหลากหลาย ตอบรับความต้องการของผู้บริโภคในทุกๆ ไลฟ์สไตล์ของชีวิต และพร้อมสำหรับผู้ใช้งานทุกคน เมื่อเข้ามาช้อปปิ้งแล้วสามารถหาสินค้าเจอได้ครบทุกประเภท

User Experience ทำให้ทั้งฝั่งผู้ซื้อ และผู้ขาย ใช้งานได้สะดวก รวมไปถึงการชำระเงิน และการขนส่ง ซึ่งนี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยทางฝั่งของ ช้อปปี้ทราบดีว่าความท้าทายของอุตสาหกรรมก็คือ การทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัยที่จะซื้อสินค้า และชำระเงิน รวมไปถึงการส่งซึ่งในบางประเทศกับสินค้าบางอย่าง ลูกค้ามีความต้องการให้จัดส่งภายในวันเดียว ซึ่งถ้าหากทำได้ก็จะสร้างความรู้สึกเชิงบวกจนนำไปสู่การเป็นลูกค้าประจำ

Seller Empowerment การพัฒนาคุณภาพของผู้ขาย รวมถึงพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ช้อปปี้มีการจัดโปรแกรม Shopee University เพื่อเทรนผู้ขาย ให้มีความพร้อมกับการขายสินค้าออนไลน์ เนื้อหาแตกต่างกันไปตามระดับ เช่น คอร์สถ่ายภาพเพื่อการขายสินค้าออนไลน์ การสร้างคอนเทนต์ หรือ การนำผู้ขายที่ประสบความสำเร็จมาแบ่งปันประสบการณ์ เป็นต้น

Open Environmental Working สปิริตของการแบ่งปัน เพราะว่าเป็นธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้นคนในองค์กรจึงต้องแชร์ประสบการณ์ ความรู้เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน และมีการเทรนภายใน ทั้งในส่วนของ Hard Skill ที่จำเป็นในหน่วยงานตนเอง และ Soft Skill เพื่อพัฒนาแนวคิดของตัวเองอยู่เสมอ นอกจากนี้   ในฐานะผู้บริหาร คุณอากาธาบอกว่าต้องพร้อมรับฟัง และมี HR ที่คอยช่วยสำรวจความต้องการของพนักงานอยู่ตลอด เพื่อจัดสรรสวัสดิการตามความเหมาะสม ซึ่งที่นี่ก็มีวัฒนธรรมองค์กรเท่ๆ แบบบริษัทเทคโนโลยี เช่น ขนมที่ทานได้ไม่จำกัด ห้องนวดที่พนักงานสามารถใช้ได้ กับกิจกรรมในแต่ละเดือนที่ดริงค์กันอย่างสนุกสนาน เปิดโอกาสให้พนักงานแต่ละแผนกทำความรู้จักกัน

ซึ่งในเรื่องนี้ BrandBuffet มีโอกาสเจาะลึกจากพนักงาน 2 ท่านที่ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรและ DNA ในแบบของช้อปปี้มาโดยตรง

ต้นแบบ Fast Company  

เพื่อทำให้การขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตตาม Vision ที่วางไว้อย่างชัดเจน การเติบโตของบุคลากรในช้อปปี้จึงเป็นเรื่องที่องค์กรแห่งนี้ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะระยะเวลาเพียง 2 ปีกว่า จำนวนพนักงาน ช้อปปี้ในประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จากช่วงเริ่มต้นที่มีคนไม่ถึง 10 คน แต่ปัจจุบันมีพนักงานรวมกันเกือบ 400 คนแล้ว การที่จะสร้างให้พนักงานแต่ละคนทำงานภายใต้ทิศทางเดียวกันจึงเป็นโจทย์ใหญ่

โดยเฉพาะผู้เข้ามาร่วมงานกับ Shopee ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นบุกเบิกธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ที่ปัจจุบันก็ยังคงสนุกกับการทำงาน และมีโอกาสได้รับมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีความท้าทายเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับสองผู้บริหารหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง อย่าง คุณศิลป์ – ศิวกร สิริวงศ์ภาณุพงศ์ Head of Category Management และ คุณแบงค์ – กรินทร ตั้งทวี Customer Experience, Team Lead ที่สามารถก้าวขึ้นระดับผู้บริหารในสายงานที่รับผิดชอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว แม้ว่าทั้งสองคนจะไม่มีประสบการณ์งานทางด้านอีคอมเมิร์ซมาก่อนก็ตาม

นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า ทั้งสองคนสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เร็วกว่าคนในวัยไล่เลี่ยกัน หากเป็นองค์กรอื่นๆ โอกาสที่จะได้ขึ้นถึงระดับผู้บริหารในระยะเวลาอันสั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ด้วยบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้างแบบในช้อปปี้ทำให้ทั้งสองมีโอกาสได้แสดงความสามารถในการบุกเบิกสิ่งใหม่ๆ และสร้างสิ่งแตกต่างอยู่เสมอ ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ทั้งต่อธุรกิจและผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งของร้านค้าหรือลูกค้าก็ตาม

