Homeข่าวไอทีไทย ติดท๊อปต้องการซื้อ ‘รถยนต์พลังงานไฟฟ้า’ มากที่สุด และ นิสสัน ลีฟ เตรียมขายใน “ไทย” ปี 2019

ไทย ติดท๊อปต้องการซื้อ ‘รถยนต์พลังงานไฟฟ้า’ มากที่สุด และ นิสสัน ลีฟ เตรียมขายใน “ไทย” ปี 2019

แชร์ :

หลังจากได้เปิดตัว นิสสัน ลีฟ ใหม่ (NEW Nissan LEAF) เมื่อกันยายน ปี 2560 ล่าสุด นิสสัน เดินหน้าประกาศความพร้อมจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ทุกคนรอคอย (EV) NEW Nissan LEAF ในประเทศไทยและอีก 6 ประเทศแถบเอเชียและโอเชียเนีย ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้  ซึ่งสำหรับประเทศไทยผู้บริหารคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายในปีงบประมาณหน้า (ประมาณเมษายนปี 2019)  

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ยานยนต์แห่งอนาคต

New Nissan LEAF 2018 มาพร้อมคอนเซ็ปต์ Nissan Intelligent Mobility ซึ่งถือได้เป็นแนวคิดหลักของนิสสันแห่งอนาคต  พร้อมกับมีขีดความสามารถด้านการขับขี่อัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น  ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ เช่น ระบบช่วยจอดอัตโนมัติที่สามารถช่วยจอดได้ทั้งแบบเข้าซองและจอดขนาน ProPILOT Park และ e–Pedal ระบบเร่ง ลดความเร็ว และ หยุดรถ จากแป้นเหยียบเพียงอันเดียว รวมไปถึงเป็นรถที่มีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero-emission vehicle) และยังมาพร้อมกับขุมพลัง 147 แรงม้า แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 320 นิวตันเมตร

แบตเตอรี่ขนาด 40 kWh โชว์จุดเด่นความเป็นรถยนต์ทีขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทำให้สามารถวิ่งได้ไกลถึง 400 กิโลเมตรจากการชาร์จไฟเต็มเพียงครั้งเดียว (ตามมาตราฐาน JC08, Japan) และ 150 ไมล์ (241 กิโลเมตร) ภายใต้มาตรฐาน EPA

ความปลอดภัย-ความสะดวก มาก่อน

นิสสัน ร่วมกับ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (Frost and Sullivan) ที่ปรึกษาด้านสำรวจและวิจัยผู้บริโภคด้านเทคโนโลยี เปิดผลการศึกษา อนาคตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Future of Electric Vehicles in South East Asia) พบว่า 1 ใน 3 ตั้งใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในครั้งถัดไป โดย Top  3 ประเทศแรกที่มีความต้องการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด  คือ  ฟิลิปปินส์ (46%) ไทย (44%) และ อินโดนีเซีย (41%)

ผลสำรวจยังพบว่า มาตรฐานความปลอดภัย และ ความสะดวกในการชาร์จ ยังเป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับในการเลือกซื้อรถ EV โดย มาตรฐานความปลอดภัย คิดเป็น 66%  รองลงมาเป็น ความสามารถในการชาร์จที่ทำงาน (61%) และ ความสามารถในการชาร์จที่บ้าน (61%) แต่สำหรับสิงคโปร์ ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐฯ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการซื้อด้วย

ขจัดกำแพงกั้นการตัดสินใจซื้อ

ถึงแม้จะมีความต้องการต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สูง แต่ก็ยังมีอุปสรรคหลายด้านเช่นกัน อาทิ การขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง  ความกังวลใจเรื่องแบตเตอรี่จะหมดลงคืออุปสรรคหลักของการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เช่นเดียวกันกับที่ ลูกค้ายังไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

“การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของรถยนต์ขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้าจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงแนวทางการดำเนินการในระยะยาวที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละตลาด” นาย ยูตากะ ซานาดะ รองประธานอาวุโส ระดับภูมิภาคของนิสสัน กล่าวในงาน นิสสัน ฟิวเจอร์นี้ว่า “ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองว่าภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

“ขณะเดียวกัน เราในฐานะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ก็จะต้องทำงานให้ดียิ่งขึ้นเพื่ออธิบายว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีความปลอดภัย มีความชาญฉลาด และเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนในทุกสภาพอากาศ”  นาย ซานาดะ ยังเสริมด้วยว่า “รถยนต์ไฟฟ้าของนิสสันได้รับการทดสอบอย่างจริงจังในสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุด เรามีความภาคภูมิใจที่ลูกค้า นิสสัน ลีฟ จำนวน 300,000 รายได้ขับรถของเรา ไปมากกว่า 3.9 พันล้านกิโลเมตรทั่วโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยไม่มีปัญหาใหญ่ๆ เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่เลย”

ขณะที่ นาย วิเวก ไวทยา รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบขับเคลื่อนของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “ความเข้าใจในเรื่องรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบันไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงซึ่งสูงกว่ามาก ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อที่ว่า ราคาที่สูงของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเป็นอุปสรรค แต่จากการสำรวจเผยว่าผู้บริโภคกลับมีความกังวลด้านความปลอดภัยและการชาร์จไฟ ซึ่งหากภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐบาลสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ลงได้ ความเป็นไปได้ของยานยนต์ไฟฟ้าก็จะมีอยู่สูง

 

การส่งเสริมแบบไหนที่ผู้บริโภคต้องการที่สุด

  1. ลดภาษีรถ EV (75%)
  2. สถานีชาร์จในอพาร์ทเม้นต์ (70%)
  3. เลนพิเศษสำหรับรถ EV (56%)
  4. จอดรถฟรี (53%)
  5. ส่วนลดทางด่วน (53%)

 

ปัจจัยความสำเร็จรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล  นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย อีวี (EV)  กล่าวเสริมว่า 1. สินค้าหรือเทคโนโลยีเหล่านั้นต้องใช้งานง่าย สะดวกสบาย เพื่อง่ายต่อการปรับเปลี่ยนไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น การชาร์จไฟได้ง่ายที่บ้านเหมือนกับการชาร์จโทรศัพท์มือถือ ก็จะช่วยผลักดันให้มีการใช้งานมากขึ้น รวมไปถึง 2. การมีจุดชาร์จที่ครอบคลุมเส้นทางของผู้ใช้งาน(ในกรณีที่ใช้รถเป็นระยะ) และ 3. แรงสนับสนุนจากภาครัฐ ที่จะทำให้ Cost ราคาของรถยนต์ไฟฟ้านั้นถูกลง  เป็นตัวเร่งให้เกิดตลาดเกิดผู้ใช้โดยเร็วยิ่งขึ้น

“สำหรับสถานการณ์ทั่วโลกกลุ่มประเทศยุโรป ไม่ว่าจะเป็นฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์  นอร์เวย์ จะค่อนข้างทันสมัยมากๆในเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าเพราะมีการผลักดันให้ใช้มานานแล้ว และนิยมใช้นานแล้ว สำหรับประเทศไทยอยู่ในขั้นเพิ่งเริ่มโดยเป็นลักษณะนำเข้า ราคาสูง และยังถูกนำมาใช้ไม่มากนัก  ส่วนจุดชาร์จในประเทศจะมีมากกว่า 200 จุดในสิ้นปีนี้ และคาดว่าปี 208-2019 จะเริ่มเห็นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง และไทยจะกลายเป็นตลาดหลักและผู้นำอาเซียน”

 

Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like