กลายเป็นกระแส Talk บนโลกโซเชียล เมื่อธนาคารกสิกรไทย (KBank) ปล่อยหนังสั้น “Friendshi(t)p” แหวกกฎของชาวแบงค์ และการขายของแบบเดิมๆ จนทำให้ทั้ง “ฮุ่ย” สาวหน้าเด็กสุดเก๋กลายเป็นสาวฮอตทันที และคลิปนี้ก็ดังเป็นพลุแตก ยอดวิวทะลุ 20 ล้านวิวในเพียงเวลาสัปดาห์กว่าๆ มีกระแส MEME ของชาวโซเชียลที่สรรหาสตอรี่มาเล่น ที่แน่ๆ ทำให้ชื่อของ K PLUS แอปโมบายแบงกิ้งเป็นที่จดจำของมหาชน และขึ้นทะยานสู่ความ “แมส”
การขยับตัวของยักษ์ใหญ่โมบาย แบงกิ้ง ครั้งนี้ มีอะไรซ่อนอยู่มากกว่าแค่เปิดตัวหนังโฆษณา . ตั้งแต่วันที่กสิกรไทยเปลี่ยนชื่อแอปจาก K-Mobile Banking PLUS ให้เหลือสั้นๆ ง่ายๆ แค่ K PLUS ก็เป็นการประกาศจุดยืนเรื่องความแมส ด้วย tagline ว่า “ง่าย ใครๆ ก็ใช้” จากนั้น K PLUS ก็ปล่อยของมาเป็นระยะๆ ด้วยฟังก์ชันที่ทำให้เรื่องเงินทองจบได้ในแอปเดียว เช่น ซื้อขายกองทุนรวม การซื้อประกันการเดินทางระหว่างประเทศ หรือสมัครบัตรเดบิตใหม่ โดยไม่ต้องไปสาขา รวมถึงเรื่อง QR Payment ที่ K PLUS ก็ทำได้โดดเด่น จับมือเดินคู่กันไปกับแอป K PLUS SHOP สำหรับร้านค้ารายย่อย และการเพิ่มจำนวนพันธมิตรรายใหญ่ เช่น ปตท. แอมเวย์ เซ็นทรัล เมเจอร์ After You ในการเป็นจุดรับชำระเงินด้วย QR Code ก็ทำให้ผู้ใช้งาน K PLUS กว่า 7.5 ล้านราย มีจุดให้จ่ายเงินด้วย QR Code เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ
ครั้งนี้ K PLUS กลับมาสร้างความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ภายใต้คอนเซป “ง่ายๆ ตรงๆ ไม่คอมเพล็กซ์ แมสๆ” บอกกันตรงๆ ว่า K PLUS จะเป็นมากกว่า Mobile Banking แล้วนะ จากนี้ไป K PLUS จะกลายเป็น Lifestyle Platform ที่จะอยู่ในการใช้ชีวิตของทุกคน เริ่มกันระลอกแรกด้วย 4 ฟีเจอร์หมัดเด็ด ที่จะไม่ใช่แค่เรื่องการโอน-เติม-จ่ายแบบธรรมดา แต่จะพลัสชีวิตให้ง่ายขึ้นไปอีก
1.Quick Pay QR Code: ยังคงเดินเครื่องด้าน QR Code อย่างเต็มที่ กับฟีเจอร์ Quick Pay ที่ทำให้จ่ายเงินด้วย QR Code ได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้อง Login เข้าระบบ แค่เปิดแอปก็จ่ายได้เลย และถ้ากังวลเรื่องความปลอดภัย แอปก็มีระบบให้ตั้งวงเงินในการจ่ายโดยไม่ Login ต่อวันได้
2.ช้อปปิ้งออนไลน์ผ่าน K PLUS: ขาช้อปจับตามองให้ดี เพราะในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ เราจะสามารถซื้อของผ่าน K PLUS ได้เลย โดยในเมนู Life PLUS ของ K PLUS จะมีฟีดส์นำเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของเราให้เลือกซื้อได้เลย โดยเบื้องหลังความเจ๋งนี้ อยู่ที่ระบบ Machine Commerce ที่จะศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้แต่ละราย ซึ่งหากเจ้าของร้านค้าต้องการมีหน้าร้านออนไลน์ใน K PLUS ก็ลองติดต่อธนาคารดูได้เลย ลูกค้า K PLUS 7.5 ล้านราย(ในปัจจุบัน และจะเพิ่มเป็น 8 ล้านในสิ้นปีนี้) อาจกำลังรอซื้อสินค้าของคุณอยู่
3.ขายและเรียกเก็บเงินผ่านโซเชียล: สำหรับฟีเจอร์นี้ จะได้กรี๊ดกันทั้งคนซื้อและคนขาย เพราะการจ่ายเงินซื้อของออนไลน์จะง่ายกว่าเดิมไปอีก (ขาช้อประวังให้ดี) เพราะจากนี้ เมื่อตกลงซื้อขายสินค้ากันเสร็จแล้ว คนขายสามารถสร้างบิลในรูปแบบ QR Code จากในแอป K PLUS SHOP และส่งให้ลูกค้าได้ทางโซเชียลมีเดียทุกช่องทาง จากนั้นลูกค้าก็จะสามารถจ่ายเงินได้จาก QR Code นั้นผ่าน K PLUS ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลากรอกเลขบัญชีและจำนวนถูกๆ ผิดๆ ให้แม่ค้านั่งลุ้นรอเงินเข้าบัญชีอีกต่อไป
4.สินเชื่อส่วนบุคคลผ่าน K PLUS: จากนี้ การขอสินเชื่อจะง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องเตรียมเอกสาร ไม่ต้องเดินทางไปสาขา เพราะธนาคารจะเสนอสินเชื่อให้ลูกค้าได้โดยตรงผ่านเมนู Life PLUS ใน K PLUS หากวันไหนต้องการใช้เงิน แล้วมีแจ้งเตือนนำเสนอสินเชื่อเข้ามา ก็แค่กดตกลงและยอมรับเงื่อนไข เงินสินเชื่อจะโอนเข้าบัญชีทันที ง่ายอะไรเบอร์นั้น (แต่สินเชื่อก็คือการกู้ อย่าลืมผ่อนจ่ายทุกเดือนให้ตรงเวลาด้วยนะ)
เมื่อหนังสร้างการจดจำได้ดีเกินคาด บวกกับ 4 หมัดเด็ดนี้ที่เปิดแนวรุกขายตรงกับทั้งคนซื้อคนขาย เป้าหมายของการขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 10.8 ล้านราย น่าจะเป็นแนวโน้มที่ทำได้ไม่ยากเลย และจะยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับ K PLUS ในฐานะแชมป์ของแอปโมบาย แบงกิ้ง
เพิ่มเติมคลิก https://goo.gl/rrUjno