นับวันโลกการทำธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรอบด้าน ความต้องการลูกค้า การตลาดเปลี่ยน ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งกลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายผู้ประกอบการอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งโดยทั่วไปประสบปัญหาหลายประการ เช่น ขาดเงินทุน ขาดตลาดจำหน่ายสินค้า ขาดสายสัมพันธ์ที่ดีหรือ “คอนเน็คชัน” ขาดนวัตกรรมด้านการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือติดอาวุธให้กับธุรกิจแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดในสมรภูมิธุรกิจได้
แต่ถ้าหากเอสเอ็มอีต้องการติดอาวุธให้ธุรกิจ เชื่อว่า โครงการ “K SME Care” เป็นหนึ่งในคำตอบที่ดี เพราะ “ธนาคารกสิกรไทย” ได้สร้างเครือข่ายมิตรภาพทางธุรกิจที่เน้นความใส่ใจ ดูแลกัน มาแล้ว 23 รุ่น จำนวนนักธุรกิจกว่า13,000 คนจากทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มากว่า 10 ปี “จุดเด่น” ของโครงการคือ เชื่อมโยงผู้ประกอบการจากรุ่นสู่รุ่น เกิดคอนเน็คชันต่อยอดไม่รู้จบ ทำให้ผู้ประกอบการ มองเห็นโอกาส จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่หลากหลาย นำไปใช้ต่อยอดธุรกิจได้อย่างดี โครงการ K SME Care ไม่ได้มีแค่ความสัมพันธ์ในมุมธุรกิจเท่านั้นแต่มิตรภาพที่ บ่งบอกด้วย K และชื่อรุ่น เป็นเสมือนมิตรภาพเบิกทาง ที่ทุกคนพร้อมอาสาช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆยังเป็นโอกาสให้เจอเพื่อนใหม่ที่มีความชอบ หรือ ไลฟ์สไตล์เดียวกัน BrandBuffet ขอพาไปรู้จักความสัมพันธ์แรก ที่เกิดจากการมิตรภาพภายในรุ่น เลยคือ “Case K SME Care (นครปฐม)” เมื่อพี่สันติ K19 ชุบโครเมี่ยม และคุณเปิ้ล K19 ทำธุรกิจหลอมเม็ดพลาสติก ได้เกื้อกูลความรู้และประโยชน์แก่กัน
“คุณสันติ เจ้าของโรงชุบ บริษัท เอ.เอส แวคคัมโค้ทติ้ง จำกัด คร่ำหวอดในวงการธุรกิจชุบโครเมียมมา 15 ปี มีลูกค้านับร้อยราย แต่วงการธุรกิจที่อยู่ค่อนข้าง “แคบ” โดยเฉพาะเครือข่ายผู้ประกอบการ แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการ K SME Care รุ่น 19 ภาคกลาง (K19)” นอกจากได้รับองค์ความรู้จากคอร์สอบรมแล้ว มากกว่านั้นคือได้ “มิตรภาพ” ที่ต่อยอดเป็น คอนเน็คชั่น” จากเพื่อนร่วมรุ่นที่มาจากสายธุรกิจอื่นๆ เช่น ก่อสร้าง เจ้าของโรงงาน เจ้าของร้านอาหาร ฯ
แม้คอร์สอบรมจะจบรุ่นไป แต่มิตรภาพไม่ได้จบตาม สมาชิกในรุ่นก็ยังติดต่อกันมาโดยตลอดเป็นเวลากว่า 5 ปี “คุณสันติ” ยังช่วย “ถ่ายทอด” องค์ความรู้ด้านธุรกิจโรงชุบให้กับเพื่อนในรุ่น นั่นคือ “คุณเปิ้ล K19” เจ้าของธุรกิจหลอมพลาสติกเป็นเม็ดเกรด A และ B ธงชัยรีไซเคิล ได้แนะนำให้ทดลองนำพลาสติกรีไซเคิลไปผลิตสินค้าที่มี “นวัตกรรม” เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าพร้อมทั้งเป็น “ผู้ให้” แม่พิมพ์หรือโมล ในการผลิตสินค้ากล่องใส่กระดาษชำระ(ทิชชู่)ด้วย ถือเป็นคอนเน็คชั่นที่เกิดขึ้นและสร้างเป็นธุรกิจใหม่
