นับตั้งแต่ “เอไอเอส” ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคม พลิกบทบาทจากการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ก้าวไปอีกสเต็ปเพื่อให้บริการทางดิจิทัลเต็มรูปแบบตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วไปรวมถึงลูกค้าระดับองค์กร ครอบคลุมหมดไม่ว่าจะลูกค้าจะเป็นใคร
ยุคนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าโลกของธุรกิจการค้าจะไปได้ไกล และโตได้อย่างยั่งยืน เทคโนโลยีดิจิทัลก็เป็นอีกหนึ่งคีย์สำคัญ โดยเฉพาะ ‘อินเตอร์เน็ต’ ที่ไม่ว่าจะขยับตัวก้าวไปทิศทางไหน ก็เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการทำงานในทุกอุตสาหกรรม และ ‘เอไอเอส’ ไม่พลาดที่จะโชว์ศักยภาพการเป็น “ผู้นำ” ในทุกด้านๆ รวมถึงนำนวัตกรรมที่เป็นเทรนด์อันดับ 1 ของโลกยุคนี้อย่าง Internet of Things (IoT) มาให้บริการเชิงพาณิชย์ได้จริงทั่วประเทศเรียบร้อยเป็น “รายแรก” โดยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ องค์กรธุรกิจ กลุ่มนักพัฒนาทั่วประเทศในรูปแบบ Ecosystem ซึ่งมีการใช้งานจริงแล้ว ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลายเซ็กเตอร์ ทั้งพลังงาน อสังหาริมทรัพทย์ การศึกษา เป็นต้น
“เกรียงศักดิ์ วาณิชย์นที” หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เอไอเอส เล่าว่า ปัจจุบันทุกภาคส่วนในประเทศไทยกำลังตื่นตัวกับการนำอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ IoT-Internet of Things เข้ามาประยุกต์ใช้กับชีวิตมากขึ้น ในหลากหลายมิติ ทั้งในระดับผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบ้านอัจฉริยะ( Smart Home) การจอดรถอัจฉริยะ( Smart Parking) หรือในระดับองค์กรและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น การขนส่งและโลจิสติกส์อัจฉริยะ(Smart Logistics) เมืองอัจฉริยะ(Smart City) ไปจนถึงภาคการเกษตร(Smart Farming)
หลัง “เอไอเอส” ระดมสรรพกำลังทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้บริการโซลูชั่นส์ระดับโลก กลุ่มเมคเกอร์ และสตาร์ทอัพกว่า 400 ราย เพื่อนำ IoT มาใช้ ย้ำการป็นผู้นำในการให้บริการทางดิจิทัลเต็มสูบ
จึงมีความพร้อมอย่างมากในการส่งเสริมให้ธุรกิจทุกภาคส่วนยกระดับการใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ผ่านบริการมากมาย ทั้งการพัฒนาเครือข่ายจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม อย่าง NB-IoT ซึ่งขณะนี้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และ eMTC – enhanced Machine-Type Communication ที่สามารถใช้ควบคู่กับ NB-IoT เพื่อนำคุณสมบัติมาเสริมซึ่งกันและกัน
เช่น eMTC เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่ เช่น Connected Car รวมถึงสามารถรับและส่ง ข้อความเสียงในอุปกรณ์ IoT ยุคใหม่ๆได้อีกด้วย ขณะที่ NB-IoT จะเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์และสามารถสื่อสารได้ในระยะไกล โดยเครือข่าย eMTC จะเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ไตรมาส 2 และคาดว่าจะครอบคลุมทั่วประเทศได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ ย้ำให้เห็นว่าบริการ IoT แพลตฟอร์มที่มีนั้น พร้อมจริงๆทั้งเครือข่าย อุปกรณ์ แพลตฟอร์ม ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาทั้งด้านการพัฒนาโซลูชั่น IoT เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร รวมทั้งให้บริการเชิงพาณิชย์ในทุกภาคธุรกิจ
“เมื่อโครงข่ายมีความพร้อม และเราได้มีการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์จากทุกภาคส่วนผ่าน AIAP- AIS IoT Alliance Program ทำให้ เอไอเอสสามารถให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์ได้เป็นรายแรก โดยสามารถตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรมขององค์กรต่างๆ ยกระดับการใช้ชีวิต และ การบริหารจัดการในแต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
