HomeDigitalUPS เผย Online Shopper ในเอเชีย เติบโตสูง แต่กลับไม่ได้รับประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจ

UPS เผย Online Shopper ในเอเชีย เติบโตสูง แต่กลับไม่ได้รับประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจ

แชร์ :

[fb_embed_post href=”null/” width=”null”/]


ผลการศึกษา 
UPS Pulse of the Online Shopper™  เผยว่าขณะที่นักช็อปในเอเชียหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงส่งผลให้ความต้องการด้านบริการจัดส่งฟรี การส่งที่รวดเร็ว  และนโยบายการรับคืนสินค้าที่ให้ความสะดวกกับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น โดยมองว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่ควรมีให้บริการ ผลจากการวิจัยซึ่งยูพีเอสว่าจ้างให้จัดทำขึ้นเป็นปีที่หกนี้ สะท้อนให้เห็นทั้งภาวะที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและแนวโน้มใหม่ ๆ ที่ส่งผลให้พฤติกรรมและความชื่นชอบของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ทั้งใน จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ยุโรป และบราซิล โดยผลการศึกษาแบ่งออกเป็นสามส่วน ประกอบด้วย Constants, Movers และ Emergers

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ซิลวี แวน เดน เคอร์คอฟ รองประธานฝ่ายการตลาด ยูพีเอส เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า “ผลการวิเคราะห์กระบวนความคิดและแรงผลักดันของนักช็อปหลายพันคนจากทั่วโลกเผยให้เห็นว่า นอกจากต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว การจัดส่งที่ชาญฉลาดและการรับคืนสินค้า คือสิ่งที่ทำให้ผู้ค้าสามารถครองใจและรักษาลูกค้าได้ ทั้งยังช่วยทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีก และส่งผลให้นักช็อปเลือกสินค้าใส่ตะกร้าจ่ายเงินมากขึ้น ทั้งบนช่องทางออนไลน์และในร้านค้า”

รัสเซล รี้ด กรรมการผู้จัดการ ยูพีเอส ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมอร์ซของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต22% ต่อปีต่อเนื่องจนถึงปี 2563อุตสาหกรรมค้าปลีกออนไลน์ของไทยมีความโดดเด่น ด้วยธุรกิจขนาดเล็กและกลางจำนวนมากที่อาศัยกลยุทธ์การตลาดบนแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ทั้ง LINE, Facebook และ Instagram เพื่อเข้าถึงนักช็อปออนไลน์ ยูพีเอสมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้ประสบความสำเร็จด้วยโซลูชั่นด้านโลจิสติกส์อันหลากหลายที่จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการส่งสินค้าและรับคืนสินค้า พร้อมทั้งช่วยเชื่อมโยงสู่ตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์การค้าปลีกแบบไร้รอยต่อ

Constants: นักช็อปออนไลน์ในเอเชียยังคงไม่พึงพอใจกับการซื้อสินค้าออนไลน์ และสรรหาร้านค้าที่ให้บริการส่งฟรี ส่งได้รวดเร็ว และรับคืนสินค้า

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ มีเพียง 57% ของนักช็อปในเอเชียที่มีความพึงพอใจกับประสบการณ์การช็อปออนไลน์ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ และเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมาเพียง 11 จุดจากปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 46แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างพึงพอใจให้ลูกค้าเกิดขึ้นช้ามาก

ประสบการณ์ในด้านอื่น ๆ ที่ยังคงมีความสำคัญอย่างต่อเนื่องและมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าคือ การส่งที่ฟรีและรวดเร็ว เช่นเดียวกับการรับคืนสินค้าที่ง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย กล่าวคือ นักช็อปออนไลน์ในเอเชียชื่นชอบบริการส่งสินค้าฟรี ซึ่งมีสัดส่วนเฉลี่ยถึง 85% ของการสั่งซื้อทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการให้บริการส่งฟรีคือความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ค้า

ที่ไม่น่าแปลกใจคือเกือบสองในสามของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชียระบุว่าบริการส่งฟรีคือปัจจัยสำคัญในขั้นตอนการเช็คเอาท์สินค้า โดย 46ของนักช็อปมีการสั่งสินค้าเพิ่มเติมใส่ตะกร้าเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของบริการส่งฟรี ยิ่งกว่านั้น ราวครึ่งหนึ่งของนักช็อปออนไลน์ในเอเชียยอมทิ้งตะกร้าสินค้าหากผู้ค้าไม่สามารถระบุวันส่งสินค้าได้ หรือระยะเวลาในการส่งสินค้ายาวนานเกินไป โดยจำนวนวันในการรอส่งสินค้าโดยเฉลี่ยซึ่งส่งผลให้นักช็อปทิ้งตะกร้าสินค้าอยู่ที่ 11 วัน

ขณะเดียวกัน นโยบายการคืนสินค้าที่สะดวกและโปร่งใสจะช่วยเพิ่มยอดขายและความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดย 67ของนักช็อปในเอเชียระบุว่าการรับคืนสินค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายคือปัจจัยสำคัญในการเลือกร้านค้าออนไลน์ ที่น่าเสียดายคือ ผู้ค้าในเอเชียยังคงไม่ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงในเรื่องนี้มากนัก เพราะมีนักช็อปเพียง 47เท่านั้นที่พึงพอใจกับนโยบายการรับคืนสินค้า แม้ว่าจะมีการคืนสินค้าจากการสั่งซื้อออนไลน์เกิดขึ้นในสัดส่วนเพียงสี่ในสิบในช่วงปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น 79ของนักช็อปคืนสินค้าที่สั่งซื้อในสัดส่วนเพียง 10หรือน้อยกว่านั้น โดยในจำนวนนี้ 69ได้ซื้อสินค้าใหม่เมื่อทำเรื่องคืนสินค้าออนไลน์ที่หน้าร้าน และ 67สั่งซื้อสินค้าใหม่ขณะที่ทำเรื่องคืนสินค้าบนช่องทางออนไลน์ ชี้ให้เห็นว่าบริการรับคืนสินค้าที่ง่าย ไม่ยุ่งยากเป็นเรื่องสำคัญมาก