“ความรู้หาที่ไหนก็ได้ แต่คอนเน็คชันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ทั่วไป อีกทั้งเพื่อนเอสเอ็มอียังช่วยเหลือกันด้านปัญญา ความรู้ ตักเตือนกันให้ทำธุรกิจระมัดระวัง เป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง”
ด้าน “คุณเปิ้ล K19” เจ้าของธุรกิจหลอมพลาสติกเป็นเม็ดเกรด A และ B ธงชัยรีไซเคิล กล่าวถึง “คุณสันติ” ว่าเป็นคนที่คอยให้คำแนะนำด้านการผลิตสินค้านวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงให้แม่พิมพ์สำหรับผลิตกล่องกระดาษทิชชู่ เลยต่อยอดธุรกิจพลาสติกที่ตนถนัด บวกกับเทคนิคชุบโครเมียมของคุณสันติ สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์เพิ่มโอกาสในการทำตลาดของพรีเมียม จากเดิม สินค้าพลาสติกที่เคยจำหน่ายในราคา 20 บาท “เพิ่มมูลค่า” ขายเป็น 40-50 บาท และพุ่งไปถึง 200 บาท
“ทำธุรกิจมา 20 ปี อุปสรรคที่พบมาตลอด คือการที่เราชินกับการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ไม่มีการปรับปรุง เราจึงมีลูกค้าเดิมๆไม่เพิ่มขึ้น เมื่อร่วมโครงการ ได้รู้จักเพื่อน ซึ่งแต่ละคนก็ทำธุรกิจ ได้เห็นโลกธุรกิจที่กว้างขึ้น จากประสบการณ์ของเพื่อน ได้คอนเน็คชัน กลายเป็นโอกาส และช่องทางขายใหม่ๆ”
เรื่องเล่าถัดมา : ต่างเจเนอเรชั่นแต่เติมเต็มประสบการณ์ “ จากผู้เข้าอบรม K SME Care ภาคตะวันออก ” เมื่อ “คุณชานนท์ อธิมติชัยกุล” (บุ๊ค) ผู้เข้าอบรม K SME Care รุ่น 23 (K 23) เจ้าของบริษัท เอเบิลอิสเทิร์นพาเลท ธุรกิจทำพาเลตไม้ทุกชนิด ได้เข้ามาสานต่อธุรกิจครอบครัว ด้วยความเป็นรุ่นใหม่อายุเพียง 28 ปีเท่านั้น สังคมธุรกิจในพื้นที่จึงไม่กว้างขวางนัก เผชิญปัญหาทางความคิดที่เกิดจากช่องว่างระหว่างวัยของตนและคนในครอบครัว เป็นต้น
เมื่อร่วมโครงการได้พบปะเครือข่ายนักธุรกิจมากมาย เป็น “จุดเปลี่ยน” ของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการได้พบคุณเจ๋ง K23 นักธุรกิจค้าไม้รายใหญ่ในชลบุรี วัย 55 ปี และเล่าปัญหาในการทำธุรกิจที่เผชิญอยู่ให้คุณเจ๋งฟัง ทำให้ทั้งคู่สนิทสนมกันเหมือน “พ่อ-ลูก” และได้รับคำเชิญจากคุณเจ๋งให้ไปดูโรงงานไม้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่สั่งสมมานานหลายสิบปี