สำหรับรายละเอียดของเนื้องานนั้น คุณศิลป์ ทำหน้าที่ดูแลการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มเพื่อสร้าง Community ให้ตอบโจทย์ทั้งคนค้าขายและผู้มองหาสินค้า ด้วยการพยายามนำสินค้าที่ตลาดต้องการมารวมไว้บนแพลตฟอร์มให้ครบทุกหมวดหมู่และมีความหลากหลายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจของตัวเอง ธุรกิจหรือร้านค้าขนาดกลาง รวมทั้งสินค้าภายใต้แบรนด์สินค้าต่างๆ ซึ่งนอกจากการให้บริการแพลตฟอร์มที่ในขณะนี้ยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านแล้ว ช้อปปี้ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาทักษะการทำธุรกิจของร้านค้าต่างๆ ด้วยการจัดคอร์สอบรมหรือเทรนนิ่งโปรแกรม ที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ทุกธุรกิจที่อยู่บนแพลตฟอร์มนี้มีโอกาสเติบโตไปพร้อมกัน

ขณะที่ คุณแบงค์ จะให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ต่างๆ ให้ตอบโจทย์ผู้มาใช้งานบนแพลตฟอร์ม โดยอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจอินไซต์และพฤติกรรมของคนไทย รวมทั้งพยายามออกแบบให้ ช้อปปี้เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ง่ายและมีความปลอดภัย รวมทั้งการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น เพื่อให้ช้อปปี้เป็นแพลตฟอร์มที่มีความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ช่วยทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการทุกระดับได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครื่องมือหรือฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อรองรับทั้งการช่วยเรื่องการขาย การจัดการข้อมูลธุรกิจ หรือสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าแล้ว ยังมีโซลูชั่นส์ที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจเพิ่มเติม เช่น ระบบลอจิสติกส์ที่เชื่อมโยงเพื่อช่วยติดตามการขนส่งสินค้าอีกด้วย

โอกาสเติบโตของผู้ชอบความท้าทาย

ทั้งสองคนมีความเห็นตรงกันว่าการทำงานที่ ช้อปปี้ เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้รูปแบบและวิธีทำงานของ Technology Company ที่ผสมผสานกับความเป็นสตาร์ทอัพ เน้นความคล่องตัวในการทำงาน สร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่างและแปลกใหม่ เรียนรู้และเข้าใจตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจเติบโตได้แบบก้าวกระโดดในระยะเวลาเพียงไม่นาน และเป็นโอกาสให้ผู้ร่วมงานเติบโตได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

ขณะที่ Shopee มีข้อได้เปรียบกว่าสตาร์ทอัพทั่วไปในเรื่องของความมั่นคง เพราะอยู่ในเครือของ SEA (เดิมคือ Garena) เจ้าของแพลตฟอร์มเกมส์ที่แข็งแรงที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แถมยังพ่วงด้วยแพลตฟอร์มชำระเงิน Air Pay ทำให้มีทรัพยากรมากพอสำหรับการขยายธุรกิจและผลักดันการเติบโตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งโอกาสที่จะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนการทำงานจากเครือข่ายธุรกิจที่มีอยู่ใน 7 ประเทศ ของอาเซียนและไต้หวัน เพื่อสามารถนำมาใช้ต่อยอดและพัฒนาธุรกิจให้เติบโต รวมทั้งเป็นการยกระดับและพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ

คุณศิลป์ และ คุณแบงค์ ให้ความเห็นต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานที่ Shopee ไว้ในทิศทางเดียวกันคือ Shopee เปิดกว้างให้ทุกคนมีโอกาสได้เติบโต รวมทั้งได้เริ่มทดลองทำสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งการอยู่ในองค์กรที่อยู่ระหว่างเติบโตและขยายงานจะทำให้พนักงานมีโอกาสได้แสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่ และมีโอกาสได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงานแต่ละวัน จึงช่วยพัฒนาทักษะที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาที่หลากหลาย และการปรับตัวท่ามกลางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

หลายคนอาจสนใจและอยากเข้ามาร่วมงานกับ Shopee แต่กังวลว่าไม่มีประสบการณ์การทำงานด้านอีคอมเมิร์ซ หรือเรียนมาทางสายเทคโนโลยีโดยตรง แต่ทักษะสำคัญที่สุดที่ทั้งคุณศิลป์ และคุณแบงค์มองว่าจำเป็นมากที่สุดในการเข้ามาร่วมงานกับ Shopee คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล มีความพร้อมและชื่นชอบที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานใหม่ๆ รวมทั้งมีความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ต่างๆ และสภาพตลาดได้เป็นอย่างดี ขณะที่ความรู้และความสามารถในการทำงานเชื่อว่าจะสามารถเข้ามาเรียนรู้ระหว่างการทำงานเพิ่มเติมได้

นับว่า Shopee เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้สนใจและมองหาโอกาสที่จะได้ทำงานกับ Technology Company ที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนและโอกาสในการเติบโตแล้ว ยังอาจได้รับโอกาสที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยยกระดับและสร้างประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของผู้คนได้มากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานได้อีกทางหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน Shopee มีผู้ดาวน์โหลดแอปฯ แล้ว มากกว่า 10 ล้านครั้ง และมีรายการสินค้าที่แอ็คทีฟถึง 8 ล้านรายการ ร้านค้ากว่า 500,000 ราย และแบรนด์ใหญ่อื่นๆอีกมากมาย ปี 2561 นี้ จะเป็นปีที่ Shopee ดำเนินธุรกิจบุกทำตลาดอย่างต่อเนื่อง และเรียนรู้เพื่อพัฒนาบริการต่อไป


แชร์ :

You may also like