Movers: ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคในเอเชียหันมาใช้สมาร์ทโฟนในการช็อปสินค้ามากขึ้น ทั้งการสั่งซื้อเพื่อไปรับสินค้าที่หน้าร้าน และการสั่งซื้อทั้งจากผู้ค้าระดับนานาชาติจนถึงร้านค้าขนาดเล็ก

พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนได้แพร่หลายมากขึ้นในหมู่นักช็อปในเอเชีย โดยการสั่งซื้อผ่านสมาร์ทโฟนเริ่มกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา เห็นได้จาก 77ของนักช็อปทำการสั่งสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน (สัดส่วนที่สูงสุดจากทั่วโลก) เพิ่มขึ้นจาก 55ในปี 2558 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใช้สมาร์ทโฟนชาวอเมริกัน พบว่ามีเพียง 48% เท่านั้นที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน

การสั่งซื้อแบบรับสินค้าที่หน้าร้านกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดย 37ของนักช็อปเลือกการสั่งซื้อรูปแบบนี้ในปีที่ผ่านมา และ 59ของนักช็อปเหล่านี้มีแผนจะสั่งซื้อแบบนี้มากขึ้นอีกในปีนี้ ที่น่าสังเกตคือ ผู้ค้าสามารถสร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้น เนื่องจาก 60ของนักช็อปในเอเชียที่สั่งซื้อสินค้ารูปแบบนี้ในปีที่ผ่านมาได้ซื้อสินค้าเพิ่มเติมจากที่หน้าร้าน โดยเฉพาะในจีน ที่มีสัดส่วนสูงถึง 74 

ซิลวี เสริมว่า “ผลการสำรวจพบว่านักช็อปออนไลน์ในเอเชียเริ่มซื้อสินค้าจากร้านค้าที่หลากหลายประเภทมากขึ้น ตั้งแต่แหล่งซื้อขายสินค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ จนถึงร้านขายสินค้าเฉพาะขนาดเล็ก ทั้งร้านค้าในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่ชัดเจนและฐานลูกค้าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในเอเชียในการขยายสู่ระดับนานาชาติ และสามารถเติบโตต่อไปได้อีกในอนาคต”

การวิจัยพบว่า 55ของนักช็อปออนไลน์ในเอเชียเปิดรับผู้ค้าระดับนานาชาติมากขึ้น โดยในจำนวนนี้ 49ของผู้ซื้อสรรหาสินค้าจากผู้ค้าต่างประเทศเพราะต้องการแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีจำหน่ายในประเทศของตน หรือต้องการคุณภาพที่ดีกว่า (39%) หรือราคาที่ดีกว่า (38%)

สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจในเอเชียคือ ผู้บริโภคนิยมสั่งซื้อสินค้าจากผู้ค้าในเอเชียด้วยกัน โดย 77ของผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศสั่งซื้อจากผู้ค้าที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ 31สั่งซื้อจากผู้ค้าในสหรัฐอเมริกา โดยนักช็อปออนไลน์ในฮ่องกงสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในสัดส่วนสูงสุดคือ 82ตามด้วยจีนที่ 64ขณะเดียวกัน มีเพียง 21ของนักช็อปในญี่ปุ่นที่สั่งสินค้าจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นนิยมสินค้าภายในประเทศมากกว่า

 

Emergers: แง่มุมใหม่ ๆ ในธุรกิจค้าปลีกที่อาจมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต

บริการจุดรับสินค้าทางเลือกได้รับความนิยมสูงสุดในเอเชียเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น โดย 71ของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียม และนักช็อปในเมือง สนใจทางเลือกในการส่งสินค้าที่สั่งซื้อไปยังจุดรับสินค้าทางเลือกซึ่งเปิดให้บริการในช่วงเวลาที่ยาวนานเพื่อประหยัดค่าส่ง โดยความนิยมในบริการจุดรับสินค้าทางเลือกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก 46ของการสั่งซื้อในปี 2558 เป็น 59ในปี 2561

นักช็อปในเอเชียยังชื่นชอบตลาดซื้อขายสินค้า โดย 98เลือกซื้อสินค้าจากที่นี่ และกว่าหนึ่งในสามของจำนวนนี้กล่าวว่าจะซื้อจากที่นี่มากขึ้นอีกในปีหน้า ด้วยเหตุผลหลักด้านราคาที่ดีกว่า (64%) และมีบริการส่งฟรีหรือค่าส่งถูกกว่า (42%) แทนที่จะซื้อจากผู้ค้าโดยตรง 

ซิลวี เสริมว่า “การวิจัย UPS Pulse of the Online Shopper แสดงให้เห็นว่า ขณะที่นักช็อปออนไลน์ได้รับประโยชน์จากทางเลือกที่ดีกว่า นักช็อปกลุ่มนี้ก็ต้องการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ของประสบการณ์ในการซื้อสินค้าด้วยตัวเองมากขึ้น และผู้ค้าจำเป็นต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อตอบสนองและปรับตัวเพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้”

 


แชร์ :

You may also like