คุณเจ๋ง ให้คำแนะนำการทำธุรกิจโดยไม่ปิดบังข้อมูลหลายด้าน ส่งผลให้คุณชานนท์ได้ไอเดียใหม่ๆ กลับต่อยอดธุรกิจครอบครัว เช่น การทำแล็คหรือชั้นเก็บไม้พาเลตเพื่อบริหารสต๊อกอย่างเป็นระบบ เศษซากไม้ที่ไม่ใช้งานนำไปขายให้เครือข่ายธุรกิจไม้ด้วยกัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบการจัดงานในโรงงานดีขึ้น ประหยัดต้นทุน และส่งผลให้รายได้เติบโตด้วย
จะเห็นว่า “คอนเน็คชันต่างวัย” กลับผสานกันได้อย่างลงตัว และนำไปขยายผลกับธุรกิจได้อย่างดี
ปิดท้ายที่เคสเครือข่ายนักธุรกิจ K SME Care ภาคใต้ ที่จับเทรนด์คนรักสุขภาพมาผนวกกับกิจกรรมเพื่อสังคม CSR เมื่อผู้ประกอบการ K ภูเก็ต ได้รวมตัวกันทั้งในรุ่นและต่างรุ่น ซึ่งต่างเคยเข้าร่วมเรียน K SME Care และแม้จะจบคอร์สอบรมไปแล้ว ยังมารวมตัวกันทำสิ่งดีๆ จัดกิจกรรมงาน “Run for life วิ่งต่อลมหายใจ ได้ทั้งสุขภาพ ได้ทั้งบุญ” เพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์บริจาคแก่โรงพยาบาลในจังหวัดที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์ช่วยชีวิตเด็กแรกเกิด
งานนี้ไม่มีการจ้างออแกไนเซอร์เพื่อจัดงานแต่อย่างใด เมื่อ ไพศาล นภาพงศ์สุริยา” คุณอยู่K17 ได้รับมอบหมายจากกลุ่มผู้ประกอบฯ ให้เป็นประธานการจัดงานวิ่ง ด้วยไลฟ์สไตล์ที่รักการวิ่ง และมีประสบการณ์การวิ่งมาหลายสนาม ได้ประสานงานรวมพลังเพื่อนๆที่มีความถนัด ในด้านต่างๆ จากเครือข่ายนักธุรกิจ K SME Care มาช่วยกันทำกิจกรรม และแบ่งงานตามความถนัดและความชอบของแต่ละคน เช่น “คุณหมัก K3” ท่านประธานชมรมฯ และ “คุณกระแต K22” ที่นอกจากดูแลส่วนการรับสมัครแล้ว ยังอาสาพาลูกน้องจากโรงแรมมาช่วยรับสมัครและแจกเสื้อผู้สมัครกว่า 2,000 คน “คุณจอม K19” เจ้าของ โรงเรียนดนตรี ก็ช่วยอำนวยความสะดวกสถานที่ช่วงรับสมัครและแจกเสื้อ “คุณปอนด์ K10” และ คุณใหญ่ K15” ทำบัญชีจนดึกดื่นเพื่อสรุปยอดเงินทุกวัน คนรุ่นใหม่อย่าง “คุณกิตต์ K15” และ “น้องนุคนิค K22” วัยรุ่นที่มีความถนัดด้าน ออนไลน์ ก็ทำหน้าที่ทำเพจโปรโมทงานได้อย่างดีจนงานเป็นที่รู้จักมีผู้สมัครเข้ามาอย่างล้นหลาม คุณแหม่ม K 15 ผู้กว้างขวางก็เชื่อมโยงสมาชิกรุ่นต่างๆ ให้มีส่วนร่วมทั้งด้านอาหารและผู้สนับสนุนกิจกรรมในด้านต่างๆ คุณก๊อต K22 เจ้าของโรงพิมพ์ ก็รับอาสาผลิตสื่อทั้งหมดและดูแลความเรียบร้อยของสถานที่เป็นต้น
การรวมพลังกันครั้งนี้ นอกจากงานประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดี พลังของทุกคนยังช่วย “ลดต้นทุน” ในการจัดกิจกรรมได้อย่างมาก ยิ่งกว่านั้น คือการได้เห็น “คอนเน็คชัน” ที่ทุกคนมีต่อกันอย่างเหนียวแน่น แม้จะเรียนจบคอร์สไปแล้วก็ตาม
จะเห็นว่าโครงการ K SME Care ไม่ใช่แค่การอบรมให้ความรู้ แต่คือ พลังมิตรภาพจากเครือข่ายเจ้าของธุรกิจ ที่สร้าง “คอนเน็คชัน” ที่ดีต่อกัน ทำให้ทุกคนที่ผ่านการอบรมสามารถนำกลับไปต่อยอดธุรกิจ สร้างสิ่งใหม่ ตลอดจนกิจกรรมดีๆได้ไม่รู้จบ