การขยับตัวรุกให้บริการ IoT เป็นรายแรกทั้งที จึงทำให้ “เอไอเอส” สามารถครองใจลูกค้าได้หลายรายแล้ว เช่น “บิ๊กเนม” อย่าง “ปตท.” บริษัทพลังงานแห่งชาติ นำเทคโนโลยี IoT ไปใช้ในงานซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จากเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของท่อส่งก๊าซได้ตลอดเวลา ที่มาพร้อมกับความสามารถส่งข้อมูลตรงจากท่อก๊าซผ่านแอปพลิเคชันถึงมือถือวิศวกรผู้ดูแลได้ทันท่วงทีแบบ Real Time ซึ่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกเซ็กเตอร์ที่ “ตื่นตัว” อย่างยิ่งในการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้เพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ให้แก่ลูกค้ามีความสะดวกสบายมากขึ้น และหนึ่งในผู้นำวงการอสังหาฯ “บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน)” ได้ตระหนักและนำเครือข่าย NB-IoT จากเอไอเอส ใช้สำหรับโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้าง IoT Smart City ในโครงการ “Perfect Smart City” เมืองอัจฉริยะที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการ เช่น Smart Lighting, Smart Tracking รวมถึงการนำ Smart Home และ Security Platform มาต่อยอดพัฒนา Home Application นำร่อง 15 โครงการ ในกรุงเทพและปริมณฑล
หากผู้บริโภคเห็นเครื่องหยอดเหรียญประเภทต่างๆ เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ ผู้ผลิตและผู้ให้บริการไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ “โครตรอนกรุ๊ป” และหากติดตั้งเครื่องให้แก่ลูกค้าแล้ว มีผู้มาใช้บริการหยอดเหรียญชั่งน้ำหนัก หรือทำกิจกรรมต่างๆผ่านตู้ จากนี้ไป คลายความกังวล “เหรียญเต็ม” ได้เลย เพราะไอเอเอส ได้พัฒนาโซลูชั่น Smart Coin Kiosk Machine เซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง ที่เชื่อมต่อเครือข่าย NB-IoT ทำให้สามารถส่งข้อมูลจะแจ้งเตือนทันทีเมื่อเหรียญเต็มจากจุดต่างๆ ทั่วประเทศ แสดงผลผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถวางแผนการจัดเก็บเหรียญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสในการให้บริการและสร้างมูลค่าให้กับการลงทุน ซึ่งขณะนี้ถูกนำไปใช้งานจริงแล้วใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ
ให้บริการฝั่งเอกชนแล้ว ลูกค้าภาครัฐก็ตื่นตัวนำเทคโนโลยี IoT เข้าไปใช้งานมากขึ้น โดย “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” นำโซลูชั่น Smart City มาใช้บริเวณภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เช่น Smart Locker ล็อคเกอร์อัจฉริยะที่รวมเทคโนโลยี IoT ล่าสุดเข้าด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่อาคารหรือที่อยู่อาศัย, ระบบอ่านป้ายทะเบียน เพื่อควบคุมบุคคลเข้าออกสถานที่, Application พบหมอ และระบบควบคุมแสงสว่าง เป็นต้น
“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” นำโซลูชั่นส์ Smart Environment Monitoring and Water Management สร้างระบบตรวจสภาพแวดล้อม และบริหารจัดการน้ำ โดยนำอุปกรณ์ NB-IoT Board และ NB IoT Sim ติดเข้ากับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อสามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบ Real Time ผ่านแอปพลิเคชั่น ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งกล่องดังกล่าวเพื่อใช้งานจริงแล้ว บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ และ จ. ภูเก็ต โดยส่งข้อมูลไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อคอยติดตามสภาพแวดล้อม และระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อวางแผนป้องกันน้ำท่วมด้วย นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เข้ามาเป็นลูกค้าด้วย
เอไอเอส ไม่หยุดแค่นั้น เพราะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง เพื่อนำ IoT เข้าไปใช้ในการทำงาน หากองค์กรไหนไม่อยากตกขบวนในยุคดิจิทัล สนใจนำ IoT ไปใช้ในการทำงาน ติดต่อได้ที่ Corporate call center โทร. 1149 หรือเว็บไซต์ http://business.ais.co.th